ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ โรคเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาตาล ตำบลนาทัน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : แรงใจ วงษ์ดี ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มีระยะฟักตัว และระยะการเป็นโรคยาวนาน พบในวัยผู้ใหญ่มากกว่าวัยเด็ก เมื่อป่วยแล้วจะรักษาไม่หายขาดและมักจะตามด้วยภาวะแทรกซ้อนหรือเกิดความพิการตามมา มีการศึกษา พบว่าผู้ป่วยเบาหวานบางคนไม่แสดงอาการของโรคถึง 9-12 ปี ทำให้ไม่ได้รับการดูแล รักษาเนื่องจากไม่ทราบว่าตนเป็นโรคเบาหวาน มีรายงานว่าโรคเบาหวานเป็นโรคที่มีอัตราการป่วยสูงขึ้นมากในทุกประเทศ และพบในทุกกลุ่มอายุประมาณร้อยละ 8.30 หรือประมาณ 371 ล้านคนทั่วโลก ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าปี พ.ศ.2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน ที่เกิดจาภาวะแทรกซ้อนทั้งหมด 6,855 คน หรืออัตราร้อยละ 10.76 ต่อประชากรหนึ่งแสนคนเพิ่มเป็น 7,625 คน หรืออัตราร้อยละ11.88 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ในปี 2559 และเพิ่มเป็น 7,749 คน หรืออัตราร้อยละ12.06 ต่อประชากรแสนคน สิ่งสำคัญหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานก็คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติให้มากที่สุด เพื่อลดหรือชะลอภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะที่เกิดกับหลอดเลือดทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญของผู้ป่วยเบาหวาน จากหลายการศึกษาพบว่า การควบคุมระดับน้ำตาลสามารถป้องกันและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดได้การปฏิบัติตัวที่ดีจะช่วยลดน้ำตาลในเลือด การควบคุมอาหาร จะทำให้ระดับน้ำตาลลดลง ร้อยละ 31.80 โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังสำคัญที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุโรคเบาหวานจำเป็นต้องดูแลตนเองอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อความผาสุกของตนเอง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเอง ความผาสุก และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเอง และความผาสุก ของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ดังนั้นการควบคุมโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อน ประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ได้แก่ การควบคุม เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาและการให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วย ในปี พ.ศ. 2561 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาตาล ตำบลนาทัน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีประชากรจำนวน 9,966 คน แยกเป็น เพศชาย 5,063 คน และเพศหญิง 4,903 คน และมีประชากรผู้สูงอายุ จานวน 1,170 คน คิดเป็น ร้อยละ 11.74 ในปัจจุบันในพื้นที่รับผิดชอบ มีผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานที่มาใช้บริการที่คลินิกเบาหวาน โดยมีผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานทั้งหมด 295 คน ที่มารับยารักษาโรคเบาหวานที่คลินิกเบาหวานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาตาล และเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพสามารถนำไปเป็นแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้ด้วยตนเองและมีคุณภาพชีวิติที่ดีขึ้น  
วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน 2) เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเอง  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 126 มก./ดล. ที่มารับบริการที่คลินิกผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาตาล ตำบลนาทัน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 55 คน  
เครื่องมือ : แบบสอบถามความรู้ การปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพของตนเอง แบบบันทึกค่าระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดการกำกับตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคม และทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานประกอบด้วย 2 ชุด คือ 1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 1 วัน ห่างกัน 6 สัปดาห์โดยใช้แนวคิดกำกับตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนการกำกับตนเองทางสังคม ประกอบด้วย การบรรยายวิชาการประกอบสื่อความรู้เรื่องโรคเบาหวานสาธิต และฝึกปฏิบัติการเลือกรับประทานอาหารการออกกำลังกาย และการคลายความเครียดการระดมสมองเพื่อหาแนวคิดในการกำกับตนเอง และแรงสนับสนุนทางสังคมในครั้งที่ 2 ประเด็นเนื้อหาปรับเปลี่ยนไปตามปัญหา และอุปสรรค ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาที่ได้จากการระดมสมอง ครั้งที่ 1 โดยเนื้อหาครอบคลุมประเด็น ความรู้เรื่องโรคเบาหวานการเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการคลายเครียด โดยมีกิจกรรมนันทนาการสอดแทรกระหว่างเข้าร่วมกิจกรรม สื่อที่ใช้ ได้แก่ ภาพนิ่งประกอบการบรรยาย คู่มือโรคเบาหวานแบบการบันทึกค่าโรคเบาหวานระหว่างครั้งที่ 1 ถึง 2 มีเอกสารกระตุ้นเตือนเพื่อให้เกิดการกำกับตนเอง และการให้กำลังใจ และคำแนะนำจากสมาชิกในกลุ่มหรือสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรม 2. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 3.1 เตรียมแบบสอบถาม แบบบันทึกรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ตามกิจกรรม และการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.2 ชี้แจงวัตถุประสงค์การวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล ระยะเวลาการทำวิจัยให้กับทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาตาล 2. ขั้นดำเนินการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลในขั้นตอนการดำเนินการวิจัย มีรายละเอียด ดังนี้ ระยะที่ 1 การดำเนินงานกิจกรรมตามปัญหา ความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง และการระดมสมองจากวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยข้อมูลที่เก็บรวบรวม 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนที่ 2 แ บ บ ท ด ส อ บ ค ว า ม รู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ส่วนที่ 3 แบบสอบถามการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน ส่วนที่ 4 แบบบันทึกค่าระดับน้ำตาลในเลือด ระยะที่ 2 การประเมินผลหลังเข้าร่วมกิจกรรม มี 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนที่ 2 แ บ บ ท ด ส อ บ ค ว า ม รู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ส่วนที่ 3 แบบสอบถามการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน ส่วนที่ 4 แบบบันทึกค่าระดับน้ำตาลในเลือด  
     
ผลการศึกษา : การวิเคราะห์ข้อมูล 1. ก่อนวิเคราะห์ข้อมูล 1.1 ตรวจสอบความถูกต้อง และความครบถ้วนของข้อมูล 1.2 ก่อนการวิเคราะห์ข้อมูลตรวจสอบความเป็นไปได้ของข้อมูล การแจกแจงของข้อมูล ช่วงของข้อมูลแต่ละตัวแปร หากมีข้อผิดพลาดต้องตรวจสอบแก้ไข และการให้รหัสข้อมูลก่อนนำไปวิเคราะห์ 2. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปดังนี้ (1) สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง กรณีข้อมูลแจงนับได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส อาชีพ ระดับการศึกษา เป็นต้น โดยใช้การแจกแจงความถี่ร้อยละ และข้อมูลต่อเนื่อง ได้แก่ อายุ รายได้ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ค่าระดับน้ำตาลในเลือด โดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) สถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนก่อน และหลังการทดลองของความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน และค่าระดับน้ำตาลในเลือดโดยใช้สถิติ paired t - test  
ข้อเสนอแนะ : การจัดกิจกรรมสำหรับโปรแกรม ควรเป็นกิจกรรมที่สร้างความเข้าใจหรือให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี มีการพูดคุยทำให้ผู้สูงอายุ เกิดการผ่อนคลายในการร่วมทำกิจกรรม ไม่ควรเน้นการใช้ความรวดเร็วในการทำกิจกรรม หรือการใช้ความจำมากเกินไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิชาการ ระดับ ระดับเขต  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ