|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การบริหารจัดการเครื่องนึ่งระบบแก๊ส |
ผู้แต่ง : |
เกษม แสงเพ็ชร,เยาวลักษณ์ ใจอ่อน,อุทัยวรรณ แสบงบาล |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
หน่วยงานจ่ายกลาง โรงพยาบาลห้วยผึ้งมีเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อจำนวน 2 เครื่อง โดยมีเครื่องนึ่งระบบใช้แก๊ส และเครื่องนึ่งระบบไฟฟ้า อย่างละ1 เครื่อง การนึ่งเครื่องมือจะนึ่งวันละ 1 ครั้ง ในวันจันทร์และในวันที่มีเครื่องมือจำนวนไม่มากเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานจะใช้เครื่องนึ่งระบบแก๊ส
แก๊สหนึ่งถังจะใช้นึ่งเครื่องมือได้ประมาณ 5 ครั้ง แต่จะมีแก๊สในถังเหลือและไม่สามารถนึ่งได้อีกจนจบกระบวนการเพระถ้าแก็สอ่อนความดันของหม้อจะไม่ได้ตามระบบ ทางหน่วยงานจ่ายกลางจึงได้ทบทวนและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อเป็นการประหยัดแก๊สที่เหลือ
2. เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการนึ่งเครื่องมือ
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
เจ้าหน้าที่หน่วยงานจ่ายกลางทุกคน |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ทบทวนแนวปฏิบัติในการใช้เครื่องนึ่งระบบแก๊ส
2. วันจันทร์และวันที่มีอุปกรณ์ เครื่องมือนึ่งฆ่าเชื้อน้อยใช้เครื่องนึ่งระบบแก๊ส แก๊ส 1 ถังใช้นึ่งเครื่องมือได้ 5 ครั้ง ส่วนมากจะมีแก็สเหลืออยู่ในถัง
3. แก็สที่เหลืออยู่ในถังมีไม่มากพอที่จะนึ่งเครื่องมือครั้งต่อไปให้จบกระบวนการได้ ทางหน่วยงานจึงใช้แก็สที่เหลืออยู่ช่วงต้มน้ำให้เดือดก่อนนำเครื่องมือเข้าเครื่อง
4. หลังจากนำเครื่องมือเข้าเครื่องนึ่งระบบแก๊สแล้วจึงเปลี่ยนมาใช้แก็สถังใหม่เพื่อเริ่มกระบวนการนึ่งต่อไป
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
- หน่วยงานจ่ายกลางมีแก๊ส 3 ถัง จากที่เคยนึ่งได้ประมาณ 15 ครั้ง หลังจากได้ดำเนินการตามแผนแล้วนึ่งได้ ประมาณ 20 ครั้ง
- เครื่องมือและแบบทดสอบมีประสิทธิภาพและผ่านมาตรฐาน
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
การพัฒนางานครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานในการร่วมกันเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพให้มากที่สุดเพื่อลดค่าใช้จ่ายในหน่วยงาน จึงควรมีการดำเนินการให้ต่อเนื่อง และเปรียบเทียบผลอย่างต่อเนื่อง |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|