ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลกมลาไสย
ผู้แต่ง : พรรษณภัทร สุทธิบาก*ขนิษฐิญา เล็กสมบูรณ์**วาสนา นาชัยเริ่ม***หนูแดง จันทอุปฬี ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : โรคอัมพาต หรือ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก ปัจจุบันประชากรทั่วโลก ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 17 ล้านคน เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 6.5 ล้านคน และมีชีวิตรอดจากโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 26 ล้านคน ซึ่งผู้ที่มีชีวิตรอดจากโรคหลอดเลือดสมอง จำนวนมากได้รับผลกระทบทั้งทางด้านสภาพร่างกาย จิตใจ สังคม รวมถึงความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ สำหรับในประเทศไทย พบว่าอัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองต่อประชากรแสนคน ในภาพรวม ของประเทศในปี 2556-2558 เท่ากับ 36.13, 38.66 และ 42.62 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าอัตราการตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้อัตราผู้ป่วยในด้วยโรคหลอดเลือดสมองต่อประชากรแสนคน ในภาพรวมของประเทศ ในปี 2557 เท่ากับ352.30 ข้อมูลจากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ.2556 รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2556 พบว่าโรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการตายของประชาชนไทยในเพศชายเป็นอันดับที่ 1 ร้อยละ 11.1 เพศหญิงอันดับที่ 1 ร้อยละ 14.5 และการสูญเสียปีสุขภาวะของประชากรไทยในเพศชายเป็นอันดับที่ ๓ คิดเป็นร้อยละ 6.9 เพศหญิงอันดับที่ 1 ร้อยละ 8.2 คนไทยเสียปีสุขภาวะจากโรคหลอดเลือดสมองประมาณปีละ 792,000 ปี ซึ่งในปี พ.ศ.25511ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 1629 บาทต่อราย ส่วนผู้ป่วยในค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ย129,571 บาทต่อราย รวมค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้น 2,9731ล้านบาทต่อปี หากคนไทยป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง รวม 5 แสนคน/ปี มารับบริการที่สถานพยาบาล จะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้นประมาณ 20,632 ล้านบาท/ปีข้อมูลจากสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สถิติผู้ป่วยจากโรคหลอดเลือดสมอง มารับบริการที่โรงพยาบาลกมลาไสย ใน พ.ศ.2558-2560ในผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 124, 113 และ115ราย เสียชีวิต7, 10 และ13 รายและปี 2560 แยกเป็นIschemic stroke 107รายHeamorrhagic stroke 8 รายตามลำดับ พบว่าHeamorrhagic strokeมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 12.5 ปัญหาที่พบในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลกมลาไสยคือเวลาในการประเมินผู้ป่วยที่เข้าถึงยังใช้เวลาจากการบันทึกเวชระเบียนไม่ได้ใช้เวลาที่มาถึงห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินและการคัดกรองผู้ป่วยที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉินยังล่าช้าในการรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อให้การวินิจฉัย ในการส่งต่อผู้ป่วยไปทำ CT SCANในรายที่สงสัยว่ามีHeamorrhageยังมีปัญหาการรอผลวินิจฉัย และก่อนปี 2560ไม่มีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยร่วมกันทั้งทีมสหวิชาชีพ ไม่มี CARE MAPS ที่ใช้ในการสื่อสารการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน และภายหลังจากการจำหน่ายผู้ป่วยมีเฉพาะนักกายภาพบำบัดที่ติดตามประเมินอาการผู้ป่วยที่บ้านแต่ยังมีบางรายที่แพทย์นัด f/u ก็ไม่กลับมาตรวจประเมินตามนัด และบางรายที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องโดยนักกายภาพบำบัดแต่ไม่เคยเจอนักกายภาพบำบัดทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและความพิการตามมานอกจากนั้นระบบเดิมยังไม่มีความชัดเจนในด้านการประสานการทำงานร่วมกันของแพทย์ทางเลือกเพื่อประเมินและดูแลผู้ป่วยร่วมกันจากปัญหาดังกล่าวทีมสหวิชาชีพจึงมีมติในที่ประชุมร่วมกันจัดตั้งคลินิกโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองโดยแพทย์ผู้จัดการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานงานระหว่างผู้ป่วยกับทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตลอดระยะเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจนกระทั่งจำหน่ายกลับบ้าน และกลับมา f/u ตามนัดที่คลินิกหลอดเลือดสมอง โดยใช้แผนการดูแลผู้ป่วยตาม Clinical pathwayและแนวทางการดูแลผู้ป่วยของแต่ละวิชาชีพเป็นเครื่องมือ ในการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดูแลคงไว้ซึ่งคุณภาพและลดระยะเวลารอคอย ลดค่าใช้จ่าย ลดจำนวนวันนอนลง  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลกมลาไสย 2. เพื่อศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลกมลาไสย  
กลุ่มเป้าหมาย :  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ระยะที่ 1 ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะที่ 2 ระยะดำเนินการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระยะที่ 3 ระยะการนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสู่การปฏิบัติ ระยะที่4 ระยะประเมินผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองใช้วิธีการประเมินผล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง