|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การจัดการผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาแบบประคับประคองในระยะท้ายของชีวิตที่ประสงค์จะกลับไปดูแลรักษาต่อเนื่องที่บ้านของทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ :บทเรียนที่ได้รับจากกรณีศึกษา |
ผู้แต่ง : |
ดารัญ วงศ์อนุชิต |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัญหาการดื้อยาของเชื้อจุลชีพที่ทำให้เกิดโรคมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุสำคัญมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่มากขึ้น ทั้งการใช้อย่างไม่จำเป็นและเกินความจำเป็น ซึ่งพบว่ามีการติดเชื้อชนิดที่ดื้อยาปฏิชีวนะถึงปีละกว่า 100,000 คน ส่งผลทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้น ใช้เวลารักษานานขึ้น และโอกาสเสียชีวิตสูง ผลเสียต่อไปหากเชื้อชนิดนี้แพร่ไปสู่ผู้ป่วยรายอื่นและเกิดการระบาดในชุมชน จะมีผลทำให้โรคติดต่อที่เคยควบคุมได้กลับมาระบาดมากขึ้น จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว โรงพยาบาลสหัสขันธ์ จึงได้ศึกษาเบื้องต้น ถึงการจัดการผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาแบบประคับประคองในระยะท้ายของชีวิตที่ประสงค์จะกลับไปดูแลรักษาต่อเนื่องที่บ้านของทีมสหวิชาชีพ โรงพยาบาลสหัสขันธ์ เพื่อวางแผนป้องกันและลดการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาให้มีประสิทธิภาพต่อไป |
|
วัตถุประสงค์ : |
จากการศึกษา คณะผู้วิจัยได้รับบทเรียนที่สำคัญเพื่อที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการบริการผู้ป่วย |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยา |
|
เครื่องมือ : |
การจัดการรายกรณี |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนการจัดการผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาแบบประคับประคองในระยะท้ายของชีวิตที่ประสงค์จะกลับไปดูแลรักษาต่อเนื่องที่บ้านของทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ คณะผู้วิจัยดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการถอดบทเรียนที่ได้รับจากการจัดการผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยาซึ่งเป็นกรณีศึกษาในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ถึง 30 ธันวาคม 2561 จำนวน 3 ราย โดยการใช้ข้อมูลที่เรียนรู้จากผู้ป่วยรายแรกเพื่อพัฒนาวิธีการจัดการที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยรายต่อๆมา |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|