ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : นวัตกรรม“ถุงตวงเลือด” งานห้องคลอด โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : อิสราภรณ์ ศรีโพนทอง ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ปัญหาสำคัญด้านสูติกรรมคือการตกเลือดหลังคลอดซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญมีผลต่อความเสี่ยงและการตายของมารดาที่คลอดของทุกประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ประเทศไทยในภาพรวมปี พ.ศ. 2548-2551 พบอัตราการตายของมารดาร้อยละ 18.2, 18.1, 17.7 และ 17.3 ตามลำดับส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการตกเลือดหลังคลอด จะเห็นได้ว่าปัญหาการตกเลือดหลังคลอดส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกาย จิตใจ บทบาทการเป็นมารดาและเศรษฐกิจทั้งในระดับครอบครัวและประเทศ สภาพปัจจุบันโรงพยาบาลร่องคำ ทำคลอดโดยการคาดคะเนปริมาณเลือดที่มีอยู่ในภาชนะรองรับเลือด ผ้าซับเลือดหรือประเมินด้วยสายตา ซึ่งค่าที่ได้ขึ้นอยู่กับความชำนาญ และประสบการณ์ของผู้ประเมินอาจมากหรือน้อยกว่าความเป็นจริง ซึ่งถ้ามากไปมารดา หลังคลอดอาจได้รับการดูแลรักษาที่มากเกินความจำเป็น หากประเมินได้น้อยกว่าความเป็นจริงแผนการดูแลรักษาอาจน้อยเกินไปไม่เพียงพอสำหรับการให้การช่วยเหลือทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือความสูญเสียตามมามากมาย จากความจำเป็นดังกล่าว งานห้องคลอดโรงพยาบาลร่องคำจึงได้ผลิตถุงตวงเลือดขึ้น  
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานห้องคลอด โรงพยาบาลร่องคำมีเครื่องมือที่ใช้ในการตวงเลือดหว่างการคลอดและหลังคลอด ที่มีรูปแบบชัดเจนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  
กลุ่มเป้าหมาย :  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการประเมินการสูญเสียเลือดจากการคลอดทางช่องคลอดตามประสบการณ์เดิม 2. นำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา หาแนวทางการประเมินการสูญเสียเลือดจากการคลอดทางช่องคลอดแบบใหม่ 3. ศึกษาและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประเมินการสูญเสียเลือดของผู้รับบริการคลอดเพื่อพัฒนาเครื่องมือที่จะใช้ในการประเมินการสูญเสียเลือด 4. จัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตถุงตวงเลือดประกอบด้วย 4.1 ถุงพลาสติกขนาด 24นิ้ว X36 นิ้ว 4.2 กรรไกร 4.3 ไม้บรรทัด 4.4 ปากกาเคมี 4.5 กระบอกยาฉีดขนาด 50 ซีซี 5. ดำเนินการผลิตถุงตวงเลือดโดยนำถุงพลาสติกมาตัดขอบถุง1ข้างให้สามารถพับเป็นรูปสามเหลี่ยมได้ นำถุงพลาสติกรูปสามเหลี่ยมที่ประดิษฐ์เป็นถุงตวงเลือดมาตวงปริมาณของเหลวแล้วทำสเกลเขียนปริมาณติดด้านข้างของถุง แล้วบรรจุซองที่ผนึกเรียบร้อยนำไปอบแก๊สเอธีลีนออกไซด์ 6. ประชุมเชิงปฏิบัติการพร้อมฝึกทักษะผู้ปฏิบัติงานห้องคลอดทุกคนในเรื่องการใช้ถุงตวงเลือดกับหุ่นผู้คลอด 7. นำถุงตวงเลือดที่ผลิตขึ้นไปทดลองใช้จริง 8. สรุป/วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน  
     
ผลการศึกษา : ผู้รับบริการคลอดโรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 75 ราย โรงพยาบาลร่องคำใช้ต้นทุนในการจัดซื้อถุงตวงเลือดจากราคาเฉลี่ย 70 บาทต่อชิ้น เหลือ 10 บาท/ชิ้น ถุงตวงเลือดที่ผลิตมีความสะดวกไม่มีความยุ่งยากในการนำไปใช้ ผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจต่อการใช้ถุงตวงเลือด ร้อยละ 100  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ