ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การประยุกต์ VBA + Excel ในการสร้างระบบรายงานการจัดซื้อเวชภัณฑ์ยาและ มิใช่ยา โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นายมงคล ทองสาย ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ความสำคัญของระบบการสร้างรายงานการจัดซื้อยา และเวชภัณฑ์มิใช่ยา ในงานบริหารเวชภัณฑ์ของหน่วยงาน ซึ่งยังไม่สะดวกต่อการใช้งาน ใช้เวลาในการคีย์ข้อมูลเป็นอย่างมาก การค้นหาจุดผิดพลาด และแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมทำได้ยาก และมีข้อสังเกตว่าในระบบรายงานชุดหนึ่ง ที่ประกอบไปด้วยหนังสือภายในสำหรับขออนุมัติซื้อ ใบสั่งซื้อ และใบตรวจรับนั้น มีข้อมูลหลายส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่ง ที่ใช้ข้อมูลเหมือนกัน ทำให้ผู้ใช้งานต้องคีย์ข้อมูลดังกล่าวหลายครั้ง เป็นความซ้ำซ้อนในการคีย์ข้อมูล อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความผิดพลาดและคลาดเคลื่อนของข้อมูล จากปัญหาดังกล่าว ผู้จัดทำจึงได้ศึกษาระบบการสร้างรายงานแบบเดิม แล้วรวมรวมปัญหา รวมทั้งสำรวจความต้องการของระบบ จากนั้นจึงออกแบบระบบ เขียนคำสั่งโปรแกรม เพื่อปรับระบบที่มีอยู่แล้วโดยมาตรฐาน ให้สอดคล้องกับการทำงานตามต้องการ มีความทันสมัย โดยการประยุกต์เขียนคำสั่งโปรแกรม VBA (Visual Basic for Application) ร่วมกับโปรแกรมประยุกต์สำหรับคำนวณ (Microsoft Office Excel ๒๐๑๓) ในการออกแบบ สร้าง และทดสอบระบบ  
วัตถุประสงค์ : 1.เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบให้สะดวก รวดเร็ว 2.ลดปัญหาความผิดพลาดและความคลาดเคลื่อนของข้อมูล 3.ตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลรายงานได้ง่ายขึ้น  
กลุ่มเป้าหมาย :  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.ศึกษาระบบรายงานเดิม พร้อมทั้งเก็บข้อมูลปัญหา และความต้องการของระบบ 2.เลือกเครื่องมือ (Tool) และ Technology ที่ใช้สร้างระบบ 3.ออกแบบระบบ 4.เขียนคำสั่งโปรแกรม และทดสอบระบบ 5.Implement ระบบ และนำไปใช้งานจริง 6.ประเมินผล  
     
ผลการศึกษา : 1.ก่อนการพัฒนา ระบบการสร้างรายงานแบบเดิม ผู้ใช้งานจะต้องคีย์ข้อมูลทุกส่วนเอง เริ่มตั้งแต่ข้อมูลในหนังสือภายในสำหรับขออนุมัติซื้อ โดยต้องคีย์รายละเอียดของข้อมูล อาทิ เลขที่หนังสือ วันที่ ชื่อบริษัทผู้ค้า ข้อมูลรายละเอียดรายการยาหรือเวชภัณฑ์ที่จะสั่งซื้อ รวมทั้งต้องปรับแก้ในส่วนของกรรมการตรวจรับ เพราะรายชื่อและจำนวนของคณะกรรมการตรวจรับจะขึ้นอยู่กับมูลค่าการจัดซื้อ นอกจากนั้นผู้ใช้งานจะต้องสร้างใบสั่งซื้อและใบตรวจรับ ซึ่งมีข้อมูลหลายส่วนที่เหมือนกับข้อมูลในหนังสือขออนุมัติซื้อ อาทิ ข้อมูลในส่วนรายละเอียดรายการสั่งซื้อ รายการเวชภัณฑ์ ปริมาณ หน่วยนับ ราคา อัตราการใช้ อัตราคงเหลือ ราคาซื้อหลังสุด ราคากลางเป็นต้น ในขณะที่ผู้ใช้งานต้องคีย์ข้อมูลเหล่านี้ซ้ำอีกครั้ง ทำให้เสียเวลา และมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ง่าย 2.หลังการพัฒนา ระบบมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ใช้ระยะเวลาน้อยลง และลดความซ้ำซ้อนในการคีย์ข้อมูล ทำให้ลดปัญหาความผิดพลาด และความคลาดเคลื่อนในระหว่างการคีย์ข้อมูล เมื่อเปรียบเทียบกับระบบการสร้างรายงานแบบเดิม ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน  
ข้อเสนอแนะ : 1.เนื่องจากระบบที่พัฒนาขึ้น และนำมาใช้ในการรายงานการจัดซื้อเวชภัณฑ์ยาและมิใช่ยา ฝ่ายเภสัชกรรมเท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมการจัดซื้อในระบบงานอื่นได้ 2.ควรมีการพัฒนาระบบให้เอื้อต่อการจัดซื้อระบบงานอื่นๆ ให้ครอบคลุมในโรงพยาบาล  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ