|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรู้ การรับรู้ความสามารถ และความคาดหวังในการควบคุมน้ำหนักเด็กวัยก่อนเรียนทีมีภาวะอ้วนกับผู้ปกครองเด็ก ที่เข้ามารับการรักษา ในตึกผู้ป่วยในเด็ก |
ผู้แต่ง : |
สุธิภรณ์ ศรีประโชติ พว. |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ความอ้วน คือโรคหากไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตั้งแต่เด็กจะส่งผลให้เป็นปัญหาในวัยผู้ใหญ่องค์การอนามัยโลกให้ความสนใจ
และระบุว่าการจัดการปัญหาควรต้องเริ่มต้นจากวัยเด็กและได้ประกาศให้ประเทศสมาชิกพยายามดำเนินการเพื่อหยุดยั้งโรคอ้วน
ที่เกิดขึ้นกับเด็กก่อนที่จะเป็นปัญหาที่รุนแรงมากขึ้นโรคอ้วนเพิ่มทั้งประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนาประเทศไทยมีอุบัติการณ์เด็กอ้วนเร็วที่สุดในโลก
พบว่า เด็กวัยก่อนเรียนอ้วนสูงสุดถึง 1 ใน 5(สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, 2554)ประเทศไทยมีเด็กวัยก่อนเรียนอ้วน
เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศในกลุ่มอาเซียน(World Health Statistics., 2013) ถ้าไม่จัดการปัญหาในตอนนี้ ปี ค.ศ.2020 ทั่วโลกจะมี
เด็กวัยก่อนเรียนที่อ้วนถึง 60 ล้านคนโดยอยู่ในทวีปเอเชีย 24.3 ล้านคน (Onis et al., 2010)คนอ้วนมักเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และต้องสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (Onis et al., 2010) โรคทางกาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ เกิดภาวะแทรกซ้อนทางกระดูก เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง การเสียชีวิตกะทันหัน
จากการหยุดหายใจขณะหลับได้มีความภูมิใจในตนเองต่ำ มีความเครียด มีความซึมเศร้า มีสมาธิสั้นและเรียนหนังสือไม่เก่ง เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่มักมีพฤติกรรมการชอบดื่มสุรา
มีปัญหาการถูกปฏิเสธจากการขอสมัครงาน เกิดอุบัติเหตุ การลางานบ่อย รวมถึงมีปัญหาชีวิตคู่ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ต่ำเกิดปัญหาขึ้นในสังคมประเทศชาติสูญเสียงบประมาณเป็นจำนวนมาก ในการรักษาการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคอ้วน
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรู้ การรับรู้ความสามารถ และความคาดหวังในการควบคุมน้ำหนักเด็กวัยก่อนเรียนที่อ้วนกับผู้ปกครองเด็กอ้วน
ที่เข้ามารับการรักษาในตึกผู้ป่วยในเด็ก โรงพยาบาลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียนที่อ้วน การประเมินความอ้วนเด็กโดยกราฟประเมินโภชนาการของกรมอนามัยโดยเทียบสัดส่วนน้ำหนักต่อส่วนสูง
|
|
เครื่องมือ : |
การประเมินความอ้วนเด็กโดยกราฟประเมินโภชนาการของกรมอนามัยโดยเทียบสัดส่วนน้ำหนักต่อส่วนสูง เครื่องที่ใช้ในการคัดเข้า
คือ กราฟประเมินโภชนาการของกรมอนามัยโดยเทียบสัดส่วนน้ำหนักต่อส่วนสูง
เครื่องมือ
ที่ใช้ในการทดลอง
1.สื่อคู่มือการดูแลเด็กวัยก่อนเรียน 2-5 ปี ที่มีภาวะอ้วน
2.สื่อวีดิทัศน์ เรื่อง ผู้ปกครองที่สามารถควบคุมน้ำหนักเด็กวัยก่อนเรียนได้สำเร็จ
3.สื่อนิทาน เรื่อง ลูกหมีกลัวอ้วนเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
1.แบบประเมินความรู้ของผู้ปกครองในการดูแลเด็ก
วัยก่อนเรียนที่มีภาวะอ้วน
2.แบบประเมินการรับรู้ความสามารถของผู้ปกครองในการดูแลเด็กวัยก่อนเรียนที่มีภาวะอ้วน
3.แบบประเมินความคาดหวังของผู้ปกครองในการดูแลเด็กวัยก่อนเรียน
ที่มีภาวะอ้วน
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1.ขั้นเตรียมการทดลอง
คือ เตรียมความพร้อมของเครื่องมือทั้งหมดให้เรียบร้อย ดำเนินการส่งเอกสารการวิจัยต่อสำนักงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
2.ขั้นดำเนินการทดลอง
คื3.ขั้นการทดลอง ผู้วิจัยวางแผนการจัดกิจกรรม
อ เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองให้พร้อมใช้ทันที อธิบายชี้แจงรายละเอียดงานวิจัย สอบถามความสมัครใจผู้ปกครองเด็กอ้วนที่มานอนโรงพยาบาล
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|