ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การลดอาการแย่ลงของผู้ป่วยที่มารับบริการที่ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกมลาไสย
ผู้แต่ง : นางทัศนา ดวงจิตร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีผู้มารับบริการที่ตึกผู้ป่วยนอกในปี ๒๕๕๕-๒๕๕๗ จำนวน ๑๗๙,๑๑๒ ,๑๘๑,๓๓๒ ,๑๘๕,๑๕๗ คน ตามลำดับ พบว่ามีผู้ป่วยมีอาการแย่ลงขณะรอรับการรักษา ในปี ๒๕๕๕- ๒๕๕๗ จำนวน ๓๖, ๓๙ , ๔๐ คน ตามลำดับ ส่งผลต่อชีวิตของผู้ป่วย ความมั่นใจ ความเชื่อถือต่อคุณภาพการรักษา และภาพลักษณ์ ซึ่งโรงพยาบาลได้พยายามวางมาตรฐานและแนวทางในการรักษา แต่อาจจะมีบางวิธีในการเฝ้าระวังไม่ตรงตามวิธีปฏิบัติ ซึ่งอาจจะไม่ใช่จุดสำคัญในการเฝ้าระวัง และมีสาเหตุอื่น เช่น การหมุนเวียนเจ้าหน้าที่จากจุดอื่นมาปฏิบัติงาน บุคลากรที่เข้ามารับการฝึกปฏิบัติงานใหม่หรือผู้ช่วยเหลือคนไข้ที่ได้รับการฝึกให้ปฏิบัติงานแทน เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อการรักษาทั้งสิ้น ดังนั้น จึงได้มีการศึกษาเรื่อง การลดอาการแย่ลงของผู้ป่วยที่มารับบริการที่ตึกผู้ป่วยนอก เพื่อหาวิธีที่ดีและเหมาะสมกับการปฏิบัติงานนำมาปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานต่อไป  
วัตถุประสงค์ : ๑. เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงขณะรอตรวจ ๒. เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่ออาการแย่ลงได้รวดเร็วทันท่วงที  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ตึกผู้ป่วยนอก  
เครื่องมือ : แบบบันทึก กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๑. กำหนด criteria อาการแย่ลงจากอุบัติการณ์สัญญาณชีพและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ ที่ต้องเฝ้าระวังใน OPD ๒. จัดทำ OPD Alert Card เพื่อบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยตาม criteria ที่กำหนด ๓. กำหนด safe zone ในแผนก OPD เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงฯนั่งรอตรวจ ๔. ประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติแก่เจ้าหน้าที่ในแผนกเพื่อทราบและถือปฏิบัติร่วมกัน ๕. เก็บสถิติและประเมินผลทุกเดือน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง