|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และการดูแลทันตสุขภาพในคลินิกเด็กดี |
ผู้แต่ง : |
ฉัตรกมล วรชิน |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัญหาสุขภาพช่องปาก พบได้ในทุกกลุ่มอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนมี อัตราเสี่ยงค่อนข้างสูง มีปัญหาทันตสุขภาพมากที่สุดและมีปัญหาการผุของฟันที่ หลายคนมีความจำเป็นต้องได้รับการถอนฟันเนื่องจากฟันผุมากจนไม่สามารถรักษาฟันไว้ได้ เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ไม่ให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพในช่องปากของตัวเอง ส่วนใหญ่จะเป็นบทบาทของผู้ปกครองในการดูแล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนและมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโรคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงที่เด็กมีอายุ 3-5 ปี และพบว่าถ้าหากเด็กไม่ได้รับการรักษาจะทำให้มีการลุกลามจนทะลุโพรงประสาทฟันเกิดอาการปวด บวม ทรมานทำให้เด็กไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ การรับประทานอาหารน้อยลงอาจเกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของเด็กตามมา
จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 โดยกองทันตสาธารณสุขพบว่า เด็กอายุ 3 ปี มีโรคฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ 52.9 และค่าเฉลี่ยฟันผุ อุด ถอน ในฟันน้ำนมเป็น 2.8 ซี่/คน เด็กอายุ 5 ปี มีโรคฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ 75.6 และค่าเฉลี่ยฟันผุ อุด ถอน ในฟันน้ำนมเป็น 4.5 ซี่/คน (กองทันตสาธารณสุข, 2560) และจากการศึกษาข้อมูลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพโรงพยาบาลห้วยผึ้ง พบว่า มีค่าเฉลี่ยฟันผุ อุด ถอน ในฟันน้ำนม 4.9 ซี่/คน ความชุกในการเกิดโรคฟันผุ 70.6 โดยเกิดโรคฟันผุสามารถลดลงได้ด้วยการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กในเรื่องการแปรงฟัน การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การดื่มนมของเด็ก และการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง การบริโภคอาหารที่เหมาะสมและมีประโยชน์ต่อร่างกาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงตลอดจนการดูแลสุขภาพช่องปาก จากการศึกษาพบว่าเด็กที่สูญฟันน้ำนมก่อนกำหนดจะมีโอกาสเสี่ยงที่ฟันแท้จะผุหรือเกิดการซ้อนเกได้สูง(ชนะชัย ศรีชัยปัญหา,2560) มีผลต่อการสบฟันและการบดเคี้ยวในอนาคต สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคฟันผุในเด็กกลุ่มนี้มาจากพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กของผู้ปกครอง เช่น การให้เด็กอมลูกอมเป็นประจำและผู้ปกครองขาดความเอาใจใส่ดูแลทันตสุขภาพ (ธนัชพร บุญเจริญ,กัลยา อรุณแก้ว, 2535) พฤติกรรมการเลี้ยงดู พฤติกรรม การทำความสะอาดช่องปากที่ผู้ปกครองมีต่อเด็ก เช่น ผู้ปกครองให้เด็กแปรงฟันด้วยตนเอง โดยไม่มีการควบคุมหรือแนะนำขณะเด็กแปรงฟัน ซึ่งในเด็กก่อนวัยเรียนกล้ามเนื้อมือและแขนยังไม่มีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบ จึงทำให้แรงในการควบคุมมือขณะแปรงฟันเป็นไปได้ไม่ดี การทำความสะอาดช่องปาก จึงไม่สะอาดเท่าที่ควร ดังนั้นผู้ปกครองควรควบคุมและหัดเด็กแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อศึกษารูปแบบการให้บริการด้านทันตกรรมในคลินิกเด็กดีพบว่า ในแต่ละครั้งที่ผู้ปกครองพาเด็กมาฉีดวัคซีน ทันตบุคลากรจทำการตรวจฟัน ทาฟลูออไรด์ ให้คำแนนำในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก และบันทึกข้อมูลในแบบบันทึก จากการตรวจจะมีเด็กบางคนที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เช่น การอุดฟันที่สามารถอุดได้ ยังไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ได้รับเพียงคำแนะนำทางเลือกในการรักษา วิธีการป้องกันและดูแลช่องปาก หากผู้ปกครองบางคนลเลยไม่พาลูกมารับการรักษา รอยโรคอาจจะลุกลามมากขึ้นจนไม่สามารถทำการรักษาได้ ส่งผลให้เด็กเกิดความเจ็บปวด และอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กด้วย
ดังนั้นทางฝ่ายทันตกรรมโรงพยาบาลห้วยผึ้งจึงมีการพัฒนารูปแบบการให้บริการทันตกรรมในคลินิกเด็กดีขึ้นมาใหม่ โดยเพิ่มการให้ความรู้และนัดมาทำการรักษา เพื่อให้เด็กได้รับการรักษาที่เหมาะสมป้องกันไม่ให้รอยโรคลุกลามมากกว่าเดิม และผู้ปกครองได้ความรู้ คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอีกด้วย
|
|
วัตถุประสงค์ : |
- เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กได้รับคำแนะนำในการดูและสุขภาพช่องปากเด็ก
- เพื่อให้เด็กที่มาฉีดวัคซีน ได้รับบริการทันตกรรมตามความเหมาะสม
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ปกครองและเด็กที่มารับบริการที่คลินิกเด็กดีในโรงพยาบาลห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
รูปแบบเดิม
1. ตรวจฟันในคลินิกเด็กดี 2. ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปาก 3. ทาฟลูออไรด์ 4. กลั บบ้าน 5. บันทึกข้อมูล
รูปแบบใหม่
กรณีไม่มีปัญหาทันตสุขภาพ 1. ตรวจฟันในคลินิกเด็กดี 2. ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปาก 3. ทาฟลูออไรด์
กรีมีปัญหาทันตสุขภาพ 1. ตรวจฟันในคลินิกเด็กดี 2. ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปาก 3. ทาฟลูออไรด์ 4. เขียนบัตรนัดรับการรักษา 5. รับการรักษา 6. บันทึกข้อมูล
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
หัตถการ จำนวนผู้รับบริการ(คน)
ตรวจช่องปากใน WCC 364
อุดฟันน้ำนม 25
อุดฟันแท้ 8
อุดฟันชั่วคราว 3
กรอแก้ไขหลังอุดฟัน 1
ขูดหินปูน 1
ถอนฟัน 32
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
บทเรียนที่ได้รับ : - มีข้อจำกัดด้านเวลาในการให้คำแนะนำในผู้ปกครองบางราย เนื่องจากเด็กไม่ให้ความ
ร่วมมือ
- ไม่สามารถติดตามภายหลังการให้ความรู้ และคำแนะนำได้
โอกาสพัฒนา : - มีการติดตามหลังให้ความรู้ คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปาก และหลังการรักษา
- กำหนดตัวชี้วัดในการทำงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
- มีการบันทึกจำนวนเด็กที่นัดมารับการรักษาที่ห้องทันตกรรม และจำนวนเด็กที่มารับบริการทันตกรรมจริง
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|