ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การเฝ้าระวังภาวะชีดในหญิงตั้งครรภ์
ผู้แต่ง : ประไพพรรณ ใจอักษร ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ก็อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ เช่น ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR: Intrauterine growth restriction), น้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยผิดปกติ (SGA: Small for gestational age), ความผิดปกติของระดับสติปัญญาและพัฒนาการทารก ตลอดจนภาวะทารกเสียชีวิตในครรภ์ (IUFD: Intrauterine fetal death)c]และเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการตกเลือดขณะคลอดได้ ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด หรืออาจมีการให้เลือดเป็นประจำ เช่น โรคทาลัสซีเมีย มีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจติดตามการเจริญเติบโต และตรวจเช็คสุขภาพทารกอย่างใกล้ชิด ตลอดการตั้งครรภ์ ในแม่ที่มีความต้องการจะตั้งครรภ์จะต้องได้รับการตรวจ การเตรียมความพร้อม ก่อนตั้งครรภ์ และภาวะซีดขณะตั้งครรภ์จะต้องได้รับการดูแลแก้ไข จึงมีความจำเป็นที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความรู้และให้การดูแล  
วัตถุประสงค์ : 1. การเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ 2.การเตรียมความพร้อมขณะตั้งครรภ์ 3.เพื่อป้องกันภาวะตกเลือดขณะคลอด หลังคลอด 4. การวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว และดูแลรักษาได้ทันท่วงที  
กลุ่มเป้าหมาย : หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่รพ.ห้วยผึ้งทุกราย  
เครื่องมือ : ตัวชี้วัด 1.อัตราการได้รับยาโฟลิกและยาเสริมธาตุเหล็กในหญิงวัยรุ่นและหญิงวัยเจริญพันธุ์อย่างน้อย3เดือน ก่อนการตั้งครรภ์ร้อยละ 30 % 2.อัตราภาวะชีดโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ไม่เกิน 10% 3..อัตราการตายของมารดาจากการตกเลือดหลังคลอดเป้าหมาย 0%  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การดำเนินงน 8.1 การเข้าถึงบริการ 1การประชุมอบรมบุคลากรผู้ให้บริการให้มีความรู้ทักษะในการให้บริการ 2. มีระบบการให้ความรู้ในสถานศึกษาและในชุมชนประชาสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบทั้งเครือข่าย อสม. เครือข่ายเยาวชน วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว 2) มีระบบการอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายต่างๆเพื่อสร้างกลุ่มจิตอาสาแม่และเด็กในชุมชน เช่นเยาวชน หญิงเตรียม ตั้งครรภ์ ชี้ให้เห็นถึงอันตรายที่เกิดจากภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ 3) มีและจัดหาเวชภัณฑ์ ยาโฟลิก ยาเสริมธาตุเหล็กแจกให้กลุ่มเป้าหมาย 4) มีระบบระบบบริการให้คำปรึกษาก่อนการตั้งครรภ์ 5)มีคลินิกพิเศษสำหรับหญิงตั้งครรภ์เสี่ยง ภาวะโลหิตจาง 6) มีระบบการรักษาและส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ คปสอ. โซน 8.2 การประเมิน/การประเมินซ้ำ/การตรวจ/การวินิจฉัย 1) มีแนวทางการคัดกรองประเมินความเสี่ยง ให้คำปรึกษา ก่อนตั้งครรภ์ 2) มีการตรวจเลือดครั้งแรกเมื่อมาฝากครรภ์ 3) กรณีที่ผลการตรวจพบภาวะโลหิตจางได้รับการดูแลตามเกณฑ์มาตรฐาน 4) มีระบบการส่งต่อกรณีที่เกินศักยภาพ 5) มีระบบการเยี่ยมติดตามที่บ้าน โดยอสม.กลุ่มจิตอาสา ให้ความรู้ให้ตรงกับปัญหาในแต่ละรายส่งต่อ Case ให้ รพ.สต.เยี่ยมติดตาม 8.3 การวางแผนการดูแล การรักษา 1.จัดระบบการให้บริการฝากครรภ์ตามเกณฑ์มาตรฐาน 2.มีโรงเรียนพ่อแม่ให้ความรู้ตามไตรมาส 3.ให้การรักษาตาม CPG และมาตรฐานการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง 4.มีระบบการให้คำปรึกษาก่อน ตั้งครรภ์โดยพยาบาล counseling คลินิกให้คำปรึกษาแบบทีมสหสาขาวิชาชีพ 6.มีระบบให้ความรู้คำปรึกษาในรายที่ต้องรับประทานยาการปฏิบัติตัว เพื่อให้เหมาะสมตามบริบทกับการดำเนินชีวิต 7.มี CPG/Care map การดูแลรักษา มีแนวทางการจ่ายยา เพื่อป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการกินยา และแนวทางการดูรักษาให้กับรพ.สต. 8.4 การดูแลต่อเนื่อง/การให้ข้อมูล 1) มีระบบการติดตามเยี่ยมบ้านในรายที่จำเป็น 2) ระบบการนัดมารับการรักษา : ใบนัด การโทรศัพท์แจ้งเตือน จัดระบบการดูแลโดยเครือข่ายกลุ่มจิตอาสาอนามัยแม่และเด็กในชุมชน 3) มีระบบการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง : โดยพยาบาล NP ของกลุ่มงานเวชปฏิบัติชุมชน มีระบบการติดตามเยี่ยมและดูแลต่อเนื่อง กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มาตรวจครรภ์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในวันที่เข้าโรงเรียนพ่อแม่ 4) มีระบบการส่งต่อพบแพทย์เฉพาะทางในกรณีที่เกินความสามารถ 5) การจัดรณรงค์ อบรม ประชุม การสร้างเครือข่ายในกลุ่มเยาวชน โรงเรียนและชุมชน ในการสร้างความตระหนัก  
     
ผลการศึกษา : ผลการดำเนินงาน ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ การตรวจเลือด ปี2558 ร้อยละHctต่ำกว่าเกณฑ์ ปี2559 ร้อยละที่Hctต่ำกว่าเกณฑ์ ปี2560 ร้อยละที่Hctต่ำกว่าเกณฑ์ ตรวจเลือดครั้งที่1 44.60 27.51 46.15 ตรวจเลือดครั้งที่2 38.31 ๓๙.๔๗ 29.05 ชึ่งจากผลการดำเนินงานพบว่าภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลห้วยผึ้งยังสูงเกินเกณฑ์มาก เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 10 ดังนั้นทีมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจึงต้องให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เพื่อสุขภาพแม่และลูกที่เกิดมามีพัฒนาการสมวัยต่อไป  
ข้อเสนอแนะ : 1) พัฒนาระบบการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพที่หลากหลายมากขึ้นครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น 2) อบรม/ทบทวนการใช้ CPG แก่ บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ทุกปี 3) การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อการติดตามค้นหาหญิงมีครรภ์ให้มาฝากครรภ์ก่อน12สัปดาห์ และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลของชุมชน 4) งานเชิงรุก เพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ เช่น การรณรงค์ อบรมความรู้เรื่องเพศศึกษา แก่ชุมชน โรงเรียนบูรณาการภาคีเครือข่าย (ชุมชน โรงเรียน) To be No.1เครือข่ายชุมชน เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาโรค  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)