ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : บูรณาการเครือข่ายขับเคลื่อนเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : น.ส.ทิพวรรณ ทุมก่ำ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ปัญหาอุบัติเหตุจราจรเป็นปัญหาสำคัยที่ทุกประเทศให้ความตระหนัก ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรประมาณ 1.2 ล้านคน และบาดเจ็บประมาณ 50 ล้านคน (1) จากสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่า การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรเป็นสาเหตุการตายลำดับ 2 ของประชากรทั่วโลก (2) ส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 15-44 ปี (3-6) และร้อยละ 96 ของปัญหาอุบัติเหตุจราจรเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (2-3) เมื่อกันยายน 2558 มติการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาติ ได้รับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2573 (2030 Agenda for Sustainable Development) ซึ่งถือเป็นหน้าประวัติศาสตร์ที่สำคัญหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่ง (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) (ข้อ 3.6) คือ ลดอัตราการเสียชีวิต และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการจราจรทางถนนให้ได้ครึ่งหนึ่ง 2563 (7) จากรายงานการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2559 พบว่า จำนวนผู้บาดเจ็บ ทุพพลภาพ และเสียชีวิต จากอุบัติเหตุทางถนนมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี 2559 มีจำนวนผู้บาดเจ็บและทุพพลภาพสูงที่สุด คือ จำนวนผู้บาดเจ็บ 332,465 ราย ทุพพลภาพ 1,095 ราย และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 10,363 ราย ซึ่งคิดเป็นอัตราการบาดเจ็บ เท่ากับ 504.25 ต่อแสนประชากร และอัตราตายเท่ากับ 15.71 ต่อแสนประชากร สถานการณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2555-2559 พบว่า จำนวนผู้บาดเจ็บทางถนนมีแนวโน้ม่สูงขึ้น คือ 2,371, 2,312, 2,255 2,783 และ 2,911 ราย ตามลำดับ ซึ่งในปี 2559 มีผู้บาดเจ็บทางถนนสูงสุด สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุทางถนนของอำเภอคำม่วง พ.ศ. 2554-2558 มีจำนวนผู้บาดเจ็บทางถนน เท่ากับ 64, 64, 62, 93 และ 86 ราย ตามลำดับ และจำนวนผู้เสียชีวิต เท่ากับ 3, 5, 9, 3 และ 4 ราย และเมื่อเปรียบเทียบจำนวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตทางถนน ปี พ.ศ. 2559 กับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ. 2554-2558) พบว่า จำนวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตทางถนนของอำเภอคำม่วง มีค่าสูงกว่าค่ามัธยฐาน ตำบลโพน มีรายงานผู้เสียชีวิต ในปี 2555-2556 และปี 2560 จำนวน 2,1,1และ1 จากข้อมูล อุบัติเหตุทางจราจรสร้างความเสียหายแก่ประเทศไทยไม่น้อยกว่าปีละ 1 แสนล้านบาท ผู้พิการปีละประมาณ 1 แสนคน ซึ่งในแต่ละปีมูลค่าความเสียหายทั้งต่อผู้ขับขี่และทรัพย์สินสูงถึง 540 ล้านบาท นอกจากความเสียหายทางเศรษฐกิจแล้ว ยังสร้างปัญหาด้านสังคมแก่ครอบครัวหรือลูกหลานที่ต้องรับภาระจากผู้เสียชีวิตหรือผู้พิการ สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุเกิดจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ คน รถ ถนนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมารวมตัวกันในเวลาพอเหมาะเกิดเป็นห่วงโซ่ของเหตุการณ์หลาย ๆ เหตุการณ์ ซึ่งนำไปสู่อุบัติเหตุ โดยอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นบนลักษณะถนนที่เป็นทางตรงและช่วงเวลาที่การจราจรไม่ติดขัด ยิ่งไปกว่านั้นช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เช่น เทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์ ยังเป็นช่วงที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากขับขี่ขณะมึนเมา จึงเป็นเหตุทำให้มีการเกิดอุบัติเหตุสูงและรุนแรงกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ อุบัติเหตุทางถนนจึงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประเทศอย่างต่อเนื่องยาวนาน และสมควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนจริงจัง (10) ซึ่งคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552 เห็นชอบให้ดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนนเป็นวาระแห่งชาติและกำหนดให้ปี 2554-2563 เป็นปี “ทรรศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน” (Decade of Action for Road Safety) กำหนดเป้าหมายตามมาตรฐานสากลให้สามารถลดอัตราให้สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของคนไทยจากอุบัติเหตุทางถนนลงในอัตราที่ต่ำกว่า 10 คนต่อแสนประชากรคน (11) ภายใต้แนวทาง “ประชารัฐ” เพื่อให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ได้เข้ามาร่วมรับผิดชอบต่อกระบวนการขับเคลื่อนภารกิจการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย ทั้งร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมกำหนดแนวทาง ร่วมดำเนินการ และร่วมประเมินผลการดำเนินงาน นโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ถือได้ว่าเป็นกลไกหลักในการดําเนินงานของรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐในการที่จะลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ลดการ สญูเสียในชีวิตและทรัพย์สินให้น้อยลง แม้ว่าที่ผ่านมา อำเภอมีศูนย์อำนวยการปลอดภัยทางถนนดำเนินการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนน แต่ยังไม่สามารถลดการเสียชีวิตลงได้ เนื่องจากเป็นการดำเนินงานตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ขาดพลังของการมีส่วนในการแก้ไขด้วยทิศทางเดียวกัน จากการถอดบทเรียนของคณะกรรมการ ศปถ. อำเภอคำม่วง พบว่า จุดอ่อนของการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรอยู่ที่การขาดการวิเคราะห์ข้อมูล ขาดการวิเคราะห์จุดเสี่ยงร่วมกัน และขาดการประสานงานระหว่างภาคีเครือข่าย ดังนั้นการเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนนในชุมชน โดยการบูรณาการเครือข่ายต่าง ๆ โดยใช้หลักการดำเนินงานที่มุ่งเน้นให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมชุมชนให้เกิดกระบวนการจัดการตนเองของชุมชน (Community Self-Managed) และภาคีหุ้นส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน และภาคประชาสังคมบนฐานการจัดการและเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Management/Learning) เพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย และลดพฤติกรรมเสี่ยงทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน (Safe Community) จึงน่าจะเป็นยุทธวิธีที่สำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อลดอุบัติเหตุทางงถนนของตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพแก่ภาคีเครือข่ายสุขภาพตำบล 2. เพื่อบูรณาการการทำงานของเครือข่ายเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน 3. เพื่อพัฒนาและขยายผลชุมชนต้นแบบในการจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางถนน 4. เพื่อขับเคลื่อนด้วยการจัดการตนเองของชุมชนในการจัดการอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. กลุ่มแกนนำภาคีเครือข่ายสุขภาพระดับตำบล จำนวน 50 คน 2. ประชาชนในพื้นที่ดำเนินการ ชมรม กลุ่มแกนนำต่างๆ ในชุมชน จำนวน 100 คน  
เครื่องมือ : แบบสอบถาม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. จัดเก็บ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุทางถนน 2. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพระดับตำบล เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ และร่วมกันกำหนดแนวทาง/รูปแบบการดำเนินงานการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน 3. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และกำหนดทิศทางในการจัดการอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนพื้นที่ชุมชนต้นแบบ 4. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน (ระยะต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ) 5. จัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน 6. บูรณาการการทำงานของเครือข่ายเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน 7. ขับเคลื่อนด้วยการจัดการตนเองของชุมชนในการจัดการอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน 8. จัดประชุมถอดบทเรียนกับเครือข่ายการจัดการอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน 9. สรุป รายงาน ประเมินผลโครงการ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ