|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงเจริญ อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2562 |
ผู้แต่ง : |
นาวสาววิชุดา ปัญจมี |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุข และมีผู้ป่วยตายเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี พบรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน ๔ ล้านคนต่อปี เฉลี่ย ๘ วินาทีต่อ ๑ คน (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๕๕) ในประเทศไทย โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนไทย ซึ่งการจัดอันดับสูญเสียในปี ๒๕๕๒ พบว่า โรคเบาหวานทำให้เกิดการสูญเสียเป็นอันดับ ๑ ในเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ ๘.๖ และเป็นอันดับ ๗ ในเพศชายคิดเป็นร้อยละ ๓.๘ (นุชรี อาบสุวรรณ และ นิตยา พันธุเวทย์, ๒๕๕๗) ประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ มีอัตราตายด้วยโรคเบาหวาน ๑๔.๙๓ ต่อประชากรหนึ่งแสนคน (สำนักโรคไม่ติดต่อ, ๒๕๕๘)
จังหวัดกาฬสินธุ์มีจำนวนผู้ป่วยตายด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ ๒ สามปีย้อนหลัง เท่ากับ ๙๑, ๙๗, ๑๐๒ ราย และอัตราความชุก ๙.๒๕, ๙.๘๘, ๑๒.๑๙ รายต่อประชากรหนึ่งแสนคน (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๕๗) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และแบบแผนในการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน ทำให้เกิดความเสี่ยง และความรุนแรงของการเกิดโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ความสัมพันธ์ของโรคเบาหวานกับปัญหาช่องปากเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์และทันตแพทย์มาเป็นเวลานาน สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้ภาวะเหงือกอักเสบเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อในช่องปาก เช่น มีภาวะปากแห้ง มีการตอบสนองต่อโรคต่ำ ติดเชื้อได้ง่าย การหายของแผลช้า จึงเพิ่มโอกาสที่จะทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกและมีโอกาสสูญเสียเนื้อเยื่อรอบฟันและกระดูกเบ้าฟันได้ง่ายโดยเฉพาะในผู้ที่ไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำตาลให้อยู่ในระดับดีได้ สำหรับผู้เบาหวานที่สามารถควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับดี ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ได้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุสูงกว่าคนปกติ (จันทนา อึ้งชูศักดิ์ และคณะ , ๒๕๕๔)
จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลดงพยุง อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปี ๒๕๖๐ จำนวน ๙๕ ราย โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจำนวน ๕๔ ราย และผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดัน จำนวน ๔๑ ราย พบว่า มีฟันแท้ผุ ร้อยละ ๗๕.๗๘ มีฟันโยก ร้อยละ ๖๑.๐ รวมถึงมีหินปูน และเหงือกอักเสบ ร้อยละ ๕๔.๗๓ ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อสร้างความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง ลดความรุนแรงของโรค การเข้าถึงบริการทันตกรรมที่ถูกต้อง และเพื่อที่จะให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงเจริญ อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีสัญชาติไทย อาศัยอยู่จริงในพื้นที่ ตำบลดงพยุง อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ มาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๖ เดือน |
|
เครื่องมือ : |
การศึกษาแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงเจริญ อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
โปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้ 1. การให้ทันตสุขศึกษา - ปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้ป่วย โรคเบาหวาน - การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย โรคเบาหวาน - โครงสร้างฟัน - โรคฟันผุ - โรคเหงือกอักเสบ - โรคปริทันต์ 2. ฝึกทักษะการแปรงฟันให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน - ใช้เม็ดสีย้อมฟันผู้ป่วยโรคเบาหวาน - สาธิตวิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธีให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|