|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลหนองกุงศรี อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
สุภาวดี ดวงจำปาและคณะ |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ (การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การป้องกันวัณโรคและการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล) และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลหนองกุงศรี อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 114 คน จากกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขทั้งหมดในตำบลหนองกุงศรี ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนวัยทำงาน(กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, 2562) วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลของแบบสอบถามโดยใช้ตารางแสดงค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน
ผลการศึกษา พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ของอาสาสมัครสาธารณสุข ภาพรวมมีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดี (ร้อยละ39.47) รองลงมาอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ36.84) ระดับพอใช้ (ร้อยละ20.18) และระดับไม่ดี (ร้อยละ3.51) ตามลำดับ เมื่อจำแนกรายองค์ประกอบทั้ง 6 องค์ประกอบของความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเอง (ร้อยละ54.39) การโต้ตอบซักถามเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ (ร้อยละ50.00) การตัดสินใจด้านสุขภาพ (ร้อยละ45.61) และการเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ (ร้อยละ38.60) ส่วนองค์ประกอบที่อยู่ในระดับดี คือ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ (ร้อยละ36.84) และการบอกต่อและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลสุขภาพ (ร้อยละ35.96) และมีพฤติกรรมสุขภาพ (พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่และพฤติกรรมสุขภาพด้านการป้องกันวัณโรค และการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล) อยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ47.37) รองลงมาอยู่ในระดับดี (ร้อยละ40.35) ระดับพอใช้ (ร้อยละ11.40) และระดับไม่ดี (ร้อยละ0.88) ตามลำดับ จำแนกรายพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก คือ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร (ร้อยละ33.33) พฤติกรรมการออกกำลังกาย (ร้อยละ44.74) พฤติกรรมการสูบบุหรี่ (ร้อยละ82.46) พฤติกรรมการป้องกันวัณโรค (ร้อยละ63.16) และพฤติกรรมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (ร้อยละ57.02) และพบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.361, p=<0.001) กล่าวคือการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีย่อมมีผลมาจากการมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ดีด้วย ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน และสอดคล้องกับแนวคิดของ Nutbeam (2008) และ Mc Cormack et al. (2010) ที่กล่าวว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพจะมีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมด้านสุขภาพ กล่าวคือ หากบุคคลมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับดี พฤติกรรมสุขภาพจะดีตามไปด้วย เนื่องจากมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ มีทักษะการสื่อสาร การตัดสินใจ การรู้เท่าทันสื่อและสามารถจัดการตนเองได้ เป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และสอดคล้องกับการศึกษาของ จิรภา ขำพิสุทธิ์ (2561) ที่พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และผลการศึกษาครั้งนี้จะใช้เป็นข้อมูลเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขและออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของอาสาสมัครสาธารณสุข ให้มีทักษะและศักยภาพที่ทำให้สามารถควบคุมสุขภาพและปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ (การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การป้องกันวัณโรคและการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล) และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลหนองกุงศรี อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 114 คน จากกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขทั้งหมดในตำบลหนองกุงศรี |
|
เครื่องมือ : |
แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนวัยทำงาน(กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, 2562) |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ (การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การป้องกันวัณโรคและการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล) และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลหนองกุงศรี อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 114 คน จากกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขทั้งหมดในตำบลหนองกุงศรี ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนวัยทำงาน(กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, 2562) วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลของแบบสอบถามโดยใช้ตารางแสดงค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|