ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรสิสของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2560
ผู้แต่ง : สุรเชษฐ์ ภูลวรรณ, พรทิวา ถาวงค์กลาง ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : โรคเลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปรา (Leptospira spp.) ที่ก่อให้เกิดโรคในคนและสัตว์ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้จะมีอาการและอาการทางคลินิกแตกต่างกัน ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงรุนแรงมากจนทำให้เสียชีวิตได้ สัตว์ที่เป็นพาหะนำเชื้อ ได้แก่ หนู สุนัข สุกร วัว ควาย โดยปล่อยเชื้อออกมาทางปัสสาวะ คนจะได้รับเชื้อโดยการสัมผัสกับปัสสาวะที่มีเชื้อโดยตรงหรือสัมผัสกับสภาวะแวดล้อมที่ปนเปื้อนเชื้อผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผลหรือทางเยื่อบุจมูก ปาก หรือตา อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้เฉียบพลัน ปวดศีรษะรุนแรง หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง ตาแดง อาจมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ตับวาย ไตวาย และดีซ่านได้ โรคเลปโตสไปโรสิสยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพบเชื้อนี้กระจายอยู่ทุกภูมิภาค ข้อมูลสถานการณ์โรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระหว่างวันที่ 1 มกราคม–3 มิถุนายน 2560 มีผู้ป่วยรวม 810 ราย (อัตราป่วย 1.24 ต่อประชากรแสนคน) เสียชีวิต 22 ราย (อัตราตาย 0.03 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตายร้อยละ 2.71) รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง (รายงาน 506) จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี พ.ศ. 2557-2559 มีผู้ป่วย 122, 142 และ 158 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 11.81, 10.94 และ 15.29 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2560 พบผู้ป่วย 94 ราย (อัตราป่วย 9.10 ต่อประชากรแสนคน) มีผู้เสียชีวิต 1 ราย อัตราตาย 0.10 ต่อประชากรแสนคน และอัตราผู้ป่วยตายร้อยละ 1.06) ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรสิสของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้ทราบคุณลักษณะที่สำคัญของระบบเฝ้าระวัง และนำผลที่ได้ไปปรับปรุงระบบเฝ้าระวังให้ดียิ่งขึ้น  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรสิสของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณของระบบเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรสิสของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรสิสของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ทำการสุ่มโรงพยาบาลที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยวิธี Stratified random sampling ได้สถานพยาบาล 9 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง โรงพยาบาลชุนชนแม่ข่าย 2 แห่ง โรงพยาบาลชุนชนขนาดใหญ่ 4 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก 2 แห่ง  
เครื่องมือ : 1.แบบคัดลอกเวชระเบียน 2.แบบสัมภาษณ์  
ขั้นตอนการดำเนินการ : วิธีการศึกษา 1. รูปแบบการศึกษา เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) เพื่อประเมินคุณลักษณะเชิงคุณภาพ และคุณลักษณะเชิงปริมาณของระบบเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรสิสของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559-30 กันยายน 2560 2. กลุ่มตัวอย่างและการสุ่ม ทำการสุ่มโรงพยาบาลที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยวิธี Stratified random sampling ได้สถานพยาบาล 9 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง โรงพยาบาลชุนชนแม่ข่าย 2 แห่ง โรงพยาบาลชุนชนขนาดใหญ่ 4 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก 2 แห่ง 3. การเลือกเวชระเบียน ทบทวนรายงานจากระบบรายงาย 506 และเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มีการวินิจฉัยโรคตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ (ICD-10) จากนั้นทำการคัดผู้ป่วยที่มีรายชื่อซ้ำออก แบ่งเวชระเบียนเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 3.1 กลุ่มโรคที่เลือกมาทบทวนทุกราย ได้แก่ Leptospirosis รหัส ICD-10 คือ A27, Melioidosis รหัส ICD-10 คือ A24, Scrub Typhus รหัส ICD-10 คือ A75.3, Denque fever รหัส ICD-10 คือ A90, Malaria รหัส ICD-10 คือ B50-B54 และ Influenza รหัส ICD-10 คือ J10, J11 3.2 กลุ่มโรคที่เลือกทบทวนด้วยการสุ่ม คือ Fever of unknown origin (FUO) รหัส ICD-10 คือ R509 คัดเลือกเวชระเบียนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ตามขนาดตัวอย่างจากสูตรการคำนวณ ดังนี้ จากสูตร n = (Z_(α/2)^2 pq)/d^2 โดย n = จำนวนตัวอย่าง Z_(α/2) = 1.96 p = ค่าสัดส่วนของผู้ที่ป่วยเป็นโรค Leptospirosis ในกลุ่มที่ถูกวินิจฉัยเป็นโรค FUO(4) ที่ถูกรายงานในระบบรายงาน 506 โดย p = 0.040 คำนวณจาก (p_1* p_2) โดยกำหนดให้ p_1 = 0.127 คือ สัดส่วนของผู้ที่ป่วยเป็นโรค Leptospirosis ในกลุ่มที่ถูกวินิจฉัยเป็นโรค FUO(4) p_2 = 0.312 คือ สัดส่วนของผู้ที่ป่วยเป็นโรค Leptospirosis ที่ถูกรายงานในระบบรายงาน 506(5) q = 0.960 (1-p) d = 0.012 (ค่าคลาดเคลื่อนจาก p ที่ยอมรับได้) แทนค่า n = (〖1.96〗^2 0.040*0.960)/〖0.012〗^2 n = 1,036 4. นิยามผู้ป่วยที่ใช้ในการศึกษา ไข้สูง หนาวสั่น และปวดศีรษะชนิดรุนแรง ร่วมกับมีประวัติอาชีพที่สัมผัสกับน้ำ พื้นที่ชื้นแฉะ หรือสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสิ่งขับถ่ายของสัตว์ หรือมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 4.1 ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง หรือกดเจ็บตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อน่อง 4.2 ตาแดง (หลอดเลือดแดงแผ่ซ่านเป็นตาข่าย หรือมีเลือดออก) 4.3 อาการเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น คอแข็ง ความรู้สึกตัวผิดปกติ 4.4 ไอแห้งหรือไอมีเสมหะปนเลือด 4.5 ไตวาย การหายใจล้มเหลว หรือเลือดออกผิดปกติตามอวัยวะต่างๆ เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ไอเป็นเลือดสด อาการดีซ่าน เป็นต้น(6) 5. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล 5.1 คุณลักษณะเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีถ่วงค่าน้ำหนัก (Weighted analysis) ตามสัดส่วนตัวอย่างที่สุ่มได้ นำเสนอข้อมูลด้วยค่าความถี่ และร้อยละ ที่ช่วงเชื่อมั่น 95% ตามคุณลักษณะ ดังนี้ 5.1.1 ค่าความไว (Sensitivity) คำนวณจาก (จำนวนผู้ป่วยที่เข้าได้ตามนิยามและมีการรายงาน/จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่ตรงตามนิยามในระยะเวลาที่ศึกษา) x 100 5.1.2 ค่าพยากรณ์บวก (Positive predictive value) คำนวณจาก (จำนวนรายงานผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิสที่เข้าได้ตามนิยาม/จำนวนรายงานผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิสทั้งหมด) x 100 5.1.3 คุณภาพของข้อมูล (Data Quality) 1) ความครบถ้วน (Completeness) ได้จากการนับจำนวนข้อมูลรายงาน 506 ที่มีการบันทึกข้อมูลครบถ้วนทุกตัวแปร ได้แก่ อายุ เพศ และวันที่เริ่มป่วย 2) ความถูกต้อง (Accuracy) ได้จากการนับข้อมูลที่บันทึกตรงกันระหว่างรายงาน 506 กับข้อมูลผู้ป่วยที่เข้าได้ตามนิยามจากเวชระเบียน ได้แก่ ตัวแปรอายุ (กำหนดให้ความคลาดเคลื่อน +/-1 ปี) เพศ ที่อยู่ (ระดับหมู่บ้าน) และวันที่เริ่มป่วย (กำหนดให้ความคลาดเคลื่อน ±1 วัน) 5.1.4 ความทันเวลา (Timeliness) ได้จากการนับจำนวนข้อมูลที่มีระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเลปโตสไปโรสิส จนถึงเวลาที่รายงานเข้าระบบรายงาน 506 ไม่เกิน 7 วัน 5.1.5 ความเป็นตัวแทน (Representativeness) โดยเปรียบเทียบการกระจายระหว่างข้อมูลผู้ป่วยที่เข้าตามนิยาม จากเวชระเบียนและรายงาน 506 ได้แก่ ตัวแปรเพศ อายุ และเดือนที่เริ่มป่วย 5.2 คุณลักษณะเชิงคุณภาพ ใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องในระบบเฝ้าระวังโรคเป็นรายบุคคล ได้แก่ เจ้าหน้าที่ระบาดวิทยา เจ้าหน้าที่เวชสถิติ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เกี่ยวกับคุณลักษณะเชิงคุณภาพ ได้แก่ ความยากง่าย ความยืดหยุ่น ความยอมรับ ความยั่งยืน และการใช้ประโยชน์จากระบบเฝ้าระวัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Content Analysis  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง