|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การใช้สารเคมีและตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดตำบลหนองช้าง |
ผู้แต่ง : |
ทัศพร โยธานันท์ |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
สารเคมีศัตรูพืชกำจัดสามารถทำอันตรายต่อร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใดและปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆออกมาเช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น
ตำบลหนองช้างเป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมโดยมีพื้นที่ ที่ใช้ในการเกษตร ถึงร้อยละ๘๐ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบไปด้วย การทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย และพืชล้มลุกทางการเกษตรอีกหลายชนิด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูง จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าเกษตรกรในเขตตำบลหนองช้าง ยังคงมีการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้น ได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ ขาดการป้องกันที่ถูกต้อง
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจาน ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงได้จัดทำโครงการอบรมเกษตรกรในการใช้สารเคมีและตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดขึ้น เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ตำบลหนองช้างได้รับการตรวจเจาะเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดว่าอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป |
|
วัตถุประสงค์ : |
๒.๑เพื่อให้เกษตรกรในตำบลหนองช้างได้มีความรู้และวิธีการป้องกันตนเองจากสารเคมี
๒.๒ เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีได้รับการตรวจเลือดหาสารเคมีตกค้าง ร้อยละ ๖o |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงการใช้สารเคมีในพื้นที่ตำบลหนองช้างจำนวน๒๒๐คน |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
๔.๑ประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
๔.๒จัดทำแผนงานโครงการเพื่อขอรับการอนุมัติ
๔.๓จัดการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้นัดวันเวลาและสถานที่ในการตรวจ
๔.๔จัดอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรในตำบลหนองช้าง
๔.๕เตรียมอุปกรณ์ในการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด
๔.๖ดำเนินการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด
๔.๗ติดตามประเมินผล |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|