ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การแช่เท้าด้วยน้ำต้มสมุนไพรในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผู้แต่ง : นางสาวมยุรา ฮังกาสี ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันโรคเรื้อรังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขไทยโดยเฉพาะเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งในแต่ละปีจะต้องมีการใช้จ่ายในการรักษาโรคเรื้อรังเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยแล้วก็จะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอพบแพทย์ตามนัด รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การจัดการด้านอารมณ์เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ปี ๒๕๕๘ ผู้ป่วยมารับบริการคลินิกโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเตยทั้งสิ้น ๙๗ คน แบ่งเป็นผู้ป่วยเบาหวานจำนวน ๕๙ คน ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน ๘๙ คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน ๓๘ คน ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจำนวน ๘๐ คน แบ่งเป็นแทรกซ้อนตาจำนวน ๒ คน ไต จำนวน ๑๙ คน เท้า จำนวน ๓ คน คน จากการดำเนินงานคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเตย พบว่าการคุมน้ำตาลให้อยู่ในภาวะปกติยังไม่ผ่านเกณฑ์ ผู้ป่วยบางคนยังไม่ทราบระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองว่าอยู่ในกลุ่มใด และยังไม่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองว่าอยู่ในระดับที่ปกติหรือระดับที่อันตรายมากน้อยเพียงใด จึงทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต และเท้า เท้าและข้อเท้าของผู้สูงอายุก็เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ คือ ย่อมมีการเสื่อมไปตามวัยที่เพิ่มขึ้น โดยโรคเท้าและข้อเท้ามักจะเกิดจากความเสื่อมของกระดูกและเส้นเอ็น ส่งผลให้การทำงานลดลง การเคลื่อนไหวได้ลำบากมากขึ้น ส่งผลให้ความสามารถในการเดินและช่วยเหลือตัวเองลดลง โดยอาจจะมีสาเหตุมากจาก ๒ โรคเท้าที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ดังนี้ โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ(Plantar Fasciitis) คือภาวะที่มีการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้า เป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่ง ส่วนใหญ่พบในผู้ที่มีอายุระหว่าง ๔๐-๗๐ ปี โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และส่วนใหญ่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน สาเหตุ เกิดจากการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้า อันเนื่องมาจากการบาดเจ็บของพังผืดบริเวณจุดเกาะที่กระดูกส้นเท้า โดยการบาดเจ็บนี้มักจะเป็นการบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆ ที่สะสมมานาน มักพบร่วมกับการมีเอ็นร้อยหวายตึง ซึ่งส่วนใหญ่มีผลมาจากการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ ขาดการออกกำลังกาย หรือการออกกำลังกายอย่างไม่เหมาะสม อาการและอาการแสดง ส่วนใหญ่มีอาการปวดใต้ส้นเท้า โดยจะปวดมากในช่วงเช้าโดยเฉพาะก้าวแรกที่ลงจากเตียง หรือเมื่อยืนลงน้ำหนัก แต่เมื่อเดินไประยะหนึ่งอาการปวดมักจะดีขึ้น หากการอักเสบรุนแรงขึ้นอาการปวดอาจเป็นมากขึ้นหลังจากยืนหรือเดินมากๆได้ โรคนิ้วหัวแม่เท้าโก่ง (Hallux Valgus) ได้แก่ภาวะที่มีการโก่งผิดรูปของนิ้วหัวแม่เท้า โดยมักโก่งออกด้านนอก ทำให้มีส่วนนูนที่ด้านในของเท้า พบได้บ่อยในประชาชนวัยทำงาน ที่มีอายุระหว่าง ๔๐-๗๐ ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มักพบร่วมกับโรคเท้าแบน สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ เชื่อว่าเกิดจากการใส่รองเท้าที่บีบแน่นด้านหน้า หรือเมื่อเกิดเท้าแบน นิ้วหัวแม่เท้าจึงบิดเข้าด้านในมากกว่าปกติในบางครั้ง หรืออาจเกิดจากกรรมพันธุ์ อาการของโรค ปวดด้านในรองเท้า ตรวจตำแหน่งที่มีกระดูกนูน บางครั้งมีชาออกปลายนิ้วหัวแม่เท้า ถ้านิ้วโก่งมาก นิ้วเท้าที่สองจะถูกเบียด ขี่นิ้วหัวแม่เท้า ทำให้ใส่รองเท้าลำบาก สุขภาพของเราขึ้นอยู่กับการไหลเวียนที่ดีของกระแสเลือดน้ำเหลือง และกระแสประสาทร่างกายของเราเหมือนเครือข่ายการไหลเวียนที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อน ทุกส่วนเชื่อมโยงประสานงานกัน โดยเฉพาะเท้าเป็นช่องทางไหลเวียนขนาดเล็กเมื่อเทียบกับร่างกาย โอกาสที่จะอุดตันจากของเสียต่างๆจึงเกิดขึ้นได้ง่าย หากไม่ขยับขยายช่องทางที่อุดตันก็จะส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆเป็นลำดับต่อเนื่องกันไป จนส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ การแช่เท้าในน้ำร้อนมีผลในการเร่งให้เลือดลมเดินคล่อง เส้นเอ็นแผ่ขยายจึงช่วยบำรุงอวัยวะภายใน ที่ฝ่าเท้าคนเรามีเส้นโลหิตกระจายกันมากมาย การแช่เท้าในน้ำร้อนจะทำให้เส้นโลหิตฝอยขยายตัว กระตุ้นให้โลหิตหมุนเวียนเร็วขึ้น สนองสิ่งบำรุงให้แก่เท้ามากขึ้นคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อส่วนขาขจัดความเมื่อยล้าได้ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเตย จึงมีแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ในลักษณะบูรณาการควบคู่กับการตรวจรักษาและการใช้สมุนไพรในชุมชน โดยการใช้นวัตกรรมแช่เท้าด้วยน้ำต้มสมุนไพรในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานและความดัน” เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการดูแลเท้าด้วยตนเองของผู้สูงอายุ  
วัตถุประสงค์ : ๑.เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน ๒.เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชน ๓.เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน ๔.เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน ๘๙ คน  
เครื่องมือ : 1.ประเมินเท้าในผู้สูงอายุ ตามระดับความรุนแรง 2.ทำการทดสอบระดับความเข้าใจการดูแลเท้าด้วยตนเองของผู้สูงอายุ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๑.ประเมินเท้าในผู้สูงอายุ ตามระดับความรุนแรง ๔ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงปานกลาง กลุ่มเสี่ยงสูง และกลุ่มมีแผล ๑) กลุ่มปกติ หมายถึง ไม่มีแผล เท้าปกติ ๒) กลุ่มเสี่ยงปานกลาง หมายถึง ไม่มีแผล เท้าผิดรูป ผิวหนัง เล็บผิดปกติ ชีพจรที่เท้าผิดปกติ หรือมีการรับความรู้สึกที่เท้าผิดปกติ ๓) กลุ่มเสี่ยงสูง หมายถึง ไม่มีแผล มีประวัติเคยมีแผลที่เท้า เท้าผิดรูป ร่วมกับชีพจรเท้าผิดปกติ หรือมีการรับความรู้สึกที่เท้าผิดปกติ ๔) กลุ่มที่มีแผลที่เท้า ๒.ทำการทดสอบระดับความเข้าใจการดูแลเท้าด้วยตนเองของผู้สูงอายุ ก่อนและหลังสิ้นสุดโครงการ ๓.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ๑ วัน วิทยากร - เจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านห้วยเตย - ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย เนื้อหา - ทดสอบความรู้ก่อน/หลัง - ความรู้การดูแลเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน - การแช่เท้าในน้ำต้มสมุนไพร ๔.ใช้สมุนไพร ประมาณ ครึ่ง – ๑ กำมือ เช่น ใบเตย เบญจรงค์(อ่อมแซบ) ผักบุ้ง บัวบก ย่านาง รางจืด ใบมะขาม ใบส้มป่อย กาบหรือใบหรือหยวกกล้วย จะใช้สมุนไพรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ ต้มกับน้ำ ๑ ขัน (ประมาณ ๑ ลิตร) เดือดประมาณ ๕ – ๑๐ นาที แล้วผสมน้ำธรรมดาให้อุ่นแค่พอรู้สึกสบาย ใช้เวลาแช่เท้าประมาณ ๒๐ นาที ติดต่อกันทุกวัน ระยะเวลา ๖๐ วัน ในขณะที่แช่เท้าควรใช้เท้าถูกัน เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ๕.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความรู้เรื่องการดูแลเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยตนเอง ๕ ขั้นตอน ได้แก่ การเช็ดเท้า การตรวจ คลำ ทาโลชั่น การแช่เท้าด้วยน้ำต้มสมุนไพร การบริหารเท้า โดยใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของกลุ่ม การฟังอย่างลึกซึ้ง และใช้ทักษะการจับประเด็น ๖.ตรวจประเมินความรู้สึกที่เท้าด้วย Monofilament โดยเจ้าหน้าที่ ๖.๑ก่อนและสิ้นสุดโครงการ วัดระดับความเข้าใจในการดูแลเท้าด้วยตนเอง และระดับความรู้สึกต่อการชาที่เท้า จากแบบสอบถามและการตอบคำถามของกลุ่ม ๗.ดำเนินการต่อเนื่องโดยกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรมแล้วไปแนะนำและสอนการดูแลรักษาสุขภาพของผู้สูงอายุและประชาชนที่สนใจดูแลสุขภาพเท้า ๘.เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ตรวจประเมินเท้าผู้ป่วยโรคเบาหวาน ด้วย Monofilament โดยเจ้าหน้าที่ หลังแช่เท้าด้วยน้ำต้มสมุนไพร ระยะเวลาติดต่อกัน ๖๐ วัน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง