ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การจัดทำเอกสารยินยอมรับการรักษากรณีผ่าฟันคุด
ผู้แต่ง : ธันวา อินทรสุขสันติ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : สิทธิของผู้ป่วยที่จะรับการรักษาพยาบาลและปฏิเสธการรักษาพยาบาลเป็นสิทธิของประชาชนขั้นพื้นฐานประการหนึ่งที่ได้รับความคุ้มครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยสิทธิดังกล่าวมีหลักฐานพื้นฐานสืบเนื่องจากสิทธิของบุคคลที่จะกำหนดชีวิตตนเอง (right to self-determination) ภายใต้หลักเสรีนิยม (principle of autonomy) เป็นผลให้ผู้ให้บริการทางการแพทย์ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยก่อนการให้บริการ และหากผู้ป่วยปฏิเสธไม่รับการรักษาพยาบาล ผู้ให้บริการจะให้บริการนั้นไม่ได้ เว้นแต่การปฏิเสธนั้นจะขัดต่อหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (principle of human dignity) แต่ในบางกรณี ผู้ให้บริการอาจต้องให้การรักษาพยาบาลแม้จะไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งไม่ว่าจะการรักษาพยาบาลดังกล่าวจะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือไม่ก็ตาม ผู้ให้บริการต้องปฏิบัติภายใต้หลักประโยชน์นิยมหรือหลักการทำความดี (principle of beneficence) เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย การผ่าฟันคุด ถือเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงสูง ของกลุ่มงานทันตกรรม ตามมาตรฐาน Dental Safety Goals ได้ระบุว่า การผ่าฟันคุด ผู้ป่วยต้องได้รับข้อมูล การทำหัตถการ ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และ ต้องเซ็นเอกสารยินยอมรับการผ่าฟันคุด ด้วย กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลห้วยผึ้ง จึงจัดทำเอกสารยินยอมรับการรักษากรณีผ่าฟันคุด โดยอ้างอิงจากโรงพยาบาลที่มีมาตรฐาน ที่ได้อธิบายครอบคลุมความเสี่ยงต่างๆ ตามเอกสารแนบท้าย  
วัตถุประสงค์ : เพื่อสื่อสารและได้รับความยินยอม จากผู้ป่วย หรือ ผู้ปกครอง กรณีผ่าฟันคุด  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยที่ผ่าฟันคุดทุกราย  
เครื่องมือ : เอกสารยินยอมรับการรักษากรณีผ่าฟันคุด  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. การจัดทำเอกสารยินยอมรับการรักษากรณีผ่าฟันคุด 2. ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ในการให้ข้อมูล ต่างๆ แก่ผู้ป่วย ก่อนทำหัตถการ พร้อมให้ผู้ป่วยเซ็นยินยอม  
     
ผลการศึกษา : ลำดับ ตัวชี้วัด เป้าหมาย ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. 1 จำนวนเคสผ่าฟันคุด - 3 4 3 6 4 7 11 2 ร้อยละเคสผ่าฟันคุด ที่มีเอกสารยินยอม 100 100 100 100 100 100 100 100 จากการดำเนินการ จะเห็นได้ว่า เคสผ่าฟันคุดทุกเคส มีเอกสารยินยอม ผู้ป่วยได้รับทราบข้อมูล ความเสี่ยง ก่อนทำหัตถการ ทุกเคส  
ข้อเสนอแนะ : บางครั้งจำเป็นต้องทำหัตถการที่มีความเสี่ยง เพื่อรักษาโรคผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยมีสิทธิพื้นฐาน คือสิทธิของบุคคลที่จะกำหนดชีวิตตนเอง ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ ควรให้ข้อมูลการทำหัตถการ รวมถึงความเสี่ยงต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วย ตัดสินใจ และเซ็นเอกสารยินยอม  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)