ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง โรงพยาบาลหนองกุงศรี
ผู้แต่ง : ปาริฉัตร ประวันเนา ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง ในโรงพยาบาลหนองกุงศรี ครอบคลุมตั้งแต่ขณะผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเมื่อผู้ป่วยจำหน่ายกลับบ้าน การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน รวมถึงผู้ป่วยที่มารับบริการเป็นผู้ป่วยนอก ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม2560 ถึงเดือน กันยายน 2561 ผู้ร่วมวิจัย คือ ผู้ป่วยระยะท้ายจำนวน 72 คน ผู้ดูแลจำนวน 72 คน เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการผู้ป่วยระยะท้ายทั้งในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 20 คน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประเมินความรู้และสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและสังเกตแบบมีส่วนร่วม ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง โดยการประชุมระดมสมองผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และนำไปปฏิบัติผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ ระยะที่ 3 เป็นการประเมินผลแนวทางการดูแลที่พัฒนาขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและผู้ดูแล แบบประเมินระดับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง( Palliative Performance Scale version2: PPS version2) แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันดัชนีบาร์เธลเอดีแอล แบบประเมินการจัดการอาการรบกวน แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ให้บริการ ผลการวิจัยพบว่า 1)ด้านระบบ พบว่า มีระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองที่เหมาะสม ระบบการบริการโดยใช้ผู้จัดการรายกรณี มีศูนย์อุปกรณ์เครื่องมือสำหรับดูแลผู้ป่วยที่บ้าน มีช่องทางการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานและสหสาขาวิชาชีพ การส่งต่อข้อมูล การโทรศัพท์ติดตามและการเยี่ยมบ้าน 2) ผลลัพธ์จากการพัฒนา ด้านผู้ป่วยและครอบครัว พบว่า ได้รับการดูแลแบบองค์รวม มีจัดการอาการรบกวนที่เหมาะสม มีคุณภาพชีวิตที่ดีก่อนเสียชีวิต ทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวคลายความทุกข์และมีความพึงพอใจร้อยละ 90 ด้านบุคลากร พบว่า มีความมั่นใจในการให้บริการผู้ป่วยมากขึ้น และมีความพึงพอใจต่อแนวทางการดูแลร้อยละ 90 ด้านองค์กร พบว่า เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพิ่มขึ้น การศึกษามีข้อเสนอแนะว่า ระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองต้องได้รับความร่วมมือจากทีมสหสาขาวิชาชีพและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน จะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีก่อนเสียชีวิต เสียชีวิตอย่างสงบและสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง ในโรงพยาบาลหนองกุงศรี ครอบคลุมตั้งแต่ขณะผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเมื่อผู้ป่วยจำหน่ายกลับบ้าน การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน รวมถึงผู้ป่วยที่มารับบริการเป็นผู้ป่วยนอก  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ร่วมวิจัย คือ ผู้ป่วยระยะท้ายจำนวน 72 คน ผู้ดูแลจำนวน 72 คน เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการผู้ป่วยระยะท้ายทั้งในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 20 คน  
เครื่องมือ : รวบรวมข้อมูลโดยการประเมินความรู้และสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและสังเกตแบบมีส่วนร่วม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม2560 ถึงเดือน กันยายน 2561 ผู้ร่วมวิจัย คือ ผู้ป่วยระยะท้ายจำนวน 72 คน ผู้ดูแลจำนวน 72 คน เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการผู้ป่วยระยะท้ายทั้งในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 20 คน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประเมินความรู้และสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและสังเกตแบบมีส่วนร่วม ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง โดยการประชุมระดมสมองผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และนำไปปฏิบัติผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ ระยะที่ 3 เป็นการประเมินผลแนวทางการดูแลที่พัฒนาขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและผู้ดูแล แบบประเมินระดับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง( Palliative Performance Scale version2: PPS version2) แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันดัชนีบาร์เธลเอดีแอล แบบประเมินการจัดการอาการรบกวน แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ให้บริการ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง