ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การลดภาวะ Peritonitis เซฟชีวิต สร้างคุณค่า ในผู้ป่วย CAPD
ผู้แต่ง : กันต์กนิษฐ์ ชาฎา ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : การติดเชื้อในช่องท้องขึ้นหรือภาวะPeritonitis เป็นสาเหตุสำคัญให้ผู้ป่วยต้องเข้านอนรักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิตสูง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ เปิดให้บริการแก่ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เลือกรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตทางช่องท้อง(CAPD)เมื่อก.ค. 2553 ให้บริการในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ และพื้นที่อำเภอใกล้เคียง จากการดำเนินงานในระยะ 1-2ปีแรก มีผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย(ESKD)ในเขตพื้นที่ มีจำนวนประมาณ200 คน ภาวะ Peritonitis ยังเป็นภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตที่สำคัญ แม้ว่าสถิติการการติดเชื้อนี้ถ้าเปรียบเทียบกับระดับสากลพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่า แต่ทีมผู้รักษาได้มีความพยายามที่จะพัฒนาการป้องกันและการดูแลรักษาPeritonitis ให้เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด โดยพบว่ากระบวนการที่สำคัญคือกระบวนการเรียนรู้ การป้องกันการเกิดและเมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้นผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างทันท่วงที ทีมรักษาได้มีการเตรียมความพร้อมการประเมินความเสี่ยง การดูแลตามแผนและที่สำคัญคือการมีต้นแบบการ role model/self help group เพื่อการKM การดูแลตนเองของผู้ป่วย โดยมีพยาบาล และผู้ป่วยต้นแบบจิตอาสา มาร่วมทีม การเยี่ยมบ้านแบบสหวิชาชีพและการคืนข้อมูลที่สำคัญเพื่อการพัฒนาตนเอง ทำให้ไม่มีผู้ป่วย CAPD เสียชีวิตจากภาวะ Peritonitis มาตั้งแต่ปี 2559 อีกทั้งแนวโน้มการเกิดภาวะ Peritonitis ยังลดลงเรื่อยๆอีกด้วย จากผลการติดตามศึกษากระบวนการดูแลผู้ป่วย CAPD ที่ผ่านมา พบว่าการติดตามความรู้วิชาการ และการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยบนพื้นฐานของความเข้าใจ และการค้นหาข้อมูลที่สำคัญอันเป็นสาเหตุหลักสำคัญต่อภาวะสุขภาพนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ตรงจุดเกิดความร่วมมือทุกระดับเครือข่ายที่ดูแลผู้ป่วยเกิดการยอมรับและเชื่อมันของชุมชน  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องรวดเร็ว ปลอดภัย และพึงพอใจ 2. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตจากภาวะPeritonitis 3. เพื่อสร้างแนวทางในการดูแลรักษาภาวะPeritonitis  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย(ESKD)ในเขตพื้นที่ มีจำนวนประมาณ200 คน  
เครื่องมือ : การดูแลตามแผนและที่สำคัญคือการมีต้นแบบการ role model/self help group เพื่อการKM  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยในการตัดสินใจทำCAPD โดยคัดเลือกผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5จาก CKD clinic เพื่อเข้าฟังคำปรึกษาการบำบัดทดแทนไต 1.1) ประเมินคะแนนความเสี่ยงตามแบบ Initiate for PD in KCPH และแจ้งระดับเสี่ยงในการรับเข้ารับการรักษาด้านCAPD โดยการแบ่งคะแนนความเสี่ยงเป็น 3 ระดับ 1.2) ให้การดูแลตามระดับความเสี่ยง ดังนี้ ระดับความเสี่ยง Care team Activity สำคัญ หมายเหตุ Low risk ทีมพื้นที่ในชุมชน ดูแลตามมาตรฐานปกติก่อนวางสาย Mod. risk สหวิชาชีพตามปัญหา ดูแลตามมาตรฐาน+ตามปัญหาเฉพาะเรื่อง High risk สหวิชาชีพทีมใหญ่ *FM ร่วมกับสหวิชาชีพครบทีม *FM คือ Family meeting และให้การดูแลแบบสหวิชาชีพ จาก ทีมCAPD 1.3) กิจกรรมการดูแลผู้ป่วยหลังการวางสายล้างไตในระยะ 14 วันแรก หลังการผ่าตัดวางสายTK-capd- เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้การล้างไตในแบบของ KCPH model โดยใช้กรอบการเรียนรู้แบบAdult learning theory ทุกครั้งที่มาตรวจตามนัด และสะท้อนประเด็นปัญหาสำคัญให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลทราบ และร่วมวางแผนการแก้ไขร่วมกัน ทั้งการดูแลตนเอง สิ่งแวดล้อม การสร้างเครือข่ายและการดูแลทางสุขภาพจิต ร่วมกับทีมสุขภาพจิตของรพ./ชุมชน และแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เช่น การทำFamily meeting - 1.4)การดูแลรักษาเมื่อเกิด Peritonitis พัฒนาแนวทางการเข้าถึงการรักษา โดยการเน้นอาการเร่งด่วน ให้ผู้ป่วยมาถึงรพ.ให้เร็วที่สุด  
     
ผลการศึกษา : จากข้อมูลแนวโน้มการเกิดPeritonitisลดลง และกว่าร้อยล่ะ 85 เป็นการรักษาที่ดีขึ้น ค่าเฉลี่ยPeritonitis เฉลี่ย 42 เดือน/การติดเชื้อ 1 ครั้ง ดีกว่ามาตรฐานของการติดเชื้อของสมาคมล้างไตโลกที่ตั้งเป้าไว้ว่าเกิด Peritonitis 1 ครั้ง/30 เดือน  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : รางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานแบบ Oral presentation ระดับ ระดับจังหวัด  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง