ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเทศบาลตำบลนาตาล ปีงบประมาณ 2561
ผู้แต่ง : กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเทศบาลตำบลนาตาล ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : โรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ จากสถานการณ์ของโรคนี้ในอดีตที่ผ่านมา พบว่าลักษณะการระบาดของโรคมักจะระบาดปีเว้นปีหรือปีเว้น 2 ปี และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับจังหวัดกาฬสินธุ์โรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ที่จะต้องเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีอัตราป่วยเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานเกือบทุกปี ( อัตราป่วยไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร และอัตราป่วยตายไม่เกิน 0.15 ต่อแสนประชากร) ในปัจจุบันผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เป็นเด็กที่มีอายุระหว่าง 5-14 ปี ซึ่งอยู่ในวัยเรียน และจะกระจายไปทุกกลุ่มอายุในปัจจุบัน ปัญหาการเกิดโรคในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นปัญหามากที่จะต้องเร่งแก้ไขโดยด่วนเนื่องจากมีผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงการสูญเสียงบประมาณของทางราชการโดยไม่จำเป็นเพื่อการควบคุมโรคดังกล่าว ซึ่งการดำเนินงานด้านการป้องกันและควบคุมโรคต้องพึ่งพาอาศัยหน่วยงานที่สำคัญอย่างน้อย 2 หน่วยงานกล่าวคือ หน่วยงานทางราชการที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ปฏิบัติงาน โดยมีกฎระเบียบวินัยและนโยบายของรัฐเป็นแนวทางดำเนินการ ซึ่งที่ผ่านมารัฐจะเป็นผู้มีบทบาทดำเนินงานเป็นส่วนใหญ่ อีกหน่วยหนึ่งก็คือส่วนของประชาชนที่ต้องกระทำตามคำสั่ง คำขอของทางราชการ ซึ่งไม่มีอิสระในการคิดหรือการมีส่วนร่วมในการดำเนินการใดๆ บางครั้งต้องยอมรับในสิ่งที่ไม่จำเป็นหรือไม่ตรงกับความต้องการ จากเดิมการดำเนินงานที่เคยเป็นผู้ดำเนินการฝ่ายเดียว ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ผลปรากฏให้เห็นชัดว่าประสบผลสำเร็จในเกือบจะทุกโครงการ เพราะฉะนั้นการดำเนินงานใดๆ ก็ตามต้องอาศัยความร่วมมือ การเข้ามามีส่วนร่วมและการเป็นเจ้าของของประชาชนแทบทั้งสิ้น ดังนั้นการจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องทุกปี จึงมีความสำคัญ เพื่อจะได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคไข้เลือดออก 2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 3. เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในโครงการ  
กลุ่มเป้าหมาย : - อสม. / ผู้นำชุมชน / เทศบาลตำบลนาตาล / รพ.สต.บ้านหนองแซง - ประชาชนทั่วไป  
เครื่องมือ : แบบสำหรวจค่า HI, CI  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. จัดอบรมและมอบหมายหน้าที่ในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย 2. ประชาสัมพันธ์โครงการ 3. ทีม อสม.ร่วมกับคนในหมู่บ้านร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง 4. แต่งตั้งทีมคณะกรรมการออกสุมประเมินหมู่บ้านเดือนละ 1 ครั้ง 5. ผลการประเมินหมู่บ้านป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง