ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลนาบอน
ผู้แต่ง : ชลันดา ดุลการณ์ ,จันทรา โพธิ์หมุด, มี่ เหมกุล ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงคุกคามชีวิตคือ การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก ทำให้ไม่มีการตื่นตัวในการร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้ อาจเนื่องจากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุมถึงทุกครัวเรือน ดังนั้น การสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก จะช่วยทำให้การควบคุมและป้องกันโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อำเภอคำม่วง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ในปี ๒๕58 - ๒559 เท่ากับ 443.42 และ 400.63 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ และในตำบลนาบอน เป็นพื้นที่หนึ่งในอำเภอคำม่วง ที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปี 2558 พบผู้ป่วย 4 ราย คิดเป็น 58.68 ต่อแสนประชากร ปี 2559 พบ 3 ราย 42.10 ต่อแสนประชากร และในปี 2560 พบผู้ป่วย 6 ราย 85.36 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้ป่วยตาย จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยยังมีแนวโนม้ที่จะเพิ่มขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม – กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร่วมกับโรงพยาบาส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนนาบอนจึงเล็งเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกจึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลนาบอน ในปีงบประมาณ ๒๕61  
วัตถุประสงค์ : ๑.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ให้เหลือไม่เกิน ๕๐ คนต่อแสนประชากร ๒.เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนชุมชน ๓ .เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม ๔. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ๕. ทำให้สามารถลดความชุกของยุงลาย  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนตำบลนาบอน 11 หมู่บ้าน  
เครื่องมือ : แบบสอบถามความพึงพอใจ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ช่วงที่ ๑ กิจกรรมการรณรงค์ ๑. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทุกวันศุกร์ ๒. รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยวิธี ๒.๑ ทางกายภาพ รณรงค์ให้ชุมชนรวมกับโรงเรียน ร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนและโรงเรียน ๒.๒ ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน, วัด และโรงเรียน โดย อสม. และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายทุกหมู่บ้านทุกหลังคาเรือน ๒.๓ ทางชีวภาพ สนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง เช่น ตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ๓. ติดตาม ประเมินผลไข้วแต่ละหมู่บ้านโดยคณะกรรมการระดับตำบล ช่วงที่ ๒ กิจกรรมกรณีมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ๑. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทุกวันศุกร์ ๒. พ่นหมอกควันในรัสมี ๑๐๐ เมตร รอบบริเวณที่มีการระบาด ๓. ใส่ทรายอะเบทในทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านที่มีการระบาด ๔. สำรวจลูกน้ำยุงลายทุกวันและทุกหลังคาในสัปดาห์ที่ ๑ ที่พบการระบาดของโรคไข้เลือดออก  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง