|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : บัตรคิวความรู้สุขภาพ |
ผู้แต่ง : |
นางสาวพรทิพา วิเศษดี |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และวิถีในการดำเนินชีวิต เช่น โรคมะเร็ง เบาหวานความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งโรคดังกล่าวสามารถควบคุมและป้องกันได้ โดยที่ประชาชนต้องใส่ใจดูแลตนเองด้วยการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อหวังให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะจุดประกายให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะโรคกลุ่ม Metabolic ได้หันมาเอาใจใส่ดูแลสุขภาพของตนเองและคนในชุมชนซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพที่ยั่งยืนต่อไป
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดจิก จึงได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงานขึ้นผ่านระบบการสื่อสารที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มารับบริการ เพื่อเป็นการเผยแพร่แนวทางการป้องกันตัวเองจากโรคและภัยสุขภาพ ซึ่งสื่อนี้คือ บัตรคิวความรู้สุขภาพ
|
|
วัตถุประสงค์ : |
๑. เพื่อให้ผู้รับบริการมีความรู้เรื่องสุขภาพและสามารถนำความรู้นั้นไปปฏิบัติได้และถ่ายทอดไปสู่บุคคลรอบข้างได้
๒. เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการบริการเป็นไปตามกำหนดเวลาราชการด้วยความสะดวกเป็นธรรม ตามระบบบริการของรัฐ
๓. เพื่อสร้างความพึงพอใจต่อระบบบริการของ รพ.สต.กุดจิก อ.ท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
พื้นที่เป้าหมาย เขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดจิก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ที่มารับบริการที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดจิก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
|
|
เครื่องมือ : |
บัตรคิวความรู้สุขภาพ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
๑.คัดเลือกความรู้ด้านสุขภาพตามบริบทของ รพสต.
๒.พิมพ์หมายเลขลงกระดาษขนาด ๕x๑๐cm หรือตามความเหมาะสม
๓.พิมพ์ความรู้ด้านสุขภาพที่เลือกลงบนบัตรคิว หน้า/หลังตามความเหมาะสม
๔.จัดที่ใส่บัตรคิวให้ผู้มารับบริการเห็นชัดเจน
๕.ประชาสัมพันธ์เรื่องบัตรคิวให้ประชาชนและผู้มารับบริการทราบขั้นตอนและประโยชน์ของการใช้บัตรคิว
๖.ดำเนินการใช้บัตรคิวในสถานบริการ
๗.ประเมินผลจากผู้มารับบริการในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยการสุ่มผู้รับบริการเพื่อตอบแบบสอบถาม ด้านความรู้ และความพึงพอใจ จำนวน ๒๐๐คน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|