|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของผู้นำครอบครัวตำบลหลักเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
นางสาวกรทิพย์ พันธ์ภูทอง |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคพยาธิใบไม้ตับยังคงเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะ ประเทศไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา (บรรจบ ศรีภา,2550) อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ปี 2560 ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดการคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีเป็นยุทธศาสตร์ของ CUP มีการดำเนินการคัดกรองพยาธิใบไม้ตับในประชาชนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป และพบว่าตำบลนาฝายเป็นตำบลที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากที่สุด เพราะเป็นพื้นที่ไหลผ่านของแม่น้ำชี ประชากรประกอบอาชีพประมงน้ำจืด และมีพฤติกรรมการบริโภคปลาน้ำจืดแบบสุกๆดิบๆ แนวทางการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับที่เคยใช้ส่วนใหญ่จะเป็นการอบรมให้ความรู้อย่างเดียว ขาดการติดตามและการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาหาแนวทางในการเข้าถึงผู้นำครอบครัวให้มากขึ้น จึงหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหาร เพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชน ตำบลนาฝาย โดยการนำแนวคิดทฤษฎีการเสริมสร้างพลังอำนาจทั้ง 4 ขั้นตอนมาประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อสร้างพลังเสริมความมั่นใจให้กับผู้นำครอบครัว ให้กล้าแสดงความคิดเห็นและมีพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับร่วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมโดยมี เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ร่วมออกติดตามเยี่ยมให้คำแนะนำและให้กำลังใจ และคาดว่าผลจากโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับนี้จะลดอัตราการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับได้ |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของผู้นำครอบครัว ตำบลหลักเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้นำครอบครัวทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 25 - 50 ปี ตำบลหลักเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีคุณสมบัติคือ 1.)เป็นครอบครัวที่ประกอบอาหารรับประทานเอง อย่างน้อย 4 ครั้ง/สัปดาห์ 2.) สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติติดเชื้อ พยาธิใบไม้ตับหรือมีญาติสายตรงเคยเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี หรือมีสมาชิกในครัวเรือนมีภาวะเสี่ยงจากแบบคัดกรอง และ 3.) ไม่มีโรคประจำตัวอันจะก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการเข้าร่วมโครงการ
กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน |
|
เครื่องมือ : |
1.โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ
2.แบบทดสอบนความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับ แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับ และแบบสอบถามพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
1.) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับของผู้นำครอบครัว ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ฯสูงกว่ากลุ่มเปรียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.01,95%CI:3.45-5.21) 2.) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับของผู้นำครอบครัว พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนทัศนคติฯสูงกว่ากลุ่มเปรียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.01,95%CI:2.38-4.59) และ 3.) การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของผู้นำครอบครัว พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมฯสูงกว่ากลุ่มเปรียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.01,95%CI:6.24-10.82) |
|
ข้อเสนอแนะ : |
ข้อเสนอแนะ
1.) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ ควรเน้นให้เกิดการฝึกปฏิบัติเนื่องจากพบว่าผู้นำครอบครัวให้ความสนใจในการฝึกปฏิบัติมากกว่าการนั่ง ฟังบรรยายทั่วไป
2.) การจัดกิจกรรมที่เน้นให้ผู้นำครอบครัวมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในขั้นตอนต่างๆจะทำให้ทราบสภาพปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของผู้นำครอบครัว สามารถที่จะวางแผนหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาและนำมาปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นหน่วยงานอื่นหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่มีลักษณะคล้ายกันนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มอื่นๆ ในสถานบริการสาธารณสุขต่อไปได้
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|