ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชนของตำบลสามัคคีอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นางสาวทัศนีย์ อนันทวัน ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้ให้ความสำคัญกับการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุให้มีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี ต้องได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐและต้องสงเคราะห์ให้ผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถพึ่งตนเองได้ เพื่อให้ผู้สูงอายุอยู่อย่างมีความสุขในช่วงท้ายของชีวิต ประเทศไทยเป็นสังคมสูงอายุมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 อันเป็นผลจากการที่ อัตราเกิดของคนไทยลดลงอย่างมากและชีวิตของคนไทยที่ยืนยาวขึ้นส่งผลให้ประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 13.20 ในปี พ.ศ.2553 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ19.10, 26.60 และ 32.10 ในปี พ.ศ. 2563, 2573 และ 2583 ตามลำดับ(1) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีผู้สูงอายุมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพและเกิดโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุมากขึ้น(2) และการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ เศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุซึ่งอาจจะมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันไปตามความสามารถในการปรับตัวของผู้สูงอายุเอง(3) จากการสำรวจสุขภาพผู้สูงอายุของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ พบว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ร้อยละ 43.00 รองลงมาสุขภาพดีปานกลางร้อยละ 28.90 ผู้สูงอายุสุขภาพไม่ดีร้อยละ 21.50 และผู้สูงอายุสุขภาพไม่ดีมากๆ ร้อยละ 2.80 และพบผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง ร้อยละ 7.60 (2)นอกจากนี้ยังพบว่าโรคเรื้อรังที่พบในผู้สูงอายุ 3 อันดับแรก คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ ร้อยละ 31.70, 13.30 และ 7.00 ตามลำดับ(4) จากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการด้านพื้นฐาน หรือถูกทอดทิ้งหรือไม่ได้รับการดูแลจากครอบครัว รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญและกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุที่ปรากฏในปัจจุบันแต่ส่วนใหญ่เป็นการให้บริการแบบสงเคราะห์แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้สูงอายุ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการขาดความชัดเจนในการกำหนดแผนแนวทางและนโยบายร่วมกันระหว่างภาคประชาชน ท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุที่ต่อเนื่องและยั่งยืน(2) จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดหวัดหนึ่งที่มีแนวโน้นผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น มีสัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมด ตั้งแต่ พ.ศ. 2555-2560 ร้อยละ 10.35, 10.84, 11.32, 11.82, และ12.01 ตามลำดับ(5) จากรายงานข้อมูลผู้สูงอายุของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอร่องคำ ปี 2556 พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม (ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองได้) ร้อยละ 96.55 ผู้สูงอายุติดบ้าน (ผู้สูงอายุที่ดูแลตนเองได้บ้าง) ร้อยละ 2.48 และ ผู้สูงอายุติดเตียง(ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถพึ่งตนเองได้) ร้อยละ 0.97 พบผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ร้อยละ 18.19 (6) และจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางประชากรของตำบลสามัคคีมีอัตราเพิ่มของผู้สูงอายุ ตั้งแต่พ.ศ. 2552-2556 ร้อยละ 12.33, 12.98 , 13.10, 13.87 , และ 14.55 ตามลำดับ ของประชากรทั้งหมด ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นข้อมูลผู้สูงอายุตามแบบประเมินผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ ตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living :ADL) ในเดือน เมษายน 2557 พบว่า กลุ่มที่ 1 กลุ่มติดสังคม (ผู้สูงอายุที่สามารถพึ่งพาตนเองได้) ร้อยละ 97.45 กลุ่มที่ 2 กลุ่มติดบ้าน (ผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตนเองได้บ้าง)ร้อยละ 1.70 กลุ่มที่ 3 กลุ่มติดเตียง (ผู้สูงอายุที่พึ่งพาตนเองไม่ได้) ร้อยละ 0.85 และพบอัตราการเพิ่มของผู้สูงอายุจากกลุ่มติดสังคมเปลี่ยนแปลงเป็นกลุ่มติดเตียง ในปี พ.ศ.2552 – พ.ศ.2556 ร้อยละ 0.86, 0.98, 1.05, 1.38 และ 1.57 ตามลำดับพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาที่สำคัญในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พบมากที่สุดคือโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 18.62 รองลงมาคือโรคเบาหวาน ร้อยละ17.18 พบว่าผู้สูงอายุเป็นผู้พิการร้อยละ 1.41 ไม่มีผู้ดูแล ร้อยละ 17.08 การเข้ารับบริการของผู้สูงอายุต่อประชากรที่มารับบริการทั้งหมด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 - พ.ศ.2556 ร้อยละ 22,15, 34.22, 39.11, 42.49 และ 48.19 ตามลำดับ ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น และพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่เข้ารับบริการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านม่วงกุญชร ป่วยด้วยโรคปวดกล้ามเนื้อ คิดเป็นร้อยละ 45.23 รองลงมาคือโรคปวดข้อ ร้อยละ 38.22 และโรคเบื่ออาหาร ร้อยละ 22.19(7) ดังนั้น เมื่อพิจารณาปัญหาข้างต้นแล้ว ผู้วิจัยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ ได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาว่ามีการเชื่อมโยงทั้งระบบจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน และควรหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและหารูปแบบในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน โดยนำกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ของ Kemmis และ Mc Taggart ซึ่งประกอบไปด้วย การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนปัญหา เพื่อแก้ไขปัญหาการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน นอกจากการใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากระบวนการแล้วนั้น ผู้วิจัยได้นำเทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม AIC มาใช้ในกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมและเสริมสร้างพลังชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาซึ่งทำให้เกิดกระบวนการจัดการด้วยวิธีใหม่ที่ได้ผลในการพัฒนาคนไปพร้อมกันและเพื่อให้ได้แนวปฏิบัติในการดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสมต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1.วัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อศึกษากระบวนพัฒนาการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ ตำบลสามัคคีอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. วัตถุประสงค์เฉพาะ 2.1 เพื่อศึกษาบริบทกระบวนพัฒนาการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ ตำบลสามัคคี อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2.2 เพื่อศึกษาผลของรูปแบบดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน ตำบลสามัคคีอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2.3 เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของรูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน ตำบลสามัคคีอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานผู้สูงอายุตำบลสามัคคี  
เครื่องมือ : 1. แผนปฏิบัติการ (Action Plan) การวิจัยรูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน ตำบลสามัคคีอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2.แบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้เรื่องการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานตำบลดูแลผู้สูงอายุระยะยาว แบบวัดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน ประกอบด้วย ด้านการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา ด้านการวางแผนแก้ไขปัญหา ด้านการดำเนินการแก้ไขปัญหา ด้านการประเมินผล ข้อมูลปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ 3. แบบสังเกตการประชุมเชิงปฏิบัติการตามกระบวนการ AIC 4. แบบสังเกตพฤติกรรมเครือข่ายชุมชนในการปฏิบัติงานตามแผนในขั้นตอนปฏิบัติ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ตามแนวคิดของKemmisและ Mc Taggart เพื่อหารูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชนตำบลสามัคคีอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1.ขั้นการวางแผน (Planning) ศึกษาบริบทและประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ การมีส่วนร่วม รูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชนตำบลสามัคคีอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ขั้นตอนการสร้างความรู้ (Appreciation: A) ขั้นตอนการสร้างแนวทางการพัฒนา (Influence: I) และขั้นตอนการสร้างแนวทางปฏิบัติ (Control: C) 2. ขั้นปฏิบัติการ (Action) นำแผนปฏิบัติการหรือโครงการที่ได้ในขั้นตอนการวางแผนไปปฏิบัติ ได้ดำเนินตามโครงการทั้ง 5 โครงการ มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั้งทางด้านกาย จิตใจ สังคม มีการดำเนินงานชุมรมผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาศักยภาพ ผู้สูงอายุได้ร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขสุขภาพและได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านโดยเครือข่ายชุมชน 3. ขั้นสังเกตการณ์พัฒนา (Observation) การสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูล และเก็บรวบรวมหลักฐาน จากการปฏิบัติตั้งแต่ก่อนการดำเนินงาน ระหว่างการดำเนินงาน และหลังการดำเนินงานจากการประชุมกลุ่มย่อย นิเทศ ติดตาม สนับสนุน ตรวจเยี่ยมให้ข้อเสนอแนะในระหว่างการดำเนินงาน ประเมินผลการดำเนินงาน 4. ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflection) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปผลการดำเนินงาน ถอดบทเรียน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรควางแผนหาแนวทางปรับปรุง แก้ไขในการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน  
     
ผลการศึกษา : ผลการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุไม่ผ่านเกณฑ์ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ ขาดภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานที่ชัดเจน ขาดความรู้ เข้าใจและทักษะการทำงาน ไม่มีการดำเนินกิจกรรมในชมรม ไม่มีการะดมทุน ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน จากผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปทางประชากรของเครือข่ายชุมชนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการรูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน บ้านม่วงคำ ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในหมู่บ้านและอาศัยอยู่ จำนวน 41 คน พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 80.49) อายุระหว่าง 38 – 44 ปี (ร้อยละ 36.59) อายุต่ำสุด 35 ปี อายุเฉลี่ย 48.07 ปี สถานภาพคู่ (ร้อยละ 85.37) ระดับการศึกษาสูงสุดประถมศึกษาตอนปลาย (ร้อยละ 26.83) อาชีพหลัก เกษตรกรรม (ร้อยละ 85.37) รายได้ครอบครัวต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 2,501 –5,000 บาท/เดือน (ร้อยละ 53.66) ด้านความรู้การดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานตำบลดูแลผู้สูงอายุระยะยาว พบว่า ก่อนการพัฒนาความรู้ของเครือข่ายชุมชนบ้านม่วงคำ ส่วนใหญ่มีความรู้ระดับต่ำ (ร้อยละ87.80) และหลังการพัฒนาส่วนใหญ่มีความรู้ระดับสูง (ร้อยละ 68.29)  
ข้อเสนอแนะ : จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า มีการดำเนินงานตามกิจกรรมเพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชนเป็นอย่างดี และประชาชนมีความสนใจรับฟังข้อมูลข่าวสารเป็นอย่างดีส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึงควรเน้นให้ชุมชนได้เข้ามามีบทบาทในการ  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง