|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA) ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
อุไรวรรณ ภูวปิ่นปวีณ์นนท์ |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ประเทศไทยเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ทำให้กระบวนการพัฒนาด้านต่างๆขาดความสมบูรณ์ และก่อให้เกิดปัญหาที่สั่งสม ซึ่งนับวันจะมีรูปแบบการกระทำผิดที่หลากหลายทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2560 องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานชาติ (Transparency International;TI) ได้เผยผลการจัดอันดับดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นในภาครัฐทั่วโลก (Corruption Perception Index - CPI) พบว่าไทยอยู่อันดับที่ 96 จากทั้งหมด176 ประเทศทั่วโลก ที่ได้เพียงแค่ 37 จากคะแนนเต็ม 100 ไต่อันดับเป็น 96 จากเดิม 101 เมื่อปี 2559 ซึ่งไทยได้คะแนน 35 คะแนน โดยระบุว่า คะแนนที่เพิ่มขึ้นน้อยมาก ในเชิงสถิติ ไม่นับว่าเป็นพัฒนาการที่ดีขึ้น ซึ่งครม.ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559 ให้ทุกหน่วยงานภาครัฐเข้ารับการประเมิน ITA โดยกำหนดเป้าหมายคือผลการประเมิน ITA อยู่ในระดับสูง และกระทรวงสาธารณสุขกำหนดมาตรการ 3ป. 1ค. มุ่งเน้นสร้างกลไกป้องกันการทุจริตผ่านกระบวนการประเมิน ITA ตรวจสอบได้ตามแบบสำรวจการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (EBIT) สสอ.คำม่วง เป็นหน่วยงานที่ได้รับการประเมิน ITA ในระดับสูงมาก ซึ่งเป็นการสะท้อนภาพความจริง เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามหลักธรรมาภิบาล ดังนั้นสสอ.คำม่วง จึงได้พัฒนารูปแบบการประเมินITAของหน่วยงานในสังกัด เพื่อขยายผลให้ครอบคลุมไปยังรพ.สต.ทุกแห่ง |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA) ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชากร คือ จนท. ที่สังกัดสสอ.คำม่วง จำนวน 67 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามเกณฑ์ผู้รับผิดชอบงาน จำนวน 20 คน ซึ่ง ประกอบด้วย สสอ. 2 คน จากรพ.สต. 6 แห่งๆ ละ 3 คน |
|
เครื่องมือ : |
1. เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ คือแบบสำรวจการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (EBIT) จำนวน 11 ข้อใหญ่ 33 ข้อย่อย การวัดและประเมินผล คือ ระดับ 1 ต่ำมาก (0-19.99 คะแนน) ระดับ 2 ต่ำ (20-39.99 คะแนน) ระดับ 3 ปานกลาง (40-59.99 คะแนน) ระดับ 4 สูง (60-79.99 คะแนน) ระดับ 5 สูงมาก (80-100 คะแนน)
2. เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสำรวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) และแบบสำรวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ขั้นการวางแผน (Plan) จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ITA ระดับอำเภอ เพื่อประเมินขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติงานที่มีคุณลักษณะที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล รวมไปจนถึงผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินงานแบบเดิม และการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนหรือการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กร และจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ITA ระดับอำเภอเพื่อร่วมกันกำหนดกลยุทธ์และจัดทำแผนปฏิบัติการ
2. ขั้นปฏิบัติการ (Do) ดำเนินการตามแนวทางและแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้ในขั้นที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ คือกลยุทธ์ที่ 1 ดำเนินการมาตรการเชิงรุก เกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่มีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ที่หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำม่วงพึงจะต้องมีและยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการและแก้ไขข้อบกพร่อง เพื่อยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เห็นผล สามารถดำเนินการได้ในทันที กลยุทธ์ที่ 3 มุ่งเน้นให้หน่วยงานในสังกัด ได้รับทราบถึงข้อบกพร่องต่างๆ ที่สะท้อนจากเครื่องมือที่ใช้และนำมาปรับปรุงพัฒนาหน่วยงานให้มีความโปร่งใสเป็นธรรม ปลอดจากการทุจริตต่อไป
3. ขั้นการติดตามและประเมินผล โดยการสังเกตการณ์มีส่วนร่วมและสะท้อนผลของการปฏิบัติงานแต่ละระยะของการศึกษา และสรุปผล วิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
4. ขั้นการปรับปรุง (ACT) สะท้อนคุณลักษณะที่ดีในการดำเนินงานในด้านต่างๆ ของหน่วยงาน ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อสาธารณชนหรือผู้รับบริการ สะท้อนระดับคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานได้อย่างแม่นยำ พัฒนา/ปรับปรุงการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัด ให้สอดคล้องเท่าทันสถานการณ์การทุจริตในปัจจุบัน สามารถจัดทำมาตรการในการป้องกันการทุจริตทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
จากการดำเนินการวิจัยพบว่า หน่วยงานในสังกัดสสอ.คำม่วง ผ่านประเมินITA โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทั้งหมด 8 แห่ง อยู่ในระดับปานกลาง 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 37.50 ระดับสูง 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50 และระดับสูงมาก จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 12.50 ด้านดัชนีความโปร่งใส ความสามารถในการให้และเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานมีความชัดเจน ถูกต้อง และครบถ้วน รวมถึงการให้บริการประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงาน ได้สะดวกรวดเร็ว ด้านดัชนีความพร้อมรับผิดพฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานแสดงถึงการปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างเต็มใจและเต็มประสิทธิภาพ ดัชนีความปลอดจาการทุจริตในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน ไม่มีพฤติกรรมที่เข้าข่ายการทุจริตต่อหน้าที่ ดัชนีวัฒนธรรมคุณธรรมองค์กรพฤติกรรมและทัศนคติในการปฏิบัติงานที่มีการปลูกฝัง สั่งสอน หรือถ่ายทอดแก่กันของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน จนกลายเป็นแนวทางปฏิบัติประจำหรือวัฒนธรรมของหน่วยงาน ส่งผลทำให้เกิดความอายหรือความกลัวที่จะกระทำการทุจริต ซึ่งถือเป็นการป้องกันการทุจริตตั้งแต่รากฐานของพฤติกรรม ดัชนีคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน มีกระบวนการของหน่วยงานแสดงถึงการให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงาน โดยการกำหนดให้มีคู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ชัดเจน พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่มีการปฏิบัติงานตามคู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด กระบวนการของหน่วยงานที่แสดงถึงการมีคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลภายในหน่วยงาน ทั้งในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลและในด้านการพัฒนาสมรรถนะเจ้าหน้าที่ |
|
ข้อเสนอแนะ : |
การใช้กระบวนการเรียนรู้ ตามแนวคิดของ Deming และ W. Edwar จะทำให้เกิดการพัฒนาตนเองและหน่วยงาน รวมทั้งการเชื่อมประสานเครือข่าย ทำให้การดำเนินงาน ITA เป็นไปได้อย่างดี สามารถนำไปใช้กับการพัฒนางานด้านอื่นที่มีองค์ประกอบคล้ายกันได้ |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานวิชาการ ระดับ ระดับเขต |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|