|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ชื่อโครงการ 4 ส 1 พ เด็กแรกเกิด ถึง 0-5 ปี ภาคีเครือข่ายแซงบาดาล ( 4 ส คือ ส่งเสริม ใส่ใจ สมส่วน สานสายใย 1พ คือ พัฒนาการ) |
ผู้แต่ง : |
สริตา บุญจันสุนี และ คณะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแซงบาดาล |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
การส่งเสริมพัฒนาการในเด็กช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี เป็นสิ่งสำคัญในการที่จะทำให้เด็กมีความเจริญเติบโต มีความสุขที่ดีสมบูรณ์แข็งแรง มีพัฒนาการสมวัยเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติต่อไป เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโต ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยเฉพาะด้านสมองซึ่งมีการเติบโตร้องละ 80.00 ของผู้ใหญ่ เป็นช่วงวัยที่สำคัญเหมาะสมในการปูพื้นฐานเพื่อ ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตและพัฒนาอย่างมีคุณภาพ ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญในอบรมเลี้ยงดู ให้ความรักความเอาใจใส่ โดยเฉพาะ เด็กช่วงอายุ 3 ปี เป็นโอกาสทองของชีวิต เพราะว่าสมองมีการเจริญเติบโตสูงสุด พร้อมที่จะเรียนรู้ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทย พบว่า เด็กช่วงอายุแรกเกิดถึง 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่า ร้อยละ 30.00 หรือประมาณ 4 ล้านคน และจากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็กช่วงอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ขณะเดียวกัน ถ้าหากมีภาวะพุโภชนาการในพื้นที่ ซึ่งจะทำให้เด็กมีสุขภาพที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรงและอาจจะมีพัฒนาการที่ล่าช้าไม่ทันเพื่อน ส่งผลให้พัฒนาการไม่สมวัย และยังส่งผลต่ออนาคตของประเทศชาติ มีความสำคัญในการเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างศักยภาพในทุกด้านของเด็กปฐมวัย โดยเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้นมา ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544 เป็นต้น มาจนกระทั่งปัจจุบันฉบับที่ 10 ยังคงเล็งเห็นว่าพัฒนาการของเด็กประถมวัยเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับการพัฒนาคุณภาพบุคคลากร จึงมีนโยบายมุ่งเน้นทั้งการควบคุมและป้องกันโรค การส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้มีพัฒนาการตามวัยทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคม อันจะส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2556)
จากการลงสำรวจข้อมูลและการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย ช่วงอายุ 9, 18, 30 และ 42 เดือน ในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาก พบว่า เด็ก มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 45.80 โดยพบ ผิดปกติด้านการเคลื่อนไหวมากที่สุด และรองลงมาคือ ด้านการใช้ภาษา การเข้าใจภาษา การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา และการช่วยเหลือตัวเองและสังคม ร้อยละ 30.80, 34.41, 17.52, 15.76 และ 10.88 ตามลำดับ นอกจากนี้ พบว่า มากกว่า ร้อยละ 50 พัฒนาการไม่สมวัยมากกว่า 2 ด้านและยัง พบว่า ผู้ปกครองไม่มีเวลาในการดูแลบุตรหลาน คิดเป็นร้อยละ 60.29 และอยู่กับตายาย คิดเป็นร้อยละ 32.72 และ ผู้ปกครองเด็ก เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี มากกว่าร้อยละ 50.0 ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ จากปัญหาดังกล่าว การให้ความสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กให้มีพัฒนาการสมวัยจึงเป็นแนวทางที่เร่งด่วน การวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการเลี้ยงดูเด็กแบบองค์รวม แบบภาคีมีส่วนร่วม การเพิ่มขีดความสามารถของภาคีเครือข่ายในการจัดประสบการณ์และสร้างสิ่งแวดล้อมที่แปลกใหม่ เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่อ แม่ ผู้ปกครองเด็ก อาสาสมัครสาธารณสุข ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และแกนนำชุมชน จึงเป็นปัจจัยหลักของการจัดทำโครงการ 4 ส. 1พ. พัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ภาคีเครือข่าย 4ส. คือ ส่งเสริม ใส่ใจ สมส่วน สานสายใย 1พ. คือ พัฒนาการ และจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ ช่วยกันประดิษฐ์อุปกรณ์ที่เป็นสื่อในการตรวจพัฒนาการเด็กและยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ชุดตรวจพัฒนาการและได้ คิดค้น เป็นนวัตกรรมขึ้นมา ชื่อ ตลับวิเศษ ผสมผสาน ผลึก ไอที อัศจรรย์ คือ ขึ้นเพื่อจะได้เข้าถึงผู้ปกครองและสร้างภาคีเครือข่ายในการดูแลเด็ก แรกเกิด ถึง 5 ปี ในพื้นที่ ตำบลแซงบาดาล ให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัยตามเกณฑ์และบุคลากร ภาคีเครือข่ายที่มีคุณภาพและเข้มแข้งของตำบลแซงบาดาลและประเทศชาติต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมให้เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เข้ารับการตรวจพัฒนาการ
2. เพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการทำงาน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคี เครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจ และ ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัยให้มีพัฒนาการที่สมวัยตามเกณฑ์
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
กลุ่มเด็กอายุแรกเกิด ถึง 5 ปี จำนวน 63 คน อาสาสมัครสาธรณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 15 คน ครูศูนย์เด็กเล็ก จำนวน 3 คน ผู้ปกครองที่เลี้ยงดูแลเด็ก จำนวน 63 คน และ บุคลากรสาธารณสุข จำนวน 8 คน พื้นที่หมู่ 1 บ้านแซงบาดาล ตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
เครื่องมือ : |
วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยแบบเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน (planning) การปฏิบัติ (acting) การสังเกตผล (observing) และการประเมินสะท้อนกลับ (reflecting) ระหว่างเดือนมกราคม 2560 ถึงเดือน เมษายน 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนปฏิบัติงาน คือ 1.1) ขั้นเตรียมการเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานบริการทุกระดับ คัดกรองพัฒนาการเด็ก ด้วยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) เพื่อค้นหาเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ชี้แจงขั้นตอนการกระตุ้นพัฒนาการและติดตามการกระตุ้นพัฒนาการเด็กโดยพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ครูผู้ดูแลเด็กและอาสาสมัครสาธารณสุข ประชุมจัดทำแผนติดตามกระตุ้นพัฒนาการและนัดหมายกลุ่มเป้าหมาย 1.2) ขั้นดำเนินการ ทีมหมอครอบครัวและภาคีเครือข่ายในชุมชน ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข ครูผู้ดูแลเด็ก แกนนำชุมชน ติดตามดำเนินการกระตุ้นพัฒนาการ ร่วมกับการฝึกสาธิต พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กกลุ่มอายุ 9, 18, 30 และ 42 เดือน ให้สามารถกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างถูกต้อง โดยติดตามเด็ก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ต่อเนื่อง 1 เดือน รวม 4 ครั้งต่อคน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขหรือครูผู้ดูแลเด็ก และแกนนำพ่อแม่ ที่รับผิดชอบในแต่ละกลุ่มอายุ ติดตามสนับสนุนและประเมินความก้าวหน้าการกระตุ้นพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง 1.3) ขั้นประเมินผลประชุมสรุปผลการดำเนินงาน 2) แบบคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) 3) แบบบันทึกการกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัยของภาคีเครือข่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ประชุมแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาชุมชนด้านอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่
เป้าหมาย และชี้แจงบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่เรื่องการเก็บข้อมูล 22 กุมภาพันธ์ 2562 จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ปกครองผู้ดูแลเด็กและแกนนำอสม.ที่ผ่านการอบรมเกี่ยวกับการตรวจพัฒนาการเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี
เรื่อง พัฒนาการตามวัยเด็ก 0 - 5 ปี
การกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี
การประเมินพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี
ความผิดปกติของพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี
มีการตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี
สาธิตและฝึกโดยทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ การประเมินพัฒนาการเด็กแก่ผู้ปกครองผู้เลี้ยงดูเด็กและ อสม.โดยใช้แบบประเมิน DSPM
ดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่ และจัดอบรมในการสอนการตรวจพัฒนาการเด็กร่วมมือกันสร้างนวัตกรรมที่สามารถเป็นสื่อในการตรวจพัฒนาการเด็กได้ มีนาคม 2562 ถึง เมษายน 2562
ประสานงานผ่านกลุ่ม IT อัศจรรย์
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล บันทึกข้อมูล เมษายน 2562
วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการดำเนินงาน เขียนรายงานสรุปผลการวิจัย พฤษภาคม 2562
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|