|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ทิ้งขยะถูกที่ แยกขยะดี ลดการติดเชื้อในสถานบริการและชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปลือย ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
นางศิริเพ็ญ อาทะวิมล |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปลือย เป็นสถานที่ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ รักษาพยาบาล ป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งให้บริการประชาชนที่มีสุขภาพดี ผู้ที่ป่วยด้วยโรคโรคติดต่อ และไม่ติดต่อ ผู้ที่มีแผลสดและผู้ป่วยที่มีแผลติดเชื้อ ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เป็นต้น หลังจากการบริการผู้ป่วย มีทั้งขยะติดเชื้อและขยะทั่วไป จากการให้บริการดังกล่าว จึงทำให้มีสิ่งปฏิกูลจากการให้บริการหลายประเภท ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมา ทางหน่วยงานยังไม่มีการดำเนินการในการกำจัดขยะดังกล่าวที่ชัดเจน ทำให้พบการทิ้งขยะไม่ถูกที่ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยง,อุบัติการณ์ต่างๆ ทำให้โรงพยาบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะสูงเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วย ญาติ บุคลากร และอาจส่งผลต่อการกระจายเชื้อไปสู่ชุมชน ทำให้มีความเสี่ยงสูง ดังนั้น งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริ มสุขภาพตำบลสงเปลือย ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำ CQI เรื่องนี้ขึ้น |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อลดการติดเชื้อในสถานบริการและชุมชน
2. เพื่อการคัดแยกและทิ้งขยะได้ถูกต้อง |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
บุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปลือย ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 7 คน |
|
เครื่องมือ : |
คู่มือแนวทางปฏิบัติมาตรฐานปลอดเชื้อและการคัดแยกขยะ แบบสังเกตและบันทึกการคัดแยกขยะ ทะเบียนการให้หัตถการ ทะเบียนทำแผล ทะเบียนสวนปัสสาวะ และแบบประเมินความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปลือยมีการดำเนินการตั้งแต่ เดือน ตุลาคม 2558 – มิถุนายน 2559 โดยกระบวนการดำเนินงาน แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้
ด้านบุคลากร โดยชี้แจงให้บุคลากรในหน่วยงานทราบถึงสถานการณ์และตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา และอบรมเรื่องการลดการติดเชื้อในสถานบริการ การคัดแยกขยะและชี้แจงแนวทางปฏิบัติเรื่องคัดแยกและกำจัดที่ถูกต้อง เตือนทันทีถ้าพบว่าทิ้งผิด
ด้านผู้รับบริการ โดยให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและผู้รับบริการให้ทราบถึงประเภทของขยะ บริเวณจุดที่ทิ้งขยะ และการทิ้งขยะให้ถูกที่ในตอนเช้าทุกวัน และ ในรายที่รับใหม่ทุกราย ตรวจสอบหากพบว่าทิ้งผิดให้บุคลากรจะอธิบายทันที
ด้านวิธีการ โดยจัดทำแนวทางการคัดแยกขยะที่ชัดเจนเป็น ๔ ประเภทคือ ขยะติดเชื้อ ขยะไม่ติดเชื้อ ขยะอันตรายและ ขยะรีไซเคิล, ประชาสัมพันธ์แก่ผู้รับบริการทราบเรื่องการทิ้งขยะให้ถูกที่ทุกวัน, ติดตามตรวจสอบการคัดแยกขยะทุกเดือนโดยผู้รับผิดชอบด้าน IC และ ๕ ส ภายในสถานบริการ และชี้แจงผลการคัดแยกขยะที่ไม่ถูกต้องในที่ประชุมประจำเดือนเพื่อแก้ไขปรับปรุง
ด้านอุปกรณ์ /สถานที่ โดยจัดปรับปรุงป้ายบ่งชี้ที่ชัดเจน, จัดหาถังขยะ และบริเวณที่ทิ้งขยะให้เหมาะสมตามประเภท, จัดทำที่พักขยะติดเชื้อพร้อมส่งกำจัดได้ถูกต้องตามระบบ, ปรับปรุงห้องปลอดเชื้อ จุดบริการ จุดคัดกรอง และการระบายอากาศให้ถูกต้อง เหมาะสม, จัดหาอ่างล้างมือ อ่างล้างเครื่องมือ อุปกรณ์ ต่างๆตามเหมาะสม
การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ประกอบด้วย ค่าความถี่ และค่าร้อยละ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
1. มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรฐานปลอดเชื้อและการคัดแยกขยะที่ชัดเจน
2. บุคลากรในหน่วยงานได้ผ่านการอบรมเรื่องมาตรฐานปลอดเชื้อใน รพสต.และการคัดแยกขยะทุกคน
3. พบการทิ้งขยะผิดประเภทลดลงทั้งบุคลากรและผู้รับบริการ
4. การคัดแยกขยะถูกต้องมากกว่า 90 %
5. บุคลากรและผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากกว่า 90 %
6. การประเมินเฝ้าระวังการติดเชื้อในผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยที่มารับบริการทำแผล มีแผลติดเชื้อ มีไข้ และผู้ป่วยสวนปัสสาวะติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะ มีอุบัติการณ์การติดเชื้อในเดือนตุลาคม, พฤศจิกายน, มกราคม ร้อยละ 1.36 , 1.42 , 1.33, 0.56 และไม่พบอุบัติการณ์การติดเชื้อตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2559
สรุปผลการวิจัย
จากการการดำเนินการทิ้งขยะถูกที่ แยกขยะดี ลดการติดเชื้อในสถานบริการและชุมชน พบว่า สถานบริการมีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรฐานปลอดเชื้อและการคัดแยกขยะที่ชัดเจนถูกต้อง ส่งผลมีอุบัติการณ์การติดเชื้อลดลง และไม่พบอุบัติการณ์การติดเชื้อตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2559 อีกทั้งยังพบว่าบุคลากรและผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากกว่า 90 %
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1. ควรพัฒนารูปแบบการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบมากกว่านี้
2. สามารถขยายผลสู่สถานบริการสาธารณสุขอื่นๆได้
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|