|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6 โรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
ภัสธิรา อรุณปรีย์ |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัญหาทางสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาทางสาธารณสุขสำคัญที่ทำลายสุขภาพของประชาชน โดยโรคในช่องปากที่พบมากและเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับแรกในวัยเรียนคือ โรคฟันผุ จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 พ.ศ.2555 การสำรวจสภาวะโรคฟันผุในกลุ่มอายุ 12 ปี ระดับประเทศ พบว่ามีฟันแท้ผุ ร้อยละ 52.3 มีค่าเฉลี่ย ฟันผุ อุด ถอน (DMFT) เท่ากับ 1.3 ซี่ต่อคน ทั้งนี้ฟันที่ผุส่วนใหญ่ที่ยังไม่ได้รับการรักษาคิดเป็นร้อยละ 29.1 (สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2555 : 36) ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่ามีฟันแท้ผุ ร้อยละ 56.9 มีค่าเฉลี่ย ฟันผุ อุด ถอน (DMFT) เท่ากับ 1.8 ซี่ต่อคน (สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2555 : 36) ทั้งนี้กลุ่มอายุ 12 ปี ถือเป็นกลุ่มสำคัญทาง ระบาดวิทยา เนื่องจากเป็นอายุที่มีฟันแท้ขึ้นครบ 28 ซี่ในช่องปาก ซึ่งอัตราการเกิดโรคฟันผุในวัยนี้จะใช้เพื่อทำนายแนวโน้มการเกิดโรคฟันผุในวัยผู้ใหญ่
จากผลการสำรวจนักเรียนโรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ในปีการศึกษา 2558 พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (อายุ 12 ปี) มีปัญหาสุขภาพช่องปากมากกว่าทุกระดับชั้น โดยมีปัญหาโรคฟันผุ ร้อยละ 64.54 มีค่าเฉลี่ย ฟันผุ อุด ถอน (DMFT) เท่ากับ 2.1 ซี่ต่อคน ซึ่งมีค่าสูงกว่าทั้งระดับประเทศและระดับภาค จากข้อมูลดังกล่าว พบว่าในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยามีปัญหาโรคฟันผุ ซึ่งนักเรียนระดับชั้นนี้มีอายุประมาณ 12-13 ปี จะมีฟันแท้เป็น 28 ซี่ (ชาตรี หัยกิจโกศล. 2550) เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการขึ้นของฟันแท้ครบทุกซี่ หากไม่มีการส่งเสริมและป้องกันในเรื่องทันตสุขภาพในทางที่ถูกต้องจะทำให้เกิดปัญหาทางด้านทันตสุขภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต นอกจากนั้นในกลุ่มนี้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อจบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาจะได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขก็ค่อนข้างน้อย ผู้ศึกษาจึงสนใจศึกษาเพื่อจะได้ทราบ ความรู้ เจตคติ พฤติกรรม การดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และนำมาใช้ในการวางแผนแก้ไขปัญหาให้ตรงกับสภาพความเป็นจริงอันจะส่งผลให้นักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1.เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์
2.เพื่อศึกษาเจตคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์
3.เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์
4.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
เด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ |
|
เครื่องมือ : |
แบบสอบถามความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. เลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย
2. ศึกษาค้นคว้ารวบรวมความรู้พื้นฐาน และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
3. ให้คำจำกัดความหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย
4. สร้างสมมติฐาน
5. พิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล
6. สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัย
7. การเก็บรวบรวมข้อมูล
8. การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
9. ตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุป
10. การเขียนรายงานการวิจัยและการจัดพิมพ์ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
จากผลการวิจัยพบว่าส่วนของความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียน ซึ่งนักเรียนตอบคำถามถูกน้อยที่สุดคือ ข้อใดกล่าวถูกต้อง (เฉลย : ฟันแท้มี 32 ซี่) ตอบถูกเพียงร้อยละ 63.60 ข้อใดคือสุขภาพช่องปากที่ดี (เฉลย : ตัวฟันไม่มีหินปูนเกาะเลย) ตอบถูกเพียงร้อยละ 63.60 รองลงมา คือ เราควรไปพบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละกี่ครั้ง ตอบถูกเพียงร้อยละ 70 และ ดังนั้นจึงควรจัดกิจกรรมอบรมหรือมีบอร์ดประชาสัมพันธ์ความรู้ให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้น
จากผลการวิจัยพบว่าส่วนของเจตคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียน ซึ่งพบว่าข้อที่ไม่เห็นด้วยน้อยที่สุด คือ นักเรียนคิดว่าฟันผุรักษาไม่ได้ เพียงร้อยละ 2.75 รองลงมาคือ นักเรียนคิดว่าไม่มีจำเป็นต้องไปพบทันตแพทย์ เห็นด้วยร้อยละ 3.7 รองลงมาคือ นักเรียนคิดว่าฟลูออไรด์ช่วยป้องกันฟันผุได้ เห็นด้วยร้อยละ 3.89 ดังนั้นอาจจะต้องมีการรณรงค์ในเรื่องของทันตสุขภาพในเรื่องดังกล่าวให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนเจตคติไปในทางที่ดีขึ้น
จากผลการวิจัยพบว่าส่วนของการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียน นักเรียนที่ปฏิบัติเป็นประจำน้อยที่สุด คือ กินผักผลไม้เป็นประจำ เพียงร้อยละ 8.2 รองลงมาคือ นักเรียนใช้น้ำยาบ้วนปาก ร้อยละ 10.9 รองลงมาคือ นักเรียนตรวจฟันด้วยตนเอง ร้อยละ 12.4 ดังนั้นอาจจะมีการประสานงานกับทางโรงเรียนว่าให้มีมาตรการที่เอื้อต่อการส่งเสริมทันตสุขภาพที่ดี เช่น อาหารกลางวันควรมีผักผลไม้ และมีการอบรมการสอนตรวจฟันด้วยตนเองและการใช้น้ำยาบ้วนปาก ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนลงไปได้ |
|
ข้อเสนอแนะ : |
ควรมุ่งเน้นการปฏิบัติกิจกรรมหรือโครงการด้านทันตสุขภาพในโรงเรียนแบบการเสริมแรงทางบวก ให้ประชากรมีพฤติกรรมที่ดีอย่างต่อเนื่องต่อไป |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|