ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลหนองแปน
ผู้แต่ง : กอญารัญ พลชิวา,อ๊อด ศักดิ์ศิริ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : โครงสร้างประชากรผู้สูงอายุในไทยมีจำนวนมากขึ้น จากข้อมูลสถิติ ปี พ.ศ. 2561 พบว่า มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 10,666,803 คน หรือร้อยละ 16.06 (กรมกิจการผู้สูงอายุ.2561) ผู้สูงอายุในปัจจุบัน มีความลำบากในการดูแล รักษาสุขภาพตนเองมากขึ้น เนื่องจากลักษณะครอบครัวไทย เปลี่ยนแปลงไป เป็นครอบครัวเดี่ยว ซึ่งการอยู่อาศัย ในครัวเรือนแบบนี้จะทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถ พึ่งพิงใครได้ (ปราโมทย์ ประสาทกุล ศุทธิดา ชวนวัน และกาญจนา เทียนลาย. 2555, หน้า 113) เมื่อเจ็บป่วยจำเป็นต้องพักรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากขาดคนดูแล จึงเป็นภาระของสถานพยาบาล ของรัฐและเอกชน ต้องรับไว้รักษาที่โรงพยาบาล แต่ไม่สามารถรับผู้สูงอายุที่ป่วยไว้รักษาที่โรงพยาบาล ได้ทั้งหมดเนื่องจากมีเตียงจำกัด ดังนั้น ผู้สูงอายุ จึงต้องกลับมาพักรักษาตัวที่บ้าน ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงมีมาตรการในการดูแลผู้สูงอายุโดยมีการ วางแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545¬2564) (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์. 2552) ซึ่งเน้นความร่วมมือในการ ทำงานจาก 4 ฝ่าย ได้แก่ 1) ประชาชน 2) ครอบครัว 3) ชุมชน 4) สังคมและรัฐบาล โดยทุกภาคส่วน ต้องมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ ปัจจุบันมี รูปแบบการจัดบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การดูแลภายในครอบครัว 2) การดูแลในสถาบัน 3) การดูแลในสถานการณ์ พิเศษ และ 4) การดูแลโดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชน ซึ่งการดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนนั้น ใช้กลยุทธ์สร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนเกิดการ แก้ไขปัญหาและระดมความร่วมมือและพัฒนา บริการต่างๆให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชนของตน การสนับสนุนศักยภาพของชุมชนในการร่วมมือ แก่ไขปัญหาเป็นวิธีการสร้างเสริมชุมชนให้เข้มแข็ง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดกระจายงานด้านต่างๆ ให้อยู่ภายใต้การบริหารจัดการขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและชุมชนให้มากที่สุด การพัฒนา ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุอย่าง ยั่งยืนโดยพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพและ สวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุเชิงบูรณาการและ ให้บริการผู้สูงอายุ โดยชุมชนเป็นเจ้าภาพแก่ไข ปัญหาแบบมีส่วนร่วม (ไพจิตร์ วราชิต. 2554) การแก้ไขปัญหาการดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนองค์กรทุกภาคส่วน ร่วมมือกันการตัดสินใจ การดำเนินกิจกรรมพัฒนา การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งๆ ขึ้น จากสถิติผู้สูงอายุ ในปีพ.ศ.2561 ตำบลหนองแปน จังหวัดกาฬสินธุ์ มีจำนวนผู้สูงอายุ จำนวน 807 คน จากประชากรทั้งหมด 6,628 คน คิดเป็นร้อยละ 12.17 (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) บ้านหนองแปน, 2561) และจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของ รพ.สต.บ้านหนองแปน พบผู้สูงอายุ หลายรายไม่มารับการรักษาตามนัดและเห็นสภาพ ผู้สูงอายุที่ต้องอยู่บ้านคนเดียว จึงได้ประสานงาน กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล เพื่อปรึกษาความเป็นไปได้ในการที่จะร่วมกันสร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ ต่อผู้สูงอายุต่อไป จึงศึกษา รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน มาใช้เป็นแนวทางในการสร้างและพัฒนารูปแบบฯ โดยเชื่อว่ารูปแบบดังกล่าวน่าจะเป็นรูปแบบการ ดูแลผู้สูงอายุที่ดีเเละยั่งยืนที่สุด  
วัตถุประสงค์ : วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัญหาการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลหนองแปน 3. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลหนองแปน  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร มี 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมารับบริการที่ รพ.สต.บ้านหนองแปน จำนวน 30 คน 2) ทีมสุขภาพ รพ.สต.บ้านหนองแปน 3) องค์กรชุมชน 10 คน เจ้าหน้าที่เทศบาลหนองแปน จำนวน 5 คน  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. แนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) เพื่อใช้สัมภาษณ์ผู้สูงอายุและญาติที่บ้านเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการ การได้รับการบริการสุขภาพที่ รพสต.บ้านหนองแปน 2. แนวสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มในทีมสุขภาพและตัวแทนองค์กรชุมชน เกี่ยวกับการจัดบริการ การรักษาพยาบาลของ รพสต. ที่จัดบริการให้กับผู้สูงอายุ เพื่อนำมาใช้พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 3. แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อรูปแบบการจัดบริการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่พัฒนาขึ้น แบบสอบถามเป็น rating scale 3 ระดับ คือ มากที่สุด (3 คะแนน) ปานกลาง (2 คะแนน) และน้อย (1 คะแนน) มีทั้งหมด 4 ข้อ แบบสอบถามชุดนี้สร้างขึ้นภายหลังได้รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เนื่องจากจะประเมินกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นและทดลองใช้แล้ว ได้แก่ ความพึงพอใจต่อ 1) สติกเกอร์เบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญที่แจกให้กับผู้สูงอายุติดไว้ในที่สะดวกเห็นชัด 2) การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน 3) การให้ความรู้กับผู้สูงอายุในวันประชุมของชมรมผู้สูงอายุในเรื่อง การใช้ยา การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับโรค การรับประทานอาหาร และ 4) การดูแลผู้สูงอายุในขณะมารับการรักษาที่ รพสต. โดยชมรมผู้สูงอายุได้จัดผู้มีจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุระหว่างมารับการรักษาที่ รพสต.  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนดำเนินงาน ระยะที่ 1 สำรวจปัญหาและความต้องการการได้รับ วิจัยในระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2560 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ดังนี้ 1. สัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผู้สูงอายุที่บ้านจำนวน 30 คน นำข้อความที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) และจัดเป็นประเด็น (theme) เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาที่สำคัญ นำเสนอกลุ่มทีมสุขภาพและตัวแทนองค์กรชุมชน เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดบริการสุขภาพให้กับผู้สูงอายุต่อไป 2. สนทนากลุ่มในกลุ่มทีมสุขภาพและตัวแทนองค์กรชุมชน เกี่ยวกับการจัดบริการการรักษาพยาบาลของรพ.สต. ที่ให้กับผู้สูงอายุ ได้แก่ พยาบาล และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุจำนวน 5 คน ตัวแทนองค์กรชุมชน จำนวน 10 คน ซึ่งการสนทนากลุ่มนั้น ผู้วิจัยนำเสนอความรู้และสภาพปัญหาการดูแลสุขภาพและความต้องการ การได้รับการบริการสุขภาพของผู้สูงอายุจาก รพสต.บ้านหนองแปน ที่พบจากข้อที่ 1 ต่อจากนั้นผู้วิจัยได้ช่วยกันกับทีมสุขภาพ และตัวแทนองค์กรชุมชน ระดมสมองเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ สภาพปัญหาและความต้องการ และการได้รับการบริการสุขภาพที่ค้นพบเพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาที่สำคัญ และนำเสนอรูปแบบฯที่คาดหวังและต้องการ โดยให้ผู้เข้าร่วมประชุมเขียนปัญหาและความต้องการที่พบของแต่ละข้อ ควรสร้างกิจกรรมการแก้ปัญหาและช่วยเหลือในชุมชนอย่างไร ลงในกระดาษของแต่ละคน ผู้วิจัยนำมารวบรวมและจัดเป็นประเด็นหลักและประเด็นย่อยและให้ทีมสุขภาพและตัวแทนองค์กรชุมชนในที่ประชุมร่วมกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ และร่างรูปแบบการจัดบริการการดูแลสุขภาพในที่ประชุมโดยสรุปเป็นกิจกรรมที่สามารถดำเนินการต่อไปได้รวมทั้งกำหนดแผนการดำเนินงาน ระยะเวลาของแผนฯขั้นตอนการดำเนินงานและผู้รับผิดชอบของแต่ละกิจกรรม เพื่อดำเนินการพัฒนารูปแบบต่อไป ระยะที่ 2 ทดลองใช้รูปแบบการจัดบริการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่พัฒนาขึ้น โดยดำเนินการทดลองในระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ถึงกันยายน พ.ศ. 2561 ดังนี้ ผู้วิจัย บุคลากรทีมสุขภาพและตัวแทนองค์กรชุมชน ร่วมกันดำเนินการจัดบริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุตามรูปแบบที่ร่วมกันพัฒนาขึ้นและนำไปทดลองใช้กับผู้สูงอายุในตำบลหนองแปน จำนวน 30 คน เป็นเวลา 6 เดือนและสะท้อนผลการดำเนินงานครั้งที่ 1 เมื่อครบ 3 เดือน ด้วยการติดตามผลที่บ้านผู้สูงอายุ และนำมาเสนอบุคลากรทีมสุขภาพและตัวแทนองค์กรชุมชน โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และนำมาปรับปรุงแก้ไข และนำไปทดลองใช้กับผู้สูงอายุในตำบลหนองแปน ต่อไปอีก 3 เดือน รวมเป็น 6 เดือน ระยะที่ 3 ประเมินผลความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการจัดบริการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ที่พัฒนาขึ้นและสรุปผล ในระหว่างเดือน กันยายน พ.ศ. 2561  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง