ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาเครือข่ายช่วยเหลือผู้ป่วยสุขภาพจิตในชุมชนตำบลเจ้าท่า
ผู้แต่ง : อ๊อด ศักดิ์ศิริ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : กรมสุขภาพจิตพบว่า พ.ศ.2561 ผู้ป่วยโรคจิตและพฤติกรรมพบมาก เป็นอันดับ 4 รองจากโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคเบาหวาน สำหรับอัตราการฆ่าตัวตายพบว่ามีแนวโน้มลดลง โดยเพศชายมีสัดส่วนของอัตราการฆ่าตัวตายมากกว่าเพศหญิง 4 เท่าอัตราการดื่มสุรามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสืบเนื่องอื่นๆ อีกหลายปัญหาตามมา1 ปัญหาสุขภาพจิตส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ดูแลและบุคคลในสังคม ญาติหรือผู้ดูแลได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้ญาติท้อแท้เบื่อหน่าย หมดหวังและกำลังใจในการรักษา ผู้ป่วยบางรายอาการไม่คงที่ ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่นและชุมชน ญาติหรือผู้ดูแลต้องล่ามขังไว้ ผู้ป่วยมีอาการกำเริบซ้ำมีผลกระทบต่อความรุนแรงของอาการมากขึ้นและอาการเรื้อรัง ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องได้รับการรักษาและดูแลต่อเนื่องในชุมชนที่สำคัญคือการติดตามเยี่ยมในชุมชน ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายรวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสุขภาพจิตและชุมชนมีความปลอดภัยมากขึ้น2  
วัตถุประสงค์ : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายช่วยเหลือผู้ป่วยสุขภาพจิตในชุมชนตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยสุขภาพจิต 20 คน ญาติผู้ป่วยสุขภาพจิต 20 คน คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) 15 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 3 คน อสม.12 คน ผู้นำชุมชน 18 คน แพทย์ประจำคลินิกสุขภาพจิตโรงพยาบาลกมลาไสย 1 คน พยาบาลจิตเวช 1 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 นาย รวม 93 คน  
เครื่องมือ : 1) แนวทางการสนทนากลุ่ม 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แนวทางการสังเกตแบบมีส่วนร่วม 4) แนวทางการประชุมระดมสมองและสะท้อนคิด 5) การบันทึกภาคสนาม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การดำเนินงานมี 4 ระยะ 2 วงรอบ คือ 1) ระยะการวางแผน (P) ประเมินสถานการณ์ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม 2) ระยะปฏิบัติการ (A) วางแผนจัดตั้งกลุ่มเพื่อนเอฟ เปิดโอกาส การเล่าประสบการณ์จากการดูแลตนเองของผู้ป่วย และการดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตโดยญาติ นัดพบกันเดือนละครั้ง (3 เดือน) นำปัญหาอุปสรรคที่พบในการดูแลผู้ป่วยแต่ละรายมาปรึกษากลุ่มในวันนัดพบและช่วยกันหาแนวทางแก้ไข กำหนดแนวปฏิบัติร่วมของสมาชิก 3) ระยะสังเกตการณ์ (O) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม 4) ระยะสะท้อนผลการปฏิบัติการ (R) โดยผู้ศึกษานำเสนอผลการเสวนากลุ่มเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิตของชุมชน ผลกระทบต่อผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชนในด้านต่างๆ ร่วมกันอภิปราย ระดมสมองสะท้อนคิด หาแนวทางปรับปรุงต่อในวงรอบที่ 2 อีกครั้ง นำเสนอปัญหาแก่ผู้ร่วมวิจัยกลุ่มใหญ่ ร่วมกันอภิปรายระดมสมองสะท้อนคิด หาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน สรุปบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและขอความเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง สรุปประเด็นหลัก โดยข้อมูลดิบที่บ่งชี้ถึงตัวผู้ให้ข้อมูลจะถูกเก็บเป็นความลับและผู้ร่วมวิจัยทั้งหมดได้รับการยืนยันและยินดีให้ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ และคำนวณค่าร้อยละ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง