ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับ ในเขตพื้นที่รับผิดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามัคคี อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นางสาวทัศนีย์ อนันทวัน และคณะ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : โรคพยาธิใบไม้ตับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคกลาง ในปี2538 มีคนติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับทั่วโลกถึง 17 ล้านคน ตรวจพบพยาธิใบไม้ตับ โอพิทอคิส วิเวอร์รินาย (OpisthorchisViverrini) จำนวน 9 ล้านคน คาดว่ามีผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในประเทศไทยอย่างน้อย 7 ล้านคน (World Health Organization[WHO], 1995 และในปี 2545 มีผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านคน ในประเทศไทย และ 2 ล้านคน ในประเทศลาว (World Health Organization[WHO], 2004) จากการสำรวจทางระบาดวิทยาของโรคหนอนพยาธิ กรมควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 –2524 พบว่าประชาชนในประเทศไทย เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ มีอัตราความชุกเฉลี่ย ร้อยละ 14.72 พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงสุดร้อยละ 34.6 ภาคกลาง ร้อยละ 6.34 ภาคเหนือ ร้อยละ 5.59 และไม่พบโรคนี้ในภาคใต้ ใน พ.ศ. 2534 พบว่าอัตราความชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดเหลือร้อยละ 24.01 แต่ภาคเหนือและภาคกลางมีอัตราความชุกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 22.88 และ7.32 ตามลำดับ ใน พ.ศ. 2539 พบว่าอัตราความชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับ เฉลี่ยทั่วประเทศเท่ากับ 11.18 และมีอัตราความชุกสูงสุดในภาคเหนือคือ ร้อยละ 29.70 (กองควบคุมโรคติดต่อ, 2544) และจากการศึกษาของ อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร (2544) เรื่องอัตราการติดเชื้อซ้ำและอัตราอุบัติการณ์ของโรคหนอนพยาธิในประเทศไทย พบว่า ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราอุบัติการณ์ของโรคพยาธิใบไม้ตับต่อเดือนคิดเป็นร้อยละ12.42 และอัตราการติดเชื้อซ้ำของโรคพยาธิใบไม้ตับต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 13.04 ชี้ให้เห็นว่าในพื้นที่ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังมีอัตราความชุกสูงอยู่เช่นเดิม แม้ว่าจะมีการรณรงค์ควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข สำหรับจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 7 ขอนแก่น พบว่าจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ พบมากที่สุดคือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี และแต่ละปีก็มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นเรื่อยๆ จากผลการสำรวจพยาธิใบไม้ตับในประเทศไทย พ.ศ. 2552 โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบอัตราการติดพยาธิใบไม้ตับ ดังนี้ กาฬสินธุ์พบร้อยละ 27.4 ขอนแก่นพบร้อยละ 14.2 ร้อยเอ็ดพบร้อยละ 11.8 มหาสารคามพบร้อยละ 11.6 อัตราตายจากมะเร็งตับและท่อน้ำดีต่อประชากร 100,000คน ดังนี้ ร้อยเอ็ด 54.8 คน กาฬสินธุ์ 50.9 คน และ มหาสารคาม 44.9 คน(สคร.6 2552 ) อำเภอร่องคำจังหวัดกาฬสินธุ์ มีประชากรกลุ่มเป้าหมาย โดยคิดจากตัวชี้วัดของจังหวัดกาฬสินธุ์ และยุทธศาสตร์อำเภอร่องคำ ร้อยละ 60 ของประชากรทั้งหมดซึ่ง อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีประชากร อายุ 40 – 60 ปี จำนวน 11,563 คน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามัคคี ตำบลสามัคคี อำเภอร่องคำจังหวัดกาฬสินธุ์ จากผลการรณรงค์ตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับในอุจจาระ ปี 2558 กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดในเขตรับผิดชอบ จำนวน 3,912 คน ผลการสำรวจมีกลุ่มเสี่ยงที่มีความเสี่ยง 3 ข้อ ขึ้นไป จำนวน 2,303 คน ได้รับการตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับในอุจจาระ จำนวน 862 คน ร้อยละ 37.47 พบ ไข่พยาธิใบไม้ตับ จำนวน 120 คน ร้อยละ 13.92 ไข่พยาธิตัวตืด จำนวน 18 คน ร้อยละ 2.08 และพยาธิใบไม้ลำไส้ 8 คน ร้อยละ 0.92 คน จะเห็นได้ว่าจากผลการรณรงค์ตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับในปี 2559 ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามัคคี ยังมีอัตราความชุกของโรคยังสูง ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้สนใจศึกษาความรู้และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับ ในเขตพื้นที่รับผิดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามัคคี อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไข ดำเนินการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ เพื่อลดอัตราความชุกของพยาธิใบไม้ตับของประชาชนตำบลสามัคคีอำเภอร่องคำจั งหวัดกาฬสินธุ์  
วัตถุประสงค์ : 1. วัตถุประสงค์ทั่วไป 1.1เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับ ในเขตพื้นที่รับผิดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามัคคี อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. วัตถุประสงค์เฉพาะ 2.1.เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรของผู้ที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับในเขตพื้นที่รับผิด ชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามัคคี อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2.2.เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับของผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามัคคี อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนผู้ที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับ จำนวน 120 คน จาก 15 หมู่บ้าน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามัคคี อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : แบบสัมภาษณ์ (Interviews) ที่พัฒนาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร ตารา งานวิจัย ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดจนสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ลักษณะทางประชากร ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ การได้รับ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับ การเคยได้รับการตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับ เคยตรวจพบพยาธิ ใบไม้ตับ การเคยรับรักษา การซื้อยาฆ่าพยาธิใบไม้ตับมารับประทาน แหล่งน้ำในชุมชน การรับประทาน ปลาในแหล่งน้ำชุมชน มีญาติป่วยเป็นมะเร็งท่อน้ำดี โดยแบบสัมภาษณ์เป็นคำถามแบบเลือกตอบและเติมคำ จำนวน 13 ข้อ ส่วนที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับ ลักษณะคำถามให้กาเครื่องหมาย ( ) ในช่องคำตอบที่เห็นว่าถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ซึ่งเป็นคำถามเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับ อาทิ สาเหตุ อาการ การป้องกันการเกิดโรค จำนวน 15 ข้อ โดยมีเกณฑ์ให้คะแนนดังนี้ ตอบถูกให้ 1 คะแนน ตอบผิดให้ 0 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 15 คะแนนการจัดระดับความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับ จัดโดยอิงเกณฑ์ (อ้างใน วรพจน์ พรหมสัตยพรต, 2544) ดังนี้ มีความรู้ระดับดี หมายถึง คะแนนความรู้ร้อยละ 80 ขึ้นไป ( 12 –15 คะแนน ) มีความรู้ระดับปานกลาง หมายถึง คะแนนความรู้ร้อยละ 60–79 ( 9 – 11 คะแนน) มีความรู้ระดับต้องปรับปรุง หมายถึง คะแนนความรู้ต่ำกว่าร้อยละ 60 ( 0 – 8 คะแนน ) ส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดโรคพยาธิใบไม้ตับ เป็นคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ เป็นการวัดโดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ลักษณะคำถามเป็นคำถามปลายปิด ( Close Ended Question ) มีคำถามให้เลือก 3 ตัวเลือก ผู้ถูกสอบถามจะเลือกคำตอบด้วยการตัดสินใจเพียงคำตอบเดียว จำนวน 10 ข้อ และมีรายละเอียด คือ ปฏิบัติเป็นประจำ หมายถึง มีการปฏิบัติเป็นประจำในข้อความนั้นๆ ปฏิบัติบางครั้ง หมายถึง มีการปฏิบัติในข้อความนั้นบางครั้ง ไม่เคยปฏิบัติ หมายถึง มีการปฏิบัติในข้อความนั้นเลย โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้ การปฏิบัติเป็นประจำ ให้คะแนนความเสี่ยง 3 คะแนน การปฏิบัติเป็นบางครั้ง ให้คะแนนความเสี่ยง 2 คะแนน ไม่เคยปฏิบัติ ให้คะแนนความเสี่ยง 1 คะแนน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. การเก็บและรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1.1. ประสานงานกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามัคคี เพื่ออนุญาตดำเนินการศึกษา 1.2. ประสานงานกับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบตำบลสามัคคี เพื่อช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น 1.3. ผู้ทำการศึกษาใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง และตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูลก่อนออกจากผู้ให้การตอบแบบสอบถาม 1.4. ผู้ศึกษาจะนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความสมบูรณ์และความถูกต้อง แล้วให้คะแนนตามเกณฑ์ที่ทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป 2. การวิเคราะห์ข้อมูล 2.1. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทั้งหมด 2.2. ลงรหัสข้อมูลในแบบสอบถาม ตามคู่มือการลงรหัสที่ได้จัดทำขึ้น 2.3. นำข้อมูลการลงรหัส มาบันทึกในคอมพิวเตอร์ 2.4. ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง