|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของการนวดกระตุ้นน้ำนมในหญิงหลังคลอดปี 2561 |
ผู้แต่ง : |
กัมปนาท คำหงศ์สา และคณะ |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากปัญหาการตึงคัดเต้านมของมารดาหลังคลอดและปัญหามารดาหลังคลอดน้ำนมมาน้อย ทําให้เจ็บปวดไม่สบายตัวและน้ำนมไม่เพียงพอต่อการให้นมลูก เป็นอุปสรรคต่อการให้นมลูก ทําให้มารดาหลังคลอดบางท่านหลีกเลี่ยงการนำลูกเข้าเต้า และถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้แก้ไขจะทำให้น้ำนมหด น้ำนมไม่มา จะส่งผลให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ประสบความสําเร็จ
ปัญหาและสาเหตุ : การดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก เป็นการดูแลตั้งแต่ระยะฝากครรภ์จนกระทั่งคลอดฟื้นฟูสุขภาพของแม่ให้สมบูรณ์แข็งแรงสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน งานแพทย์แผนไทยจึงเป็นส่วนหนึ่งในส่งเสริมการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยโดยให้ความรู้การปฏิบัติตนระยะตั้งครรภ์จนถึงระยะหลังคลอด ให้บริการทับหม้อเกลือเพื่อฟื้นฟูสมดุลร่างกายและจิตใจให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข และได้พัฒนาติดตามเยี่ยมหญิงหลังคลอดในเขตรับผิดชอบ พบว่า มารดาส่วนหนึ่งต้องเลี้ยงลูกด้วยนมผสมจากการเยี่ยมคลอดและสอบถามสาเหตุเกิดจากการคัดเต้านมของแม่หลังคลอดระยะวันแรกๆมักพบปัญหาปวดเต้านม ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการให้นมบุตร ทำให้แม่ไม่อยากให้ลูกดูดนม แล้วปล่อยเต้านมทิ้ง ไว้นาน จนในที่สุดมีอาการคัดเต้านมเกิดการอักเสบซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกไม่ประสบผลสำเร็จอย่างน้อย 6 เดือน ผลสำรวจข้อมูลย้อนหลังพบว่าปัญหาส่วนหนึ่งขึ้นกับมารดาคลอดบุตรคนแรก ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กรกฎาคม 2561 จำนวนทั้งหมด 59 ราย พบว่า 28 ราย ที่พบในวันแรกๆน้ำนมยังไม่มาและอีก 3 ราย มีปัญหาคัดตึงเต้านม ให้นมบุตรได้ไม่เต็มที่ตลอดทั้งการให้นมบุตรในท่าที่ไม่เหมาะสม วิธีดูดนมไม่ถูกต้อง บางรายหัวนมแตก หัวนมบอด ลานนมแข็งกดเจ็บและพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากมารดาหลังคลอดอายุยังน้อย
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อกระตุ้นน้ำนมมารดาหลังคลอด
2. เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมารดา
3. เพื่อลดปัญหาอาการอักเสบปวดคัดเต้านมและกระตุ้นการไหลของน้ำนมมารดา
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
มารดาหลังคลอดที่มาคลอดในโรงพยาบาลห้วยผึ้งทุกราย |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
: 1. ประชุมทีมงานแพทย์แผนไทย หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนวดเพื่อกระตุ้นน้ำนมมารดา หลังคลอด และศึกษากลไกการหลั่งน้ำนม
2. ประสานงานกับสูติกรรมหลังคลอดในการดำเนินงานดูแลมารดาหลังคลอด
3. แนวทางตรวจประเมินและวางแผนการรักษา
3.1 ตรวจประเมินเต้านมและการไหลของน้ำนมมารดาหลังคลอด
3.2 นวดกระตุ้นน้ำนม ประคบเต้านมด้วยลูกประคบสมุนไพร ให้สุขศึกษาเกี่ยวกับอาหารสมุนไพรบำรุงน้ำนม และแนะนำการปฏิบัติตัวในมารดาหลังคลอด
4. สรุปผลการดำเนินงาน
ประโยชน์และการนำไปใช้ : 1.ลดปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมกลุ่มที่พบปัญหา
2.ลดปัญหาอาการปวดอักเสบเต้านมคัดท่อน้ำนมอุดตันในวันแรกๆ
3.ช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำนมมารดา
4.นำศาสตร์การแพทย์แผนไทยมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมและไม่เกิดอันตราย
5.เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบผลสำเร็จในกลุ่มที่พบปัญหา
การดำเนินงาน : ระยะเวลาตั้งแต่แรกรับแม่หลังคลอดที่มีปัญหาการคัดเต้านมจนกระทั่งได้รับการนวดประคบเต้านม ใช้เวลา ครั้งละ 15 นาทีต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 3 วันต่อมาเริ่มปรับรูปแบบการทำในวันที่ 2 โดยให้แม่หรือผู้ดูแลมีส่วนร่วมเป็นผู้ช่วยทำโดยการใช้มือนวดเต้าเองแล้วประคบเต้าตามความพอใจและให้ลูกดูดนมแทนในวันต่อมา
การวัดผล : ร้อยละของมารดาหลังคลอดที่น้ำนมไหลดีหลังนวดกระตุ้น
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
1. ผลในการนวดและประคบเต้านมมารดาหลังคลอดในกลุ่มที่มีปัญหาปวดคัดตึงเต้านม 3 ราย ประสบผลสำเร็จคิดเป็น ร้อยละ 100
2. ผลในการนวดและประคบเต้านมมารดาหลังคลอดในกลุ่มที่มีปัญหาน้ำนมไม่มา 28 ราย ประสบผลสำเร็จคิดเป็น ร้อยละ 100
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
หลังจากที่ได้นวดและประคบเต้านมการปวดคัดตึงเต้านมลดลง การไหลของน้ำนมดีขึ้น มารดาหลังคลอดมีความพึงพอใจและได้นำความรู้ที่มอบให้ไปใช้อย่างต่อเนื่องทำให้บุคคลากรมีความภาคภูมิใจที่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ตลอดทั้งทำให้เกิดความรักความผูกพัน มีความสุขขณะให้นมบุตร จิตใจแจ่มใส บุตรสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ประสบผลสำเร็จ ลดปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำนมมารดาให้ไหลสะดวกเพียงพอต่อการเลี้ยงบุตร |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|