ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : โครงการชุมชนต้นแบบดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยห่างไกลอาหารรสจัด หวานมัน เค็ม โนนค้อหมู่ที่ 8 ต.ธัญญา อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : วาสนา ศิริรักษ์ , ลักคณา สุเพ็ญศิลป์ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : เนื่องด้วยภาวะที่เร่งรีบจากกระแสการพัฒนาในยุคปัจจุบัน ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจของลัทธิวัตถุนิยม ที่มุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางด้านวัตถุ เอาเงินเป็นตัวตั้ง การดำเนินธุรกิจที่ขาดความรับผิดชอบ ผู้ผลิตไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบและคุณค่าทางโภชนาการ ทำให้ประชาชนมีวิถีการดำรงชีวิตที่เร่งรีบ เกิดค่านิยม วัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตที่ไม่เพียงพอ ขาดความสมดุล ทำให้ประชาชนขาดการเอาใส่ใจดูแล ควบคุม และป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมและฟุ่มเฟือย นิยมบริโภคอาหารขยะหรือจั๊งค์ฟู้ด (Junk Food) ที่มีส่วนประกอบหลัก ซึ่งประกอบด้วยแป้ง น้ำตาล น้ำมัน ไขมัน ผงชูรส และเกลือมากขึ้น แต่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสติปัญญาอยู่ในปริมาณน้อยมาก ได้แก่ อาหารประเภทฟาสต์ฟูด อาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วน อาหารทอด อาหารขบเคี้ยว ลูกอม หมากฝรั่ง ขนมหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวาน เป็นต้น โดยสามารถหาซื้อได้ง่าย สะดวก มีการแข่งขันทางการตลาดและมีการลงทุนโฆษณาสูงมาก (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ๒๕๕๓) ส่วนการประกอบอาหารกินเองที่บ้าน และการปลูกผักไว้กินเองมีลดน้อยลง ซึ่งพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่รับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้น้อยลง ขาดการออกกำลังกาย มีภาวะความเครียดเรื้อรัง ไม่สามารถจัดการอารมณ์ได้ มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากขึ้น (ไพจิตร์ วราชิต. ออนไลน์ ,๑ มีนาคม ๒๕๕๕) จากพฤติกรรมการบริโภคที่เกินจำเป็นขาดความสมดุลของพลังงานเข้าและออกในร่างกาย จึงไม่สามารถควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสมได้ ทำให้เกิดภาวะโภชนาการเกิน มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วนอันมีสาเหตุจากความนิยมบริโภคที่เน้นความอร่อยตามใจชอบมากกว่าคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการ ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือที่เรียกว่า “โรควิถีชีวิต” ที่สามารถป้องกันได้ และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ไปทั่วโลก โดยเฉพาะ ๕ โรควิถีชีวิตที่สำคัญ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง (ไพจิตร์ วราชิต. ออนไลน์ ,๑ มีนาคม ๒๕๕๕) โดยพบว่า มีผู้เสียชีวิตจาก ๕ โรคดังกล่าวปีละ ๙๗,๙๐๐ คน หรือประมาณ ๑ ใน ๓ ของผู้เสียชีวิตทั้งหมดที่มีปีละประมาณ ๓ แสนคน เฉลี่ยชั่วโมงละ ๑๑ คน โดย ๒ ใน ๓ มีอายุน้อยกว่า ๖๐ ปี และในรอบ ๕ ปี ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๓ มีผู้ป่วยจาก ๕ โรควิถีชีวิตดังกล่าว เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลสูงขึ้นเกือบ ๒ เท่า (โสภณ เมฆธน. ออนไลน์ ,๑ มีนาคม ๒๕๕๕) โรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคเรื้อรังซึ่งเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่พฤติกรรมเสี่ยงในการบริโภคอาหาร การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การที่ไม่ออกกำลังกาย ความเครียด โรคอ้วน โรคเรื้อรังดังกล่าวโรคที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง ถ้าไม่ได้รับการดูแลอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน และทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในเขตตำบลธัญญา มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีแนวโน้มจะสูงขึ้น และคาดว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธัญญาและอาสาสมัครสาธารณสุข ได้เห็นความสำคัญของโรคเรื้อรังดังกล่าว จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง และกลุ่มเสี่ยง สนใจดูแลสุขภาพของตนเอง โดยตระหนักถึงอันตรายและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้  
วัตถุประสงค์ : สร้างเครือข่ายจัดตั้งชุมชนต้นแบบ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มผู้ป่วยลดการใช้เครื่องปรุงรส(ผงชูรส)  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มผู้ป่วยและประชาชนในหมู่บ้านโนนค้อหมู่ที่ 8 -กลุ่มผู้ป่วย 11 คน -ประชาชนในหมู่บ้าน 27 คน  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : -อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ พฤติกรรมการบริโภคอาหารแก่ประชาชนในหมู่บ้าน -ศึกษาสรรพคุณสมุนไพร -จัดทำนวัตกรรมผงนัวเพื่อสุขภาพ -จัดหาวัตถุดิบในการทำผงนัว -จัดทำผงนัวไว้จำหน่ายและใช้ในชุมชน จัดตั้งกลุ่มครัวเรือนต้นแบบไม่ใช้ผงชูรส -การออกติดตามเครือข่าย -ติดตามการใช้ผงนัวเพื่อสุขภาพและสนับสนุนการทำโครงการต่อเนื่องปี 2559  
     
ผลการศึกษา : การศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการชุมชนต้นแบบดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยห่างไกลอาหารรสจัด หวานมัน เค็ม บ้านโนนค้อหมู่ที่ 8 อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ในครั้งนี้เป็นการอบรมให้ความรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพการกินอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม การออกกำลังกาย การลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง การจัดตั้งชุมชนต้นแบบการลดใช้ผงชูรสในการปรุงอาหาร มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มผู้ป่วย ลดการใช้เครื่องปรุงรส(ผงชูรส) สร้างเครือข่ายจัดตั้งชุมชนต้นแบบ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงและลดการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 38 คน และมีผู้สมัครใจเป็นครัวเรือนต้นแบบลดการใช้ผงชูรสจำนวน 22 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 57.8  
ข้อเสนอแนะ : ๑.ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็ง ดำเนินกิจกรรมสุขภาพของชุมชน สามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในระดับพื้นที่ ๒.ภาคีเครือข่ายร่วม ผลักดันนโยบาย จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ลดการเกิดโรคในชุมชนได้  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)