|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมวัณโรค โดยใช้มาตรการ 5 เสือ เพื่อหยุดวัณโรคในชุมชน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
น.ส. ทิพวรรณ ทุมก่ำ |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ความเป็นมา : วัณโรค (Tuberculosis) เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขเป็นสาเหตุของการป่วยและการเสียชีวิตในหลายประเทศทั่วโลก จากรายงานขององค์การอนามัยโลกเมื่อปี 2007 พบว่าประชากรทั่วโลกได้รับการติดเชื้อวัณโรคมากกว่า 2 พันล้านคน หรือเท่ากับ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด และยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนอีกจำนวนไม่น้อย ที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยและเข้าสู่ระบบการรักษาจำนวนไม่น้อย กลุ่มนี้จะแพร่เชื้อในสังคม
สถานการณ์วัณโรคอำเภอคำม่วง ปี 2555 พบผู้ป่วยจำนวน 74 ราย เป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เสมหะพบเชื้อ (เสมหะบวก) จำนวน 46 ราย ผู้ป่วยเสมหะลบและอื่นๆ จำนวน 28 ราย ปี 2556 พบผู้ป่วยจำนวน 90 ราย เป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เสมหะพบเชื้อ (เสมหะบวก) จำนวน 46 ราย ผู้ป่วยเสมหะลบและอื่นๆ จำนวน 44 ราย ปี 2557 พบผู้ป่วยจำนวน 106 ราย เป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เสมหะ พบเชื้อ (เสมหะบวก) จำนวน 44 ราย ผู้ป่วยเสมหะลบและอื่นๆ จำนวน 62 ราย ปี2558 พบผู้ป่วยจำนวน 98 ราย เป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เสมหะ พบเชื้อ (เสมหะบวก) จำนวน 57 ราย ผู้ป่วยเสมหะลบและอื่นๆ จำนวน 44 ราย ปี 2559 พบผู้ป่วยวัณโรค รวมทุกประเภทจำนวน 107 ราย ปี 2560 พบผู้ป่วยวัณโรค รวมทุกประเภทจำนวน 74 คน และพบว่าตำบลโพนมีผู้ป่วยวัณโรคในปี 2557,2558, 2559, 2560 จำนวน 8, 6, 10และ 10 ราย ตามลำดับ ซึ่งแนวโน้มสูงขึ้น และสามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้สัมผัสได้ แต่ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งการระบาดดังกล่าวได้ดำเนินการควบคุมป้องกันโรคตามแนวทางและมาตรการของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แต่การควบคุมโรคเป็นเพียงการดำเนินการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เท่านั้นยังขาดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางด้านสุขภาพ จากการดำเนินงานการป้องกันโรควัณโรค ที่ผ่านมา พบว่า การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรควัณโรค ซึ่งขาดการมีส่วนร่วม ความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ศึกษาจึงสนใจศึกษาการพัฒนาศักยภาพในการป้อกันและควบคุมวัณโรคโดยใช้มาตรการ 5 เสือ เพื่อหยุดวัณโรคในชุมชน ตำบลโพน อำเภอคำม่วงจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยประยุกต์หลักทฤษฎีกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ Kemmis และ Mc Taggaet (1988)4 คือ PAOR เพื่อการหาแนวทางที่ดีในการดำเนินงานป้องกันโรควัณโรค และกระตุ้นให้เกิดการดำเนินงานการป้องกันโรควัณโรคแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
|
|
วัตถุประสงค์ : |
วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพในการป้อกันและควบคุมวัณโรค โดยใช้มาตรการ 5 เสือ เพื่อหยุดวัณโรคในชุมชน ตำบลโพน อำเภอคำม่วงจังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
กลุ่มตัวอย่าง คือ.ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานป้องกันวัณโรคในชุมชน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 50 คน ซึ่ง ประกอบด้วย 1.ผู้นำชุมชน 10 คน 2. สอบต.,สท. 10 คน 3. อสม. 10 คน 4.แกนนำสุขภาพครัวเรือน (อสค) จำนวน.10 คน 5.มิสเตอร์ TB Mr.TB จำนวน 10 คน ที่มีความยินดีในการเข้าร่วม |
|
เครื่องมือ : |
โดยใช้แบบสอบถาม และสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบบันทึกภาคสนาม แบบบันทึกการสังเกตการณ์มีส่วนร่วม ถอดบทเรียนการดำเนินงานป้องกันวัณโรค |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การพัฒนาการดำเนินงานป้องกันวัณโรค โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลโพน อำเภอคำม่วงจังหวัดกาฬสินธุ์ มีการดำเนินงานตามขั้นตอน PAOR ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 Planning การศึกษาบริบทและวิเคราะห์สถานการณ์ ขั้นที่ 2 การจัดทำแผนพัฒนาการดำเนินงานป้องกันวัณโรค ขั้นที่ 3 Action การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ขั้นที่ 4 Observation กาประเมินผลการดำเนินงาน และขั้นที่ 5 Reflection การวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จและถอดบทเรียนและคืนข้อมูล |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ผลการศึกษาและการอภิปรายผล : การพัฒนาการดำเนินงานป้องกันวัณโรค โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลโพน อำเภอคำม่วงจังหวัดกาฬสินธุ์ มีการดำเนินงานตามขั้นตอน PAOR ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 Planning การศึกษาบริบทและวิเคราะห์สถานการณ์ ขั้นที่ 2 การจัดทำแผนพัฒนาการดำเนินงานป้องกันวัณโรค ขั้นที่ 3 Action การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ขั้นที่ 4 Observation กาประเมินผลการดำเนินงาน และขั้นที่ 5 Reflection การวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จและถอดบทเรียนและคืนข้อมูล จากการดำเนินงานดังกล่าวพบว่าภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันวัณโรคมากขึ้น มีมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกันวัณโรค ภายหลังการพัฒนา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ การปฏิบัติตัว และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันโรควัณโรคเพิ่มขึ้นจากก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม และพบว่าการดำเนินงานการป้องกันโรควัณโรค จากการศึกษาครั้งนี้ส่งผลให้ความรู้ด้านการป้องกันวัณโรค โดยรวมอยู่ในระดับดี และด้านพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคอยู่ในระดับดี และสิ่งที่พบคือ ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เรื่องโรควัณโรคอยู่ในระดับดี ด้านการปฏิบัติตนในการป้องกันและควบคุมวัณโรคอยู่ในระดับดี จากกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ปัญหาการดำเนินงานป้องกันโรควัณโรคในชุมชน และจัดทำแผนแก้ไขปัญหาจำนวน 1 โครงการคือ “โครงการป้องกันและควบคุมวัณโรคด้วยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์” กิจกรรมที่สำคัญ คือ 1.จัดอบรมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชนในการป้องกันและควบคุมวัณโรค ร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชนในการกำหนดแนวทาง/รูปแบบการดำเนินงานในการป้องกันและควบคุมวัณโรคในชุมชน 3.ดำเนินการตามแนวทาง/รูปแบบการดำเนินงานโดยกระบวนการชุมชนดูแลชุมชน 4. สำรวจ จัดทำทะเบียน และฐานข้อมูลประชาชนกลุ่มเสี่ยงวัณ 5. จัดกิจกรรมคัดกรองวัณโรคในประชาชนกลุ่มเสี่ยงวัณโรค สร้างความตระหนักแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงวัณโรค และการรักษาพยาบาลตามระบบ ให้การรักษาผู้ป่วยวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้นแบบมีพี่เลี้ยงคอยดูแลผู้ป่วย (Directly Observe Treatment Short course หรือ DOTS) 6. การติดตามเยี่ยมผู้ป่วยวัณโรค โดยภาคีเครือข่ายและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอปท. 10. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรคในชุมชน “โดยใช้มาตรการ 5 เสือ เพื่อหยุดวัณโรค” นอกจากนี้ในชุมชนยังมีการให้สุขศึกษาทางหอกระจายข่าวโดยผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทำให้ในชุมชนมีการตื่นตัว ส่งผลให้การป้องกันและค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยและหากเกิดโรคก็จะสามารถเข้าควบคุมโรคได้ทันท่วงที ผลการดำเนินงานพบว่าภาคีเครือข่าย 5 เสือ มีการดำเนินงานร่วมกันอย่างชัดเจนจริงจัง การติดตามเยี่ยมผู้ป่วยวัณโรคตามระบบ DOTS โดยภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชน ให้ชุมชนดูแลชุมชน เพื่อควบคุมป้องกันโรควัณโรค ไม่ให้ระบาดในชุมชน และพบอัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ไม่กลับมาเป็นซ้ำ“บทเรียน” จากการดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านี้ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน เกิดการรับรู้สภาพปัญหา วิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน โดยทุกคนมีส่วนร่วมจัดทีมแก้ไขปัญหาและจัดการองค์ความรู้ที่ได้คืนข้อมูลสู่ชุมชน ควรนำเอารูปแบบที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่อื่นๆ ในบริบทเดียวกัน |
|
ข้อเสนอแนะ : |
ข้อเสนอแนะ วัณโรคเป็นโรคติดต่อสามารถแพร่กระจายหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ใช้เวลาในการรักษานาน ต้องใช้ความเป็นทีมหรือต้องมีพี่เลี้ยง ชุมชนต้องดูแลชุมชน ในการดูแลและติดตามควรดำเนินการตามบทบาทอย่างต่อเนื่อง |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|