ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงสวนพัฒนา
ผู้แต่ง : นางสาวกาญญารัตน์ ภูบุญทอง ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันศาสตร์การแพทย์แผนไทยเริ่มมีบทบาทและมีความสำคัญในการดูแลสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพของมารดาหลังคลอดที่เป็นศาสตร์ทางเลือกอีกด้านหนึ่งที่นำมาช่วยในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด เพื่อเป็นการบรรเทาอาการปวดหลัง ลดอาการคัดตึงเต้านม กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต มดลูกหดรัดตัวดีและเข้าอู่เร็วขึ้น น้ำคาวปลาแห้งเร็ว และยังช่วยให้สดชื่น สุขสบายมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงสวนพัฒนา มีมารดาหลังคลอดในเขตรับผิดชอบปีละประมาณ 20 ราย จากการติดตามเยี่ยมบ้านมารดาหลังคลอด พบว่ามากกว่าร้อยละ 50 ยังนิยมการอยู่ไฟและควบคู่กับการดื่มน้ำ อาบน้ำสมุนไพร นอกจาก นี้ยังพบว่า ส่วนใหญ่มีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ปวดหลัง เจ็บแผล เครียด เต้านมคัด น้ำนมออกน้อย ส่วนญาติหรือผู้ดูแลมีความยุ่งยากในการจัดเตรียมอุปกรณ์การอยู่ไฟ ดังนั้นทีมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงสวนพัฒนา จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนารูปแบบการดูแลมารดาหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย และเพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจ  
กลุ่มเป้าหมาย : มารดาหลังคลอด 20 ราย (คลอดตั้งแต่ ตุลาคม 60-สิงหาคม 61)  
เครื่องมือ : 1.ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ 2.แบบติดตามเยี่ยมหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย 5 ขั้นตอน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประชุมเจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม, ผู้นำชุมชน เพื่อหาแนวทางการดำเนินงาน 2. กำหนดรูปแบบการดูแลมารดาหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย 5 ขั้นตอน ได้แก่การซักประวัติตรวจร่างกาย/การนวด,ประคบสมุนไพร/การเข้ากระโจม,อบสมุนไพร/การทับหม้อเกลือ/การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 3. สำรวจหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดในเขตรับผิดชอบ 4. ประชาสัมพันธ์การดูแลมารดาหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงสวนพัฒนา ผ่าน อสม, ผู้นำชุมชน (หอกระจายเสียง) , ช ,หญิงตั้งครรภ์, มารดาหลังคลอด และประชาชนทั่วไป 5. ติดตามเยี่ยมบ้านมารดาหลังคลอดร่วมกับทีมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงสวนพัฒนา ,อสม , แกนนำนมแม่ และผู้นำในชุมชน 6. บริการเชิงรุกในการดูแลมารดาหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทยที่บ้าน 7. ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ