|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : “ปฏิทินเตือนเวลา กินยาผู้ป่วยวัณโรค” |
ผู้แต่ง : |
วิลาวัลย์ ประกอบเลิศ |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัญหาการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในชุมชนและความล้มเหลวในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค เป็นปัญหาที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งการแก้ไขปัญหาวัณโรคให้ได้ผล คือการตัดวงจรการแพร่เชื้อของวัณโรค และแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญคือตัวผู้ป่วย (ระยะแพร่เชื้อ) ที่ยังรักษาไม่หาย หรือ ขาดการรักษา และจากการที่ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรค พบว่า ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ถูกต้อง มียาเหลืออยู่จำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เกิดจากการลืมกินยา จำไม่ได้ว่ากินยาหรือยัง หรือผลข้างเคียงของยาทำให้ไม่อยากกินยาต่อ ทำให้ผู้ป่วยกินยาไม่ครบ เพื่อให้อัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรคบรรลุเป้าหมาย ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านสวนโคก จึงได้จัดทำปฏิทินเตือนเวลา กินยาผู้ป่วยวัณโรค มีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนผู้ป่วยในการกินยาให้ถูกต้องและครบถ้วน และเพื่อตรวจสอบกำกับการกินยา ตามตารางของปฏิทินยา ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ง่าย |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อเตือนผู้ป่วยสะดวกในการกินยาให้ถูกต้องและครบถ้วนของการได้รับยา
2. เพื่อตรวจสอบการกำกับการกินยา ตามตารางวันที่ของปฏิทินยา สามารถตรวจสอบได้
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ถูกต้อง |
|
เครื่องมือ : |
ปฏิทินเตือนเวลา กินยาผู้ป่วยวัณโรค |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1)ขั้นเตรียมการ ประชุมทีมงาน เพื่อค้นหาสาเหตุของการขาดยา การลืมกินยา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนารูปแบบการติดตามการกำกับการกินยาของผู้ป่วยวัณโรค ที่มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคตามระบบการรักษาแบบ DOTS ประชุมชี้แจ้ง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้ความรู้กับพี่เลี้ยง ผู้ป่วยพร้อมอธิบายการใช้ปฏิทินกำกับการกินยา 2)ขั้นดำเนินการ จัดเตรียมปฏิทินกำกับการกินยาสำหรับผู้ป่วยในแต่ละราย จัดทำ Pre-pack ยา สำหรับผู้ป่วย พร้อมบรรจุตามตารางปฏิทินยา พูดคุยตกลงกันระหว่าง Mister TB กับเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบในแต่ละวันที่ออกเยี่ยม พร้อมแฟ้มประวัติการรักษาของผู้ป่วยวัณโรค ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะ 2 สัปดาห์แรก ของการรักษาแบบ DOTS ลงชื่อกำกับสำหรับเจ้าหน้าที่หรือพี่เลี้ยงที่ทำกำกับการกินยาในตารางปฏิทินยาทุกครั้งเมื่อผู้ป่วยกินยาต่อหน้าเรียบร้อยแล้ว |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
การทดสอบประสิทธิภาพสิ่งประดิษฐ์ เมื่อนำไปใช้กับผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 6 ราย ที่มีการขึ้นทะเบียนรับการรักษาที่โรงพยาบาลกมลาไสยตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560 พบว่า ผู้ป่วยวัณโรคมารับการรักษาตรงตามกำหนดนัดหมาย ทั้ง 6 ราย ไม่พบผู้ป่วยขาดยาตลอดระยะเวลาของการรักษา ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาด้วยระบบ DOTS ครอบคลุม ครบทุกราย ผลการประเมินความพึงพอใจจากการใช้นวัตกรรม “ปฏิทินเตือนเวลา กินยาผู้ป่วยวัณโรค” ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ พบว่า การได้รับประโยชน์ในการช่วยเตือนการกินยา อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 95 รองมา มีความสะดวกรวดเร็วในการหยิบยาใช้ง่าย และเจ้าหน้าที่มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการติดตาม ร้อยละ 90 ,85 ตามลำดับ |
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|