|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : หมอลำส่งเสริมสุขภาพ |
ผู้แต่ง : |
อายุวัฒน์ สุระเสียง, พรพิมล อินทรชิต |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
อันดับแรกมีคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ที่ต้องการให้ทีมปราชญ์ชาวบ้าน ที่ได้ก่อตั้งชมรมโรงเรียนผู้สูงอายุวัดอโศการาม และมีชมรมคนรักษ์สุขภาพขึ้นมา เมื่อญาติใครที่ป่วยแบบหาสาเหตุโรคไม่ได้ นอนซม ก็จะมาเชิญให้ทีมของชมรมคนรักษ์สุขภาพนี้ไปฟ้อน ลำ แก้เคล็ดให้หายได้ บางรายก็หาย บางรายก็ตามอายุของโรค และทีมชมรมคนรักษ์สุขภาพนี้ก็ได้สร้างจุดเด่นเป็นนวัตกรรมให้กับชมชนขึ้นโดยการยอมรับทุกแห่ง แล้วเมื่อมีโรคที่เกิดช่วงฤดูฝนก็คือโรคไข้เลือดออก จากการรณรงค์และการประชาสัมพันธุ์ ในการควบคุมโรคไข้เลือดออกมากขนาดไหน คนในชุมชนก็ไม่ให้ความสนใจสักครั้ง เบี่ยงให้ว่าไม่ใช่หน้าที่ และยังไม่เห็นความรุนแรงของโรค จนถึงปี 2558 ช่วงเดือน กรกฎาคม ที่ผ่านมานั้น มีความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกระบาดทั่วเขตพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีพัฒนา จนผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยอดแกง ได้เชิญ อาสาสมัครสาธารณสุข อสม.ทุกหมู่บ้านเข้าร่วมประชุมหารือ ว่าจะช่วยรณรงค์ให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญยังไงเพื่อควบคุมให้ไม่ให้เกิดการระบาดอีกรอบ จนเสนอกับทางท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลยอดแกงในการจัดมหกรรมรณรงค์ ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกโดยแต่ละหมู่บ้านให้จัดป้าย รณรงค์ ป้ายแสดงให้เห็นถึงภัยของโรคไข้เลือดออก และทีมทางปราญชน์ชาวบ้านทีม คนรักษ์สุขภาพ ก็จัดหมอลำขับรถอ้อมหมู่บ้าน โดยเป็นการแต่งเนื้อหมอลำให้เกี่ยวกับการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ขณะนั้นก็เชิญทุกพื้นที่ ทุกแห่ง และเป็นเอกลักษณ์ของคุณยายบุญเที่ยง บุตรศาสตร์มาตั้งแต่สมัยเป็นสาวแล้วที่แต่งเนื้อหาสอดคล้องกับการรณรงค์หรือให้ความรู้ที่สอดแทรกเกี่ยวกับงานด้านสุขภาพจนเป็นที่ยอมรับและใช้ต่อกันมานจนถึงปัจจุบัน |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อสร้างนวัตกรรม หมอลำส่งเสริมสุขภาพ และการรณรงค์ป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ และสามารถควบคุมได้เร็วและหยุดการเกิดโรคได้ทันเวลา |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
รับการพัฒนาในตัวบุคคลและขยายการมีปราชญ์ที่เป็นบุคคลต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพโดยการดัดแปลง ร้องหมอลำในการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนได้อย่างยั่งยืน |
|
เครื่องมือ : |
หมอลำส่งเสริมสุขภาพ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
มีการเขียนข้อมูลที่เป็น รูปธรรม นามธรรม ในการส่งเสริมสุขภาพในทุกรูปแบบทุกเวที และการเสนอผลงานต่างๆในชุมชนได้จนเป็นที่ยอมรับกับบุคคลที่ได้เห็นหรือสัมผัสได้ ใช้เอกลักษณ์ในการแต่งเนื้อหาในการส่งเสริมสุขภาพ รณรงค์ในการป้องกันโรคภายในชุมชนได้ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ประชาชนในชุมชนให้การยอมรับและสนใจในการดูแลสุขภาพตนเองมากกขึ้น เพราการร้องหมอลำโดยสอดแทรกข้อมูลในการส่งเสริม ควบคุม ป้องกัน รักษาโรคได้ชัดยิ่งขึ้น เป็นการสร้างความกระตือรือร้น หรือความตระหนักในการควบคุม หรือการป้องกันโรคได้ชัดเจนขึ้น และเป็นแนวสิ่งใหม่ที่แปลกหูแปลกตามากกว่าการ พูดหน้าเวที ประชาคมหมู่บ้านนั้นๆได้ ทำให้มีปราชญ์ชาวบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ในชุมชนนั้นได้มากกว่าการฟ้อนลำหรือการร้องหมอลำไปในทางอื่น เพราะได้มาเชื่อมกับการดูแลสุขภาพในชุมชนได้ดีขึ้น
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1. บันทึกสื่อที่ได้ไปเปิดตามหอกระจายเสียงของผู้ใหญ่บ้านเป็นประจำ
2. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแต่งเนื้อหาเพลง แต่งกลอนหมอลำ และการร้อง
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|