ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาการจัดการขยะประเภทเศษใบไม้ด้วยรูปแบบ RDF-5 ในชุมชนบ้านทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นายอรรคพล ภูผาจิตต์, นางสาววรัญญา บุตรผา, นางสาวสุวรรณี ศรีหงส์ทอง, ทีมผู้นำชุมชนและชาวบ้านบ้านทุ่งคลอง, ทีมสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย โรงพยาบาลคำม่วง ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ขยะเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องดำเนินการแก้ไขและจัดการในพื้นที่ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยตรง ปี 2557 ประเทศไทยมีปริมาณขยะรวม 26.17 ล้านตัน จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นถูกนำไปกำจัดแบบถูกหลักสุขาภิบาลเพียง ร้อยละ 27 มีการกำจัดแบบไม่ถูกหลักสุขาภิบาลและลักลอบทิ้งในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ 26 มีการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ร้อยละ 19 และเหลือขยะตกค้างในพื้นที่ที่ไม่ได้รับการเก็บขนหรือนำไปกำจัด ร้อยละ 28 จากปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีก่อให้เกิดปัญหาการจัดการขยะในหลายชุมชน บางชุมชนใช้กระบวนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม มีการจัดตั้งธนาคารขยะ มีการจัดการขยะโดยการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ มีการน้ำขยะมาแปลงรูปเป็นเป็นพลังงานทดแทนที่อยู่ในรูปของแก๊สชีวภาพ และเชื้อเพลิงขยะเป็นต้น ปัจจุบันบ้านทุ่งคลอง ได้มีการจัดทำโครงการจัดการขยะในชุมชน โดยได้รับความร่วมมือจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลทุ่งคลอง และพัฒนาการจัดการขยะร่วมกันกับโครงการ Green and Clean hospital ของโรงพยาบาลคำม่วง โดยเริ่มต้นจากการดูงาน และนำมาพัฒนาในชุมชนจนเกิดการลดขยะที่แหล่งกำเนิด เกิดกระบวนการที่เข้มแข็งของชุมชน จนมีครัวเรือนต้นแบบในการแยกขยะ แต่การจัดการดังกล่าวยังพบว่า มีขยะประเภทเศษใบไม้ที่ยังมีการจัดการที่ไม่ถูกต้องในพื้นที่ คือมีการเผ้ากลางแจ้ง ทั้งนี้การพัฒนาโครงการ Green and Clean hospital ของโรงพยาบาลคำม่วง จึงเกิดแนวคิดการนำขยะชุมชนประเภทเศษใบไม้มาใช้ผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งนอกจากจะช่วยแก้ไปปัญหาขยะในชุมชนแล้วยังสามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงหุงต้มในครัวเรือนได้อีกรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากมีกระบวนการที่ไม่ยุ่งยากและชุมชนสามารถทำได้ง่ายโดยเฉพาะชุมชนชนบทที่มีวิธีชีวิตและพฤติกรรมการใช้ฟืนไม้และถ่านไม้ในการหุงต้มประกอบอาหาร การนำเชื้อเพลิอัดแท่งมาใช้จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับชุมชน การศึกษาครั้งนี้จึงได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเศษใบไม้ซึ่งเป็นขยะที่เกิดขึ้นในชุมชนมาผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในชุมชน เนื่องจากคุณสมบัติของเศษใบไม้จากมีองค์ประกอบของเส้นใยเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลสที่มีคุณสมบัติที่สามารถเผาไหม้ให้พลังงานความร้อนได้ ทั้งนี้ยังเป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่ช่วยแก้ไขปัญหาขยะในชุมชนด้วย  
วัตถุประสงค์ : 1.ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบเชื้อเพลิงอัดแท่ง RDF-5 จัดการขยะประเภทเศษใบไม้ ใช้แทนฟื้นไม้ในชุมชน 2.เพื่อศึกษาตัวประสานและอัตราส่วนที่เหมาะสมกับขยะประเภทเศษใบไม้  
กลุ่มเป้าหมาย : บ้านทุ่งคลอง  
เครื่องมือ : 1.เครื่อง Automatic Bomb Calorimeter 2.Drying Oven 3.Electric muffle furnace  
ขั้นตอนการดำเนินการ : รูปแบบการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง (Experimental research) เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากขยะเศษใบไม้ ที่อัดด้วยมือ โดยใช้ตัวประสาน 2 ชนิด ได้แก่ น้ำแป้งมันสำปะหลัง และน้ำยางพาราดิบ ขนาดตัวอย่างที่ทำการศึกษาอัตราส่วนระหว่างปริมาณเศษใบไม้ และตัวประสาน จำนวน 60 ตัวอย่าง ที่อัตราส่วน 5 อัตราส่วน 1:1, 1:1.1, 1:1.2, 1:1.3, 1:1.4 (กิโลกรัมต่อลิตร) แบ่งการศึกษาเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาคุณสมบัติของเศษใบไม้และตัวประสาน ระยะที่ 2 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างเศษใบไม้และตัวประสาน ระยะที่ 3 ศึกษาคุณสมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากการศึกษาวิเคราะห์หาคุณสมบัติด้านเชื้อเพลิงของเชื้อเพลิงอัดแท่ง ระยะที่ 4 ทดสอบความเหมาะสมของเชื้อเพลิงอัดแท่งที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนฟืนไม้ในชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบคุณสมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่ง  
     
ผลการศึกษา : เมื่อใช้ตัวประสานแป้งมันสำปะหลัง พบว่า อัตราส่วนใบไม้ต่อแป้งมันสำปะหลัง 1 : 1.4 ที่ดีที่สุด ให้ความร้อนเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4,275.40 แคลอรี่/กรัมเชื้อเพลิง สามรถติดไฟนาน 26.55 นาที ลดปริมาณขยะประเภทเศษใบไม้ได้ 94.32 กรัมใบไม้/แท่งเชื้อเพลิง และตัวประสานน้ำยางพาราอัตราส่วนใบไม้ต่อน้ำยางพาราที่ดีที่สุด 1 : 1.4 ให้ความร้อนเฉลี่ย 6,100.29 แคลอรี่/กรัมเชื้อเพลิง สามารถติดไฟได้นาน 28.34 นาที ลดปริมาณขยะประเภทเศษใบไม้ได้ 61.47 กรัมใบไม้/แท่งเชื้อเพลิง เมื่อทำการทดสอบความเหมาะสมของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษใบไม้เพื่อนำมาใช้ทดแทนฟื้นไม้ในชุมชน พบว่า แท่งเชื้อเพลิงที่ประสานด้วยแป้งมันสำปะหลัง มีระยะจุดติดไฟเฉลี่ย 1.03 นาที ระยะเกิดควันเฉลี่ย 5.13 นาที และระยะเวลาเกิดกลิ่นเฉลี่ย 6.01 นาที แท่งเชื้อเพลิงประสานด้วยน้ำยางพารา ระยะติดไฟเฉลี่ย 0.45 นาที เกิดควันเฉลี่ย 26.45 นาที และเกิดกลิ่น 28.23 นาที  
ข้อเสนอแนะ : 7.1 การใช้รูปแบบเชื้อเพลิงอัดแท่ง RDF- 5 ด้วยขยะประเภทเศษใบไม้สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนและฟื้นไม้และเป็นเชื้อเพลิงร่วมในการหุงต้มประกอบอาหารในครัวเรือนได้ 7.2 อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งระหว่างเศษใบไม้และตัวประสาน คือ 1 กิโลกรัม ต่อ 1.4 ลิตร และตัวประสานที่เหมาะสมคือ แป้งมันสำปะหลัง 7.3 การใช้รูปแบบเชื้อเพลิงอัดแท่ง มาจัดการขยะประเภทเศษใบไม้มีความเป็นไปได้ในเชิงของการลดขยะและนำไปใช้ประโยชน์ด้านพลังงานได้ ควรมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ในชุมชนอื่นๆ ต่อไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ผลงานวิชาการดีเด่น สาขาส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม ระดับ ระดับจังหวัด  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง