ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : หมอลำสื่อความรู้กู้ชีวิต ตอนประเมินเด็กพิการออทิสติก
ผู้แต่ง : ธนารัตน์ เรืองสาย, ติ๋ม กั้วพิทักษ์ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : จากกระบวนการทำงานที่มีการวิเคราะห์ ประชากร ความต้องการ ความชอบ วิถีชีวิตของบุคคลในพื้นที่อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุวัยเด็กและผู้สูงอายุส่วนวัยทำงานจะมีการเดินทางไปประกอบอาชีพต่างถิ่น ส่วนใหญ่ของประชากรที่เหลืออยู่ในพื้นที่มีความต้องการทางสุขภาพที่สะดวกสบายได้มาตรฐานและเข้าถึงชุมชนอย่างทั่วถึง ด้านความชอบประชากรส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่ในพื้นเป็นคนชอบความเรียบง่ายเข้าใจง่าย ด้านวิถีชีวิตส่วนมากมีการใช้วิถีชีวิตแบบสังคมชนบทที่ช่วงเช้าและเย็นจะมีผู้นำชุมชนมาให้ข่าวสารหรือประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆในแต่ล่ะวันโดยช่วงกลางวันก็จะออกหากินตามภารกิจของแต่ล่ะครอบครัว เมื่อทีมชุมชนได้นำข้อมูลดังกล่าวมาสังเคราะห์เพื่อหาความเหมาะสมที่จะนำความรู้ทางการดูแลสุขภาพจนสามารถซึมซับเกิดเป็นพฤติกรรมและการตระหนักต่อการดูแลใส่ใจสุขภาพพื้นฐาน จึงได้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมหมอลำสื่อความรู้กู้ชีวิตขึ้น โดยนำนวัตกรรมมาเริ่มต้นในงานคัดกรองคนพิการออทิสติกเป็นบทเรียนแรก ทั้งนี้เพื่อให้ประชากรที่อยู่ในพื้นที่สามารถเข้าถึงความรู้และสามารถตรวจคัดกรองคนพิการออทิสติกเบื้องต้นก่อนส่งต่อเพื่อรักษาและส่งเสริมพัฒนาการได้อย่างรวดเร็ว  
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ประชากรที่อยู่ในพื้นที่สามารถเข้าถึงความรู้และสามารถตรวจคัดกรองคนพิการออทิสติกเบื้องต้นก่อนส่งต่อเพื่อรักษาและส่งเสริมพัฒนาการได้อย่างรวดเร็ว  
กลุ่มเป้าหมาย : อายุ 1-18 ปี ในพื้นที่อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : กลอนลำคัดกรองเด็กพิการออทิสติก  
ขั้นตอนการดำเนินการ : นำเอาความรู้ในการคัดกรองเด็กออทิสติกเบื้องต้นสำหรับชุมชนมาแต่งเป็นบทกลอนลำ แล้วอัดเป็นแผ่น จากนั้นมีการประชุมเพื่อทำการตกลงร่วมกับทีมผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานด้านสาธารณสุข องค์กรด้านการปกครอง ชุมชน วัด และโรงเรียน เพื่อให้นำกลอนลำคัดกรองเด็กพิการออทิสติกไปเปิด โดยที่หมู่บ้านให้เปิดทุกๆเช้าและเย็น โรงเรียนเปิดทุกๆเช้าและเที่ยง วัดเปิดก่อนโอกาสที่จะมีการประชาสัมพันธ์งานบุญ ซึ่งทุกจุดเปิดจะทำการเป็นในช่วงเวลา 1 เดือนโดยมีเนื้อกลอนลำคือ “....ล่ะ เสียงเอ๋ย....เสียงก้องฟ้า อสม.นำมาโฆษณาประกาศข่าว ขอให้ชาวน้อพี่น้องฟังแล้วให้ฮ่ำฮอน อัศจรรย์น้อใจน๋อ..อัศจรรย์ใจน้อ อสม.สิได้กล่าว พอให้เห็นเหตุฮู้ความแจ้งนั้นต่อไป ไทยเฮาสุมื้อนี้บ่คือเก่าดอกคราวหลัง ทั้งลูกเล็กน้อเด็กแดงให้เบิ่งแงง..โอ้ย.แน่เด้อท่าน ทางโรงบาลเพิ่นกะแจ้งแถลงการณ์ออกมาว่า..ให้ซ่อยกันตรวจตรา แงงลูกหลานซุซุบ้าน.พิการนั้นสิบ่เป็น คั่นพบเห็นใน 4 ข้อ อสม.ต้องนำส่ง เพื่อดำรงสุขภาพปราบไว้บ่ให้สาย ข้อที่1.เพิ่นว่าไว้ ลาวนั้นบ่น้อสบตา ข้อที่ 2 เพิ่นนั้นบ่จ้องหน้า ข้อที่ 3 บ่พาที่..เอ๋ย ว่าบ่ดีดอกเด้อท่าน ข้อที่ 4. มีแต่ไปทางหน้า บ่โงมาน้อหม่องเก่า..เพิ่นบ่ยอมชี้นิ้ว สิไปหน้านั้นบ่ถอย จำขึ้นใจแน่เด้อท่านเพื่อลูกหลานได้เติบใหญ่ เป็นกำลัง..น้อของไทย สืบต่อไปภายภาคหน้า ขอลุงป้าได้ซ่อยกัน บทประพันธ์ผู้เขียนแต้ม อ.ธนารัตน์เป็นคนเขียน เอิ้นบทเรียน ว่าเด็ก ออฯ....เพื่อให้พอ น้อเพียงฮู้ อสม.ผู้ขับร้อง คือแม่ติ๋มเสียงทองผู้ขับร้องดอกคนเก่า จั่งได้นำมาบอกเล่า ให้ไทเฮาได้รับรู้นำกันแท้ ว่าซุคน...ว่าเด้น้อ ...เอ๋อเอ้ย..โอ้ล่ะน๋า..นั่นล่ะน่า ” ซึ่งแปลได้ใจความดังนี้ ..เสียงที่ท่านได้ยินเป็นกลอนลำนี้นั้นเป็นเสียงประชาสัมพันธ์ที่มีความหวังดีต่อทุกๆท่าน และยากให้ท่านได้รับรู้ถึงการตรวจประเมินเด็กในครอบครัวหรือชุมชนของท่านว่า หากพบความผิดปกติจากหนึ่งในสี่ข้อดังต่อไปนี้ คือ เด็กไม่ยอมสบตา เด็กไม่ยอมจ้องมองหน้า เด็กไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม และเด็กที่ไม่ชี้นิ้ว ก็ให้นำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจประเมินพัฒนาการและประเมินออทิสติก จนนำสู่กระบวนการรักษาในโอกาสต่อไป  
     
ผลการศึกษา : ประชาชนในพื้นที่ให้ความสนใจและชื่นชอบในกลอนลำจนสามารถจดจำความรู้และประเมินความผิดปกติของพัฒนาการหรือประเมินเด็กออทิสติกได้เบื้องต้นก่อนส่งต่อโรงพยาบาล ดังนี้ ระดับความพึงพอใจและความเข้าใจต่อเนื้อหาที่เป็นกลอนลำ ได้ ค่าคะแนน ดีมากที่สุด ร้อยล่ะ 90 ระดับดีมากร้อยล่ะ 10 และสามารถตรวจประเมินจนได้ขึ้นทะเบียนเด็กพิการรายใหม่ 4 ราย และมีเด็กที่ผู้ปกครองสงสัยอยากให้ตรวจประเมิน 20 ราย ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่าสื่อนวัตรกรรม หมอลำสื่อความรู้สู้ชีวิต ตอนประเมินเด็กพิการออทิสติก สามารถเข้าถึงและให้ประชาชนมีความรู้และตระหนักต่อสุขภาพตามเนื้อหาสื่อความรู้มากขึ้น จนตระหนักถึงความสำคัญและกระทำจนเป็นพฤติกรรมได้  
ข้อเสนอแนะ : 1. นำกลอนลำคัดกรองเด็กพิการออทิสติกไปเปิดให้ทั่วทุกพื้นที่ในตำบลนามนเพื่อให้ประชาชนเข้าใจและตระหนักต่อโรคออทิสติก 2. นำกลอนลำคัดกรองเด็กพิการออทิสติกเปิดในคลินิกเด็กทุกสถานบริการในพื้นที่อำเภอนามน  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)