ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
ผู้แต่ง : รื่นฤดี พงษ์โพธิ์ชัย ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ผู้ป่วยโรคจิตเวชมักมีการดำเนินโรคเรื้อรัง และกลับมีอาการกำเริบซ้ำบ่อย ซึ่งส่งผล กระทบต่อความรุนแรงของอาการมากขึ้น อาการเรื้อรังไม่หายขาด และยังพบปัญหาด้านอารมณ์ พฤติดรรมที่ส่งผลเสีย ต่อชีวิตของผู้ป่วย ญาติ ชุมชน/ ในเขต อ.ห้วยผึ้ง มีผู้ป่วยจิตเวชมีอาการกำเริบ จนต้องเข้ารับการรักษาที่รพ.จิตเวช จากการเก็บข้อมูลปี 58 จำนวน 5 ราย ปี59 จำนวน 6 ราย และมีCase ที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชน จำนวน 3 ราย สาเหตุหนึ่ง จากการได้รับยาไม่ต่อเนื่อง ไม่มีผู้ดูแล หรือผู้ดูแลไม่มีศักยภาพเพียงพอ  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่อง 2. เพื่อลดอาการกำเริบ และลดการเข้ารับการรักษานอนโรงพยาบาล 3. เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และลดภาระของญาติ  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคจิตเวชทุกราย  
เครื่องมือ : ตัวชี้วัด 1. ผู้ป่วยได้รับอย่างต่อเนื่อง 2. ผู้ป่วยไม่มีอาการกำเริบ จนต้องส่งต่อ หรือรับการรักษา นอนโรงพยาบาล  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยทุกเดือน เพื่อประเมินและเฝ้าระวังอาการกำเริบ 2. ติดตามการรับยาอย่างต่อเนื่อง 3. สนับสนุนให้ญาติมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วย ทั้งด้านการกินยา และส่งเสริมทักษะการดำเนินชีวิต 4. ประเมินผลการดูแล  
     
ผลการศึกษา : จากการเยี่ยมบ้านและติดตามผู้ป่วยทุกเดือน พบว่าปี 58 จำนวนผู้ป่วย 5 ราย ไม่มีอาการกำเริบ ไม่ได้รับการ Admitted ซ้ำ และได้รับยาต่อเนื่อง , ปี59จากจำนวนผู้ป่วย 9 ราย ผู้ป่วย 6 รายได้รับยาต่อเนื่อง ได้รับการดูแลจากญาติ ไม่มีอาการกำเริบ , ผู้ป่วยจำนวน 3 ราย รับที่โรงพยาบาล แต่ยังมีปัญหาทานยาไม่ต่อเนื่อง เลือกทานยาบางตัว ทำให้มีอาการกำเริบ หูแว่ว ประสาทหลอน โวยวาย สาเหตุจากไม่มีญาติ หรือญาติมีศักยภาพไม่เพียงพอ  
ข้อเสนอแนะ : ผู้ป่วยจำนวน 3 ราย ต้องอยู่คนเดียว หรือญาติขาดศักยภาพ เกิดปัญหาเรื่องการทานยา ส่งผลกระทบต่อ ผู้ป่วยครอบครัว ชุมชน จึงต้องมีการปรับระบบใหม่ในปีงบ 2560(เริ่ม พย.59) โดยให้ครอบครัว ชุมชน มีส่วนร่วมมากขึ้น และพบว่าปี 2560 มีผู้ป่วยที่มีปัญหาคล้ายกันจำนวน 2 ราย  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)