|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และทักษะการแปรงฟันของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.นิคมห้วยผึ้ง |
ผู้แต่ง : |
อรพิน เวศนวงค์ |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคฟันผุในเด็กปฐมวัยยังคงเป็นปัญหาทางทันตสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยจากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 โรคที่เป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บปวดและการสูญเสียฟันน้ำนมคือโรคฟันผุ ซึ่งในเด็กอายุ 3 ปีและ 5 ปีที่ใช้เป็นตัวแทนในการติดตามการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมพบว่า เด็กอายุ 3 ปีซึ่งเป็น ขวบปีแรกที่มีฟันน้ำนมขึ้นครบ 20 ซี่ มีฟันผุระยะเริ่มต้นร้อยละ 31.1 มีความชุกในการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ52.9 มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอน อุด(dmft)2.8ซี่/คนและผลสภาวะสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็กอายุ5 ปีพบว่ามีฟันผุระยะเริ่มต้น 31.3ความชุกในการ เกิดโรคฟันผุร้อยละ 75.6 มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอน อุด 4.5 ซี่/คน (สำนักทันตสาธารณสุข, 2560 : 14) สาเหตุของการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยมีความซับซ้อนและมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายปัจจัยร่วมกันทั้งปัจจัยทางชีววิทยาปัจจัยพฤติกรรมและปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากรอยโรคฟันผุสามารถตรวจพบได้ในเด็กเล็กแม้กระทั่งเด็กที่มีฟันเพิ่งขึ้นในช่องปากได้ไม่นานการศึกษาค้นหาปัจจัยของการเกิดโรค จึงมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากเป็นปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ผลเสียที่เห็นได้ชัดคือหากฟันน้ำนมผุในส่วนของฟันกรามเด็กจะเกิดความเจ็บปวดจากการบดเคี้ยวอาหาร ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวและการเจริญเติบโตของร่างกายจนบางคนถึงกับขาดสารอาหาร แล้วยังส่งผลในเรื่องของการพัฒนากล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและช่องปากตลอดจนการเจริญของกระดูกขากรรไกรอีกด้วยทั้ง
จากการศึกษายังพบว่าเด็กที่มีฟันน้ำนมผุจะมีเชื้อโรคในช่องปากมากและมีโอกาสเสี่ยงที่ฟันแท้จะผุหรือเกิดการซ้อนเกได้สูง ปัญหาหลักๆที่สามารถจัดการได้ ได้แก่พฤติกรรมการเลี้ยงดูโดยเฉพาะการทำความสะอาดในช่องปากและการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมทำให้แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโรคจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่เด็กมีอายุ 1-3 ปี การเกิดโรคฟันผุนอกจากมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของผู้ปกครองแล้ว ความรู้ ทัศนคติและทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธีของผู้ปกครองนับว่าเป็นสิ่งสำคัญจากการสรุปผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน ในศพด.อบต.นิคมห้วยผึ้งพบว่ามีอัตราเป็นโรคฟันผุร้อยละ 70.73มีค่าเฉลี่ยฟันผุอุดถอนเท่ากับ 12.19 ซี่ต่อคน (กลุ่มงานทันตกรรม รพ.ห้วยผึ้ง, 2561) นับว่ามีอัตราการเกิดโรคฟันผุที่ยังเป็นปัญหาอยู่เมื่อเทียบกับผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560
ผู้วิจัยได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กจึงสนใจที่จะทำวิจัยการศึกษาความรู้ ทัศนคติ และทักษะการแปรงฟันของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.นิคมห้วยผึ้งขึ้น
|
|
วัตถุประสงค์ : |
-เพื่อศึกษาความรู้และทัศคติผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย 3-5 ปีมีผลกับสภาวะช่องปากอย่างไร
-เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ก่อนและหลังการฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธีกับสภาวะช่องปากของเด็กปฐมวัย 3-5ปีเป็นอย่างไร
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชากร คือ เด็กปฐมวัย 3-5 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอบต.นิคมห้วยผึ้ง จำนวน 43 คน
กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย 3-5 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลห้วยผึ้งจำนวน 30 คน
|
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|