ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ด้วยกลไกศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ฐาปกรณ์ เทศารินทร์ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : อุบัติเหตุทางถนน (Traffic Accident) เป็นความสูญเสียที่สำคัญทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ที่สำคัญคืออุบัติเหตุทางถนนเป็นสิ่งที่ป้องกันและลดความสูญเสียลงได้ การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยใช้กลไกศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอ แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัจจัยพื้นฐานและสังเคราะห์รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ด้วยกลไกศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอ โดยการใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งใช้แนวคิดของ Kemmis and McTagart (1998) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม แบบบันทึกการสอบสวนการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน การสนทนากลุ่ม แบบประเมินกระบวนการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการบริหารจัดการ ทั้ง 8 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนน ด้วยรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ด้วยกลไกศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอ  
วัตถุประสงค์ : 1.การจัดการข้อมูล การเฝ้าระวังและการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา 2.การวิเคราะห์จุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน 3.การขับเคลื่อนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของทีมระบบสุขภาพอำเภอด้านอุบัติเหตุ  
กลุ่มเป้าหมาย : คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ  
เครื่องมือ : แบบประเมินอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนด้านการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน จำนวน 10 ข้อ แบบสอบถามการดำเนินงานตามนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอำเภอคำม่วง จำนวน 30 ข้อ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การดำเนินงานประยุกต์ใช้การขับเคลือนงาน 5 ส 1.การขับเคลือนการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมขอทีมระบบสุขภาพอำเภอด้านอุบัติเหตุ การบังคับใช้กฎหมาย ด่านชุมชน มาตรการชุมชน 2.การจัดการขัอมูล การเฝ้าระวังและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา 3.การจัดการข้อมูล การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาด้านการบาดเจ็บ วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอ 4.การวิเคราะห์จุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน จัดการจุดเสี่ยง  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง