|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : นวัตกรรมการจัดการสุขภาพ |
ผู้แต่ง : |
ประทุมมาศ ไชยสุนทร อรรคพล ภูผาจิตต์ สุกฤตา ศรีณะพรม เอมอร ชนะบุตร ศิริพงษ์ สารเลา พิมพ์ชนก สำราญรื่น ดุสิต ภูบุญคง กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลทุ่งคลอง
|
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
สภาพปัญหาสุขภาพในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อวิธีการจัดการอย่างเหมาะสม หากจะมีการจัดการที่เกิดประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับสภาพที่เปลี่ยนแปลง จะต้องให้ประชาชนมีบทบาทและส่วนร่วมทางสุขภาพมากขึ้น โดยมีเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาสุขภาพอนามัย คือ ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพดีทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคม ประชาชนเริ่มตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และภาคประชาสังคม ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนตนเอง สามารถจัดการดูแลสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและสังคม ให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีของทุกกลุ่มวัย สังคมอยู่เย็นเป็นสุข
จากการดำเนินงานการจัดการสุขภาพในชุมชนที่ผ่านมา ได้มีการวิเคราะห์ปัญหาสภาพการจัดการสุขภาพในเขตตำบลทุ่งคลอง พบว่า 1.) การฝากครรภ์ครั้งแรก ≤ 12 สัปดาห์ 2.) การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น 3.) ภาวะน้ำหนักเกิน อ้วน BMI เกิน 4.) การฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ (โรคติดต่อที่สำคัญในชุมชน) ซึ่งพบว่าเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ไม่สามารถจัดการให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีได้ โดยทางกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมได้ดำเนินการการจัดการสุขภาพในชุมชนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ภายใต้โครงการ พัฒนาสุขศาลาต้นแบบ สู่การเรียนรู้สุขภาพดี เน้นการพัฒนาเพื่อให้เกิด “การพัฒนาระบบสุขภาพที่ใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาของชุมชน” ปี พ.ศ. 2559 ดำเนินการจัดการสุขภาพภายใต้ โครงการตำบลจัดการสุขภาพดี เน้นการพัฒนาเพื่อให้เกิด “ความเข้มแข็งของการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ” จาการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2558 – 2559 ที่ผ่านมา พบ Strengths มีทีม อสม.Extremes ได้รับสนับสนุนการดำเนินงานจาก ผู้นำ
15
ชุมชน และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาการปกครองส่วนท้องถิ่น Weaknesses และ Threats คือการรับรู้ข้อมูลทางสุขภาพ การคืนข้อมูลในชุมชน Opportunities พบว่ามีโอกาสที่จะพัฒนาต่อในเรื่องการคืนข้อมูล และระดับที่แสดงให้เห็นถึงสภาวะสุขภาพในชุมชน เพื่อเกิดการมีส่วนร่วมในการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหา
จากการดำเนินการที่ผ่านมาเดิมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นผู้นำในเรื่องของการจัดการสุขภาพ และต้องดำเนินการขับเคลื่อนสภาวะสุขภาพในทุกมิติ ได้เปลี่ยนแปลงโดยมีโครงสร้างจากนโยบายหมอครอบครัว โดยผู้นำชุมชนเป็นประธานทีมหมอครอบครัวในระดับหมู่บ้าน อสม. Extremes เป็นเลขา และเจ้าหน้าที่เป็นผู้ช่วยเลขากำนัน ตำบลทุ่งคลอง ประธาน อสม.ระดับตำบลเป็นเลขา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเปลี่ยนแปลงบทบาทมาเป็นผู้ให้คำปรึกษา และเกิดแนวคิดที่สำคัญอันก่อให้เกิดนวัตกรรม “ปรอทสุขภาวะชุมชน” ขึ้นมาเพื่อให้เป็นระบบการคืนข้อมูลในชุมชน เกิดกระบวนการเฝ้าระวังและคนในชุมชนมองเห็นสภาพปัญหาที่แตกต่างการตามหน่วยชุมชน เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน และสำคัญที่สุดเกิดการเป็นเจ้าของสุขภาพของตนเองและร่วมกันดูแลพัฒนาระบบสุขภาพของชุมชน
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพในระดับหมู่บ้านอย่างมีส่วนร่วมที่เข้มแข็ง
2. เพื่อความครอบคลุมในการดูแลทุกกลุ่มวัย ทุกพื้นที่โดยหมอครอบครัวและภาคีเครือข่าย
3. เพื่อพัฒนาการสื่อสารรับรู้สถานะสุขภาพร่วมกัน
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้นำชุมชนเป็นประธานทีมหมอครอบครัวในระดับหมู่บ้าน อสม. Extremes เป็นเลขา และเจ้าหน้าที่เป็นผู้ช่วยเลขากำนัน ตำบลทุ่งคลอง ประธาน อสม.ระดับตำบลเป็นเลขา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเปลี่ยนแปลงบทบาทมาเป็นผู้ให้คำปรึกษา |
|
เครื่องมือ : |
ปรอทสุขภาวะชุมชน |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. การคืนข้อมูล ตัวชี้วัดตามกลุ่มวัย ภายใต้ตำบลจัดการสุขภาพดี
1.มารดาและเด็ก
2.วัยเรียน
3.วัยรุ่น
4.วัยทำงาน
5.วัยผู้สูงอายุและผู้พิการ
2.“ปรอทสุขภาวะ” ตัวแสดงสถานะสุขภาพ
3. กลุ่มภาคประชาสังคมทราบสถานการณ์สุขภาพของคนในชุมชนหมู่บ้าน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
จากการวิเคราะห์การดำเนินงานระบบสุขภาพที่มีการคืนข้อมูลโดยใช้นวัตกรรม “ปรอทสุขภาวะ” พบว่าจากเดิมที่ดำเนินงานพบว่ามี Opportunities คือการคืนข้อมูลสุขภาวะชุมชน การแสดงถึงสภาวะสุขภาพในชุมชน จนเปลี่ยนเป็น Strengths คือ เกิดการคืนข้อมูลโดยการใช้ “ปรอทสุขภาวะ” และได้เกิดระบบการจัดการสุขภาพในชุมชนที่ดี จากการคืนข้อมูลด้วยปรอทสุขภาวะส่งให้เกิดการดำเนินการแก้ไขปัญหาในรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาขนในหมู่บ้าน โดยได้นำข้อมูลไปใช้ในการประชาคมและเขียนโครงการโดยเลขาทีมหมอครับครัว เจ้าหน้าที่สาธารณสุข (หมอประจำหมู่บ้าน) มีบทบาทในการเป็นที่ปรึกษาและเขียนโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคำม่วง ทั้งหมด 12 โครงการ เป็นงบประมาณ 258,200 บาท และกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคลอง ทั้งหมด 11 โครงการ เป็นงบประมาณ 309,900 บาท ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
ระบบสุขภาพ (Health System) เกิดกิจกรรมต่างๆ ที่นำไปสู่การบริการสุขภาพต่างๆ ทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพภาคประชน โดยโครงสร้างการขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการทีมหมอครอบครัว ผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานหมอครอบครัว อสม.Extremes เป็นเลขา และมีหมอประจำหมู่บ้าน (เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) เป็นที่ปรึกษา มีสุขศาลาซึ่งเป็นสถานที่ทำงานของทีมหมอครอบครัวเป็นสถานบริการและเป็นแหล่งข้อมูลสุขภาพของหมู่บ้าน
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
ประชาชนบางส่วนยังขาดความตระหนักในการรับรู้ข้อมูลตามปรอทสุขภาพ ยังมีการเข้าใจไม่ครอบคลุมทั้งหมู่บ้าน ซึ่งเป็นโอกาสพัฒนาสู่แกนนำสุขภาพครัวเรือน
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|