|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : โครงการลดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ตำบลดงสมบูรณ์ อำเภอท่าคันโทจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2562 |
ผู้แต่ง : |
ทวิช วงค์ไชยชาญ,ดารณี ขันธ์โฮม,จันทรา เหล่าขันตี |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
อุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทยพบว่า ในเพศชายมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี มากเป็นอันดับ 1 (40.3 ต่อประชากรแสนคน) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าทั้งเพศชายและหญิง มีอัตราการเกิดโรคมะเร้งตับและมะเร็งท่อน้ำดีเป็นอันดับ 1 นอกจากนี้ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี จำนวน 14,469 คน คิดเป็นอัตรา 22.5 ต่อแสนประชาการ เป็นเพศชาย 10,380 คน เพศหญิง 4,089 คน อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีปัญหาเรื่องการบันทึกข้อมูลที่มารับบริการที่โรงพยาบาลยังไม่ครอบคลุม ทำให้ข้อมูลจำนวนหนึ่งไม่ได้ถูกรายงานในระบบของกระทรวงสาธารณสุข และคาดประมาณว่า 70 % ของรายงานมะเร็งดังกล่าวเป็นมะเร็งท่อน้ำดี ดังนั้นในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งท่อน้ำดีไม่ต่ำกว่า 20,000 คน
ประชาชนเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับจากการกินอาหารประเภทปลาน้ำจืดเกล็ดขาว(ตระกูลปลาตะเพียน)เมนูปรุงดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ หรือที่มีตัวอ่อนของพยาธิปนเปื้อน และกลุ่มที่เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับจะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งท่อน้ำดี และมีโอกาสเสียชีวิตได้ ซึ่งขณะนี้ประชาชนในประเทศไทยที่เป็นโคพยาธิใบไม้ตับมีประมาณ 6 ล้านคน และประชากรกลุ่มนี้จะพัฒนามะเร็งท่อน้ำดีในระยะเวลาประมาณ 20 – 30 ปีข้างหน้า โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบผู้เป็นพยาธิใบไม้ตับ 18.6 % ภาคเหนือ 10.0 % ภาคกลางและภาคใต้พบต่ำกว่า 5 % จากการรายงานศึกษาวิจัยพบว่าอัตราการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในภาคอิสานเหนือมีค่าเฉลี่ย 22.5 % อัตราการติดเชื้อใบไม้ในตับสูงสุด 80 %
จากการสำรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 40 ปีขึ้นไป ในปี 2558 จำนวน 658 คน พบว่าประชาชนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับจำนวน 655 คิดเป็น 99.54 % และ ในปี 2559 คัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่อายุครบ 40 ปี จำนวน 38 คน มีความเสี่ยงด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุกๆดิบๆ จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 94.73 ซึ่งเป็นอัตราเสี่ยงที่สูง ประกอบกับภูมิศาสตร์ของพื้นที่ตำบลดงสมบูรณ์ติดกับเขื่อนลำปาว และมีแหล่งน้ำจืดเช่น ลำห้วย หนอง ลำคลอง เป็นต้น และประชาชนส่วนใหญ่บริโภคส้มตำใส่ปลาร้าดิบ แจ่วบองปลาร้าดิบ ปลาส้มดิบ และก้อยปลาดิบ/ลาบปลาดิบ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าประชนมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดีมาก
จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงสมบูรณ์ได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำอาสาสมัครประจำครอบครัวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงให้มีพฤติกรรมการบริโภคปลาน้ำจืดเกล็ดขาวที่ถูกต้อง เหมาะสมต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อสร้างเครือข่ายดำเนินงาน OV.CCA.
2. เพื่อตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ตับในประชากรกลุ่มเสี่ยง
3. เพื่อส่งต่อกลุ่มเสี่ยงตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องเพื่อคัดกรองโรคมะเร็งท่อน้ำดี
4. เพื่อสร้างความรอบรู้ (HL) ในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี แก่แกนนำอาสาสมัครประจำครอบครัว
5. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีให้มีพฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสม |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
1. แกนนำชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน อสม. และแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง อายุ 40 ปี ขึ้นไป |
|
เครื่องมือ : |
การจัดประชุม/ประชุมมเชิงปฏิบัติการ/การสนทนากลุ่ม
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ประชุมชี้แจงภาคีเครือข่ายผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการดำเนินงานแก้ปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ตำบลดงสมบูรณ์ ปี 2562 และมอบหมายภารกิจในการดำเนินงาน
2. ประชุมเชิงปฏิบัติการ สร้างความรู้ในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี แกนนำอาสาสมัครประจำครอบครัว
3. ตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ตับในประชากรกลุ่มเสี่ยง
4. ส่งต่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงตรวจอัลตราซาวด์เพื่อคัดกรองโรคมะเร็งท่อน้ำดี
5. ประชุมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในกลุ่มเสี่ยง อายุ 40 ปีขึ้นไปในตำบลต้นแบบ
6. การสนทนากลุ่ม
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|