|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการให้คำปรึกษารายบุคคล เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอสมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
1.นางนาถนรินทร์ ทรัพย์กุล
2.นางปิติรส วิโทจิตร |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคเบาหวานทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างเช่น ไตเรื้อรัง ตาบอด ปลายประสาทเสื่อมหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดส่วนปลาย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในผู้ป่วยป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ซึ่งเป้าหมายการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยการตรวจ HbA1C น้อยกว่า 7 ผลการดูแลโรคเบาหวานโรงพยาบาลสมเด็จ ปีงบประมาณ 2561 มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3,043 ราย ปี อัตราการควบคุมระดับน้ำตาล ร้อยละ 18.37 กลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ส่วนใหญ่ พบในกลุ่มวัยทำงานมีพฤติกรรมเสี่ยงทั้งด้านอาหาร อารมณ์ และออกกำลังกาย และการใช้ยารักษาไม่ถูกต้องตามแผนการรักษา ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ผ่านมาคือ การให้ความรู้รายกลุ่มและการประเมินปัญหาขณะซักประวัติ ซึ่งไม่สามารถค้นหาปัญหาเชิงลึกรายบุคคลได้ครอบคลุม เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่รีบเร่ง ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงนำรูปแบบการให้คำปรึกษารายบุคคลมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิกบริการ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเป้าหมาย |
|
วัตถุประสงค์ : |
การนำโปรแกรมการสนทนาสร้างแรงจูงใจมาใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในพลาสม่าได้ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือด FBS ≥ 180 mg% ขึ้นไป ที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน จำนวน 70 ราย ช่วงเวลาที่ศึกษา 1 ตุลาคม 2561 – 31 มีนาคม 2562 |
|
เครื่องมือ : |
การนำโปรแกรมการสนทนาสร้างแรงจูงใจมาให้คำปรึกษารายบุคคล |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
กลุ่มเป้าหมายคือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือด FBS ≥ 180 mg% ขึ้นไป ที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน จำนวน 70 ราย ช่วงเวลาที่ศึกษา 1 ตุลาคม 2561 – 31 มีนาคม 2562
การดำเนินงาน มีการพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ในการประเมินพฤติกรรมรายบุคคล พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยการให้คำปรึกษารายบุคคล ติดตามผลประเมินปัจจัยและพฤติกรรมก่อนและหลังการดำเนินงาน 3 เดือน โดยการติดตามค่า HbA1C ค่า FBS และพฤติกรรมก่อนหลังดำเนินการ เพื่อวิเคราะห์ผล
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ได้แบบฟอร์มประเมินพฤติกรรมรายบุคคลผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อส่งต่อทีมสหวิชาชีพสามารถแก้ไขปัญหาตามประเด็นปัญหาของแต่ละบุคคลได้ มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผลการประเมินปัจจัยเสี่ยงก่อนการให้คำปรึกษารายบุคคลพบว่า ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 82.85 ช่วงอายุที่พบมากคือ50-59 ปีร้อยละ41.4 ระดับดัชนีมวลกายส่วยใหญ่มีภาวะอ้วน ร้อยละ 42.9 การประเมินพฤติกรรมพบว่าด้านการรับประทานอาหารพบมากที่สุดคือร้อยละ 100 รองลงมาคือพฤติกรรมด้านการออกกำลังกายพบร้อยละ 70.00 พฤติกรรมด้านอารมณ์ร้อยละ 21.4 และพฤติกรรมด้านการใช้ยาร้อยละ 11.4 ตามลำดับ ผลการติดตามกลุ่มเป้าหมาย 3 เดือนพบว่าอัตราการควบคุมระดับน้ำตาล FBS หลังการให้คำปรึกษารายบุคคลลดลงค่าFBS <180 mg% ร้อยละ 51.64 ผลการติดตามค่า HbA1C สามารถลดระดับ HbA1C จากค่าเดิมร้อยละ 50.76 และอัตราการควบคุม HbA1c < 7 ร้อยละ 5.7 การติดตามพฤติกรรมเสี่ยงที่มีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารลดลงร้อยละ77.1 พฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดคือด้านอารมณ์ คิดเป็นร้อยละ 1.4 |
|
ข้อเสนอแนะ : |
การให้คำปรึกษารายบุคคลเป็นอีกรูปแบบที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยและพยาบาลได้ร่วมคิดและค้นหาวิธีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวางเป้าหมายร่วมกัน ส่งผลให้ความสำเร็จเพิ่มขึ้น ซึ่งควรส่งเสริมให้มีการดำเนินการในคลินิกโรค NCD แต่การให้คำปรึกษารายบุคคลต้องใช้เวลาในการจัดการเฉลี่ย 30 นาที ดังนั้นควรมีการจัดสรรอัตรากำลังในคลินิกบริการที่เหมาะสมกับบริบทแต่ละโรงพยาบาล |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|