ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2561
ผู้แต่ง : ลือชัย พันธุภา ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ป้องกันได้ โดยประชาชนจะต้องดูแลตนเองด้วยการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และควบคุมความเครียด นอกจากนี้ประชาชนยังต้องป้องกันตนเอง ด้วยการตรวจสุขภาพเป็นประจำด้วยการวัดความดันโลหิตและการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดซึ่ง ถือเป็นวิธีการที่สำคัญอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังสุขภาพของตนเองไม่ให้เกิดโรคและลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ยังเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวและของประเทศ ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อตรวจคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในประชากรกลุ่มเสี่ยง 2. เพื่อป้องกัน และ ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 3. เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรในพื้นที่รับผิดชอบสถานีอนามัยบ้านหนองแซง ตำบลนาตาล อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป  
เครื่องมือ : แบบคัดกรองกลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นเตรียมการ 1. นำแผนงานโครงการที่ได้จากการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์เข้าเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเทศบาลตำบลนาตาลเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 2. สำรวจข้อมูลประชากร อายุ 35 ปีขึ้นไป ในชุมชน 3. เขียนโครงการ/แผนงานโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ ขั้นดำเนินการ 1. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่ อาสาสมัครสาธารณสุข 2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ชุมชนทราบ 3. ให้ความรู้ แก่แกนนำครอบครัว และประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปเรื่อง - โรคความดันโลหิตสูง - โรคเบาหวาน 4. ให้บริการตรวจสุขภาพแก่ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในหมู่ที่4,6,7,8,9,10,11,13 และ 14 โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม.ดังนี้ 5. ติดตามประเมินซ้ำในประชาชนที่มีภาวะเบาหวาน และความดันโลหิตสูง 6. ส่งต่อเพื่อการตรวจรักษาที่ถูกต้อง 7. ติดตามเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพ และนัดติดตามผลการตรวจรักษาของแพทย์ 8. สรุป รวบรวมผลการดำเนินงาน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง