|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ประสิทธิผลของโปรมแกรมการดื่มชาหนานเฉาเหว่ยเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานบ้านหัวขวา ตำบลหลักเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
กรทิพย์ พันธ์ภูทอง |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องการการจัดการดูแลอย่างต่อเนื่องผู้เป็นเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมโรคมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบหลอดเลือดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทำให้เกิดภาวะไตวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตาบอด เป็นแผลเรื้อรังที่เท้าจนลุกลามถึงต้องตัดเท้าหรือขา ติดเชื้อง่าย เป็นต้น1 ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้เป็นเบาหวานโดยตรง ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีผลให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติซึ่งอาจเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจนส่งผลกระทบต่อครอบครัว ทำให้บทบาทหน้าที่ในครอบครัวเปลี่ยนแปลงกิจกรรมต่างๆในครอบครัวที่สมาชิกในครอบครัวเคยทำร่วมกันลดลง ผลกระทบต่อชุมชนและสังคม และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ2
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบึง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเป้าหมายในการรักษาโรคเบาหวานคือ การควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ หรือใกล้เคียงปกติมากที่สุดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การจัดการดูแลตนเองที่ประสบผลสำเร็จต้อง สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยนำสมุนไพรจีน หนานเฉาเหว่ย ใบมีรสขมจัด ใช้ต้มกับน้ำแล้วดื่ม ตำรายาจีนระบุว่า สามารถแก้อาการของโรคเกาต์ลดความดันโลหิตสูงและช่วยลดเบาหวานได้3 วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรมแกรมการดื่มชาหนานเฉาเหว่ยเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน โดยมี เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน คนในครอบครัว ร่วมติดตามเยี่ยมให้คำแนะนำและให้กำลังใจ และคาดว่าผลจากโปรแกรมการดื่มชาหนานเฉาเหว่ยจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานให้อยู่ในระดับปกติ หรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาโปรมแกรมการดื่มชาหนานเฉาเหว่ยเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยเบาหวานบ้านหัวขวา ที่รับยากับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบึง ตำบลหลักเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดเกิน 155 mg/dl ติดต่อกัน 3 เดือน จำนวน 20 คน |
|
เครื่องมือ : |
1 โปรมแกรมการดื่มชาหนานเฉาเหว่ยเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน
2 ให้ผู้ป่วยเบาหวาน ชงชาหนานเฉาเหว่ย 2 กรัม/ซอง |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง โดยมีรูปแบบเป็นการทดลองกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการ ทดลอง (One-group pre-test post-test experiment) กลุ่มทดลอง จํานวน 20 คน โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ได้คัดเลือกประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานบ้านหัวขวา ที่รับยากับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบึง ตำบลหลักเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดเกิน 155 mg/dl ติดต่อกัน 3 เดือน จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 โปรมแกรมการดื่มชาหนานเฉาเหว่ยเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน กิจกรรมที่ 2 ให้ผู้ป่วยเบาหวาน ชงชาหนานเฉาเหว่ย 2 กรัม/ซอง แช่ในน้ำร้อน 5-10 นาที ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ ก่อนอาหารเช้าและอาหารเย็น เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และลดลงเป็นการดื่มชาหนานเฉาเหว่ย เป็นวันเว้นวันในสัปดาห์ที่ 2 เพื่อเป็นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และส่วนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นการวัดตัวแปรที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป และแบบบันทึกโปรมแกรมการดื่มชาหนานเฉาเหว่ย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ paired t-test |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ผลการศึกษาโปรมแกรมการดื่มชาหนานเฉาเหว่ย เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานบ้านหัวขวา ตำบลหลักเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโปรมแกรมการดื่มชาหนานเฉาเหว่ย มีผลระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 125 mg/dl จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 65 มีผลระดับน้ำตาลในเลือด 126 - 154 mg/dl จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 30 และมีผลระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 155 mg/dl จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 5 ซึ่งพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < ๐.๐๐๕) แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยเบาหวานบ้านหัวขวาที่เข้าร่วมโปรมแกรมการดื่มชาหนานเฉาเหว่ย มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง |
|
ข้อเสนอแนะ : |
1.ควรมีการจัดทำวิจัยเกี่ยวกับสรรพคุณของหนานเฉาเหว่ยที่ชัดเจน เพื่อความน่าเชื่อถือในการนำไปพัฒนา
ประยุกต์ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในอนาคต
2. ไม่แนะนำให้ทานต่อเนื่องนานๆ ถึงแม้ยังไม่ทราบวิธีรับประทานที่แน่นอนชัดเจน แต่ควรมีช่วงหยุดพักบ้าง เนื่องจากไม่มีข้อมูลความปลอดภัยในระยะยาว
3. ไม่แนะนำให้ใช้ในรายที่คุมความดัน คุมน้ำตาลได้ดีอยู่แล้ว หรือเสี่ยงน้ำตาลต่ำ ความดันต่ำ
4. ไม่แนะนำให้ใช้ในรายที่ตับไตผิดปกติขั้นรุนแรง ไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์
5. ไม่แนะนำให้หยุดการรักษาแผนปัจจุบัน เพราะโรคเบาหวานความดัน ยังต้องอาศัยการตรวจจากแพทย์ และเครื่องมือตรวจเลือด ถึงโรคแทรกซ้อนต่างๆ
6. ควรมั่นใจว่าการปลูกไม่มีสารพิษ หรือสารเคมีเจือปน หรือตกค้าง
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|