ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ประสิทธิผลของสารสกัดขมิ้นชันแคปซูลเปรียบเทียบกับยาหลอกในการลดอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อมที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 2-4
ผู้แต่ง : นายแพทย์พรมมินทร์ ไกรยสินธ์ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคข้อเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุด เป็นสาเหตุสำคัญอันก่อให้เกิดความทุพพลภาพในผู้สูงอายุทั่วโลก ในประเทศไทยพบความชุกของโรคข้อเข่าเสื่อมถึง 34.5 ถึง 45.6 เปอร์เซ็นต์ของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยการใช้ยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นทางเลือกในผู้ป่วยที่รักษาโดยไม่ใช้ยาร่วมกับการรับประทานยาพาราเซตามอลไม่ได้ผล ซึ่งการใช้ยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ทำให้เกิดผลข้างเคียงในระบบทางเดินอาหารได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ทั้งยังมีผลข้างเคียงต่อไตและตับ การศึกษา systematic review แนะนำให้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ NSAIDs ในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังขั้นที่ 3-5 โดยในผู้ป่วยที่มีผลข้างเคียงหรือข้อห้ามจากการใช้ยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ดังกล่าว มีคำแนะนำให้ใช้ยาทรามาดอล (tramadol) เป็นยาทางเลือกในการลดอาการปวดเข่า ซึ่งยาทรามาดอลเป็นยาแก้ปวดในกลุ่มอนุพันธุ์ของฝิ่นที่มีผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ อาการท้องผูก คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ ปากแห้งและชัก การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของสารสกัดขมิ้นชัน ขนาด 1,500 มก./วัน วันละ 3 ครั้ง เปรียบเทียบกับยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ขนาด 1,200 มก./วัน วันละ 3 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมพบว่าประสิทธิผลของสารสกัดขมิ้นชันไม่แตกต่างจากยาไอบูโพรเฟน แต่ในกลุ่มที่ได้รับยาไอบูโพรเฟนมีอาการข้างเคียงทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการปวดท้อง มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิผลและความปลอดภัยของสารสกัดขมิ้นชันในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่งน่าจะได้ประโยชน์จากการใช้สารสกัดขมิ้นชันในการรักษาโรคเข่าเสื่อม ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของสารสกัดขมิ้นชันในการรักษาโรคเข่าเสื่อมในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 2-4 เปรียบเทียบกับยาหลอก  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการลดอาการปวดข้อในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 2-4 ของสารสกัดขมิ้นชันเปรียบเทียบกับยาหลอก 2. เพื่อเปรียบเทียบด้านความปลอดภัยจากการใช้ยาโดยประเมินจากความถี่ของผลข้างเคียงจากการใช้สารสกัดขมิ้นชันกับยาหลอก  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 2-4 เปรียบเทียบระดับความปวดก่อนและหลังให้ยาระหว่างกลุ่มทดลองคือสารสกัดขมิ้นชันและกลุ่มควบคุมคือยาหลอก จำนวน 60 คน  
เครื่องมือ : ศึกษาในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 2-4 เปรียบเทียบระดับความปวดก่อนและหลังให้ยาระหว่างกลุ่มทดลองคือสารสกัดขมิ้นชันและกลุ่มควบคุมคือยาหลอก จำนวน 60 คน โดยทั้งสองกลุ่มจะได้รับยาทรามาดอลเป็นยาเสริมเมื่อมีอาการปวด ผู้เข้าร่วมวิจัยถูกสุ่มเพื่อแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยอัตราส่วน 1:1 กลุ่มหนึ่งได้รับสารสกัดขมิ้นชัน ขนาด 1,500 มก.ต่อวัน (250 มก.ต่อแคปซูล) อีกกลุ่มได้รับยาหลอก วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อประเมินประสิทธิผลในการลดอาการปวดข้อระหว่างสารสกัดขมิ้นชันกับยาหลอกเป็นวัตถุประสงค์หลัก และประเมินความถี่ของผลข้างเคียงเป็นวัตถุประสงค์รอง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ศึกษาในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 2-4 เปรียบเทียบระดับความปวดก่อนและหลังให้ยาระหว่างกลุ่มทดลองคือสารสกัดขมิ้นชันและกลุ่มควบคุมคือยาหลอก จำนวน 60 คน โดยทั้งสองกลุ่มจะได้รับยาทรามาดอลเป็นยาเสริมเมื่อมีอาการปวด ผู้เข้าร่วมวิจัยถูกสุ่มเพื่อแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยอัตราส่วน 1:1 กลุ่มหนึ่งได้รับสารสกัดขมิ้นชัน ขนาด 1,500 มก.ต่อวัน (250 มก.ต่อแคปซูล) อีกกลุ่มได้รับยาหลอก วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อประเมินประสิทธิผลในการลดอาการปวดข้อระหว่างสารสกัดขมิ้นชันกับยาหลอกเป็นวัตถุประสงค์หลัก และประเมินความถี่ของผลข้างเคียงเป็นวัตถุประสงค์รอง  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง