|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ชุมชนร่วมใจ สมุนไพร ล้างพิษ ปี 2562 |
ผู้แต่ง : |
นางสาวปิยะพร แดนกะไสย |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ความเป็นมาของนวัตกรรม สืบเนื่องจาก กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายเร่งด่วนในการดำเนิน โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๘๔ พรรษา โดยมุ่งเน้นในการดูแลสุขภาพเกษตรกรทั้งกายและจิต รวมถึงการป้องกันควบคุมโรคและภัยคุกคามสุขภาพจากการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งมีความเป็นพิษเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังจนถึงอาการเฉียบพลัน ตั้งแต่ระดับเล็กน้อย จนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ปัจจุบันประเทศไทยมีประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมประมาณ ๑๓ ล้านคน ส่วนใหญ่ยังมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดความเสี่ยงอันตรายทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค โดยผลการตรวจตัวอย่างผัก ผลไม้สดของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปี ๒๕๕๙ พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ร้อยละ ๒๘ และ ปี ๒๕๕๙ มีเกษตรกรที่มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในร่างกายอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๓๙ และ จากรายงานผู้ป่วย ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐ เฉลี่ยปีละ เกือบ ๒,๐๐๐ ราย ในปี ๒๕๖๐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวงแสน มีการตรวจคัดกรองเกษตรกรโดยการเจาะเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ในบ้านหนองแคน หมู่ที่ ๑ ตำบลดอนจาน ซึ่งเป็นหมู่บ้านนำร่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน ๑๘๐ ราย พบว่า เกษตรกรมีผลเลือดในระดับที่เสี่ยงและไม่ปลอดภัย ๕๖ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๑ ของเกษตรกร ที่ได้รับการตรวจทั้งหมด จะเห็นได้ว่า เกษตรกรวัยทำงาน ทุกกลุ่ม แม้กระทั่ง ไม่เคยสัมผัสสารเคมีเลย ก็พบความเสี่ยง มีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยสูง เช่นเดียวกับค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ ซึ่งควรมีการเฝ้าระวังและดำเนินงานให้เกษตรกรได้ดูแลสุขภาพตนเองร่วมกับบุคลากรสาธารณสุข โครงการชุมชนปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวงแสน ปี ๒๕๖๒ ได้ตั้งเป้าหมายให้เกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมกันค้นหาเกษตรกรที่มีความเสี่ยงและตรวจเลือด เพื่อหาสารพิษตกค้าง หากพบว่า เกษตรกรมีสารพิษในเลือดอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัย จะรักษาด้วยการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน ย่านาง รางจืด หรือสมุนไพรล้างพิษ ด้วยการอบสมุนไพร รวมทั้งให้คำแนะนำการป้องกันตัวจากสารพิษ และ ดูแลด้านสุขภาพจิต ในหมู่บ้านหนองแคน หมู่ที่ ๑ ตำบลดอนจาน และบ้านหนองแวงแสน หมู่ที่ ๒ ตำบลนาจำปา จำนวน ๒ หมู่บ้าน ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวงแสน ร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณสุขซึ่งเป็นแกนนำ และนักจัดการสุขภาพ จากการทำประชาคม บ้านหนองแคน หมู่ที่ ๑ ประชาชนมองเห็นความสำคัญ และมีความสนใจ ตื่นตัวในการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อสารเคมีในเกษตรกรสูง สนใจในการอบสมุนไพร เพื่อลดความเสี่ยงต่อสารเคมี |
|
วัตถุประสงค์ : |
๑. เพื่อคัดกรองสุขภาพเกษตรกร ๑๕-๖๐ ปี โดย อสม. ร้อยละ ๑๐๐ ๒. เพื่อตรวจหาสารโคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง อายุ ๑๕-๖๐ ปี อย่างน้อย ร้อยละ ๒๐ ๓. เพื่อตรวจหาสารโคลีนเอสเตอเรสในเลือดผู้จำหน่ายสารเคมี อย่างน้อยร้อยละ ๕๐ ๔. ชุมชนมีส่วนร่วมในวางแผนการดำเนินงานและการจัดการสุขภาพชุมชน มีแนวทางการจัดบริการที่ชุมชนเข้มแข็ง ๕. เพื่อให้การบำบัดกลุ่มไม่ปลอดภัย ต่อสารเคมี ด้วยการอบสมุนไพรล้างพิษ โดยจัดบริการที่สุขศาลา ๖. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และความตระหนัก ในการดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยจากสารเคมี |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง อายุ ๑๕-๖๐ ปี |
|
เครื่องมือ : |
ชุดตรวจระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกร |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
๑.กระบวนการจัดทำแผนชุมชนโดยใช้แผนที่ทางเดนยุทธศาสตร์ มีการวิเคราะห์ปัญหา โดยนักจัดการสุขภาพชุมชน จัดลำดับความสำคัญของปัญหา จัดทำแผน/โครงการชุมชนปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิต ผ่องใส และมีการกำหนดรูปแบบ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จากการวิเคราะห์สถานการณ์ และการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา แกนนำชุมชนและประชาชนได้ร่วมประชาคมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน โดยการใช้เครื่องมือในกระบวนการสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ เพื่อแก้ไขปัญหา ปัญหาเกี่ยวกับสารเคมี และโรคมะเร็ง ถูกจัดให้เป็น ลำดับที่ ๒ และ ๓ ส่วนปัญหาเรื่องโรคเรื้อรัง เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้พัฒนานวัตกรรมมาแล้วอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงไดพัฒนานวัตกรรม ในส่วนนี้ เพื่อสร้างความเข้มแข้งให้กับชุมชน ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาด้านความเสี่ยงต่อสารเคมี ในเกษตรกร ซึ่งเป็นที่มา ของหลายโรค และ มีกระบวนการจัดทำแผนชุมชน สู่การพัฒนานวัตกรรมและรูปแบบการจัดการปัญหาสุขภาพ ของ บ้านหนองแคน หมู่ที่ ๑ ตำบลดอนจาน ดังนี้ ๑.ใช้กระบวนการแผนที่ความคิด ๔ มุมมอง มุมมองประชาชน ๑. ประชาชนตื่นตัว ในการค้นหาและคัดกรองความไม่ปลอดภัยจากสารเคมี ของเกษตรวัยทำงาน ๒. อยากให้ประชาชนมีความรู้เรื่องพืชสมุนไพร การดื่มน้ำสมุนไพร และ ผักพื้นบ้าน ๓. อยากให้ชุมชนมีการปลูกพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้านปลอดสารพิษทุกครัวเรือน ๔. อยากให้ประชาชนมีความรู้ด้าน ความปลอดภัยจากสารเคมี ๕. อยากให้ท้องถิ่นเข้ามาดูแลเรื่องงบประมาณ มุมมองภาคีเครือข่าย ๑. เทศบาลตำบล ดอนจาน เห็นความสำคัญ ของการดำเนินงาน โครงการฯ สนับสนุนงบประมาณ ๒. ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้สมุนไพร ๓. เยาวชนร่วมอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้าน ๔. อสม.ทำหน้าที่ในการประสานงาน ดำเนินกิจกรรม และติดตามการดำเนินงานทุกกิจกรรม ๕. หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนด้านบุคลากร งบประมาณและจัดทำบัญชีครัวเรือน ๖. หน่วยงานสาธารณสุขสนับสนุนวิทยากร ให้ความรู้ในการใช้สมุนไพรและผักพื้นบ้าน ในการดูแลสุขภาพด้านความปลอดภัยของประชาชน ต่อสารเคมี ๗. ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็งและมีความรู้ ความสามารถ มุมมองกระบวนการ ๑. จัดประชุมประชาคม และทบทวนรูปแบบและกระบวนการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหา โดยชุมชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการ ได้เอง ๒. วิเคราะห์ปัญหาและจัดทำแผนงานโครงการ ๓. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานพัฒนานวัตกรรม “ชุมชนร่วมใจ สมุนไพรล้างพิษ” ๔. ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงต่อสารเคมี ในกลุ่มเป้าหมาย อายุ ๑๕-๖๐ ปี ทุกราย ปี ละ ครั้ง ๕. จัดอบรมกลุ่มเสี่ยงสูง และไม่ปลอดภัยต่อสารเคมี ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการป้องกันภัยจากสารเคมี และ การใช้สมุนไพร ผักพื้นบ้านในการ กำจัดสารพิษในร่างกาย ๖. แจกจ่ายแผ่นพับและมีการประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว อย่างต่อเนื่อง ๗. จัดทำทะเบียนเครือข่ายการปลุกพืชสมุนไพรในครัวเรือน รวบรวมเพื่อการแลกเปลี่ยน ๘. จัดให้มีการ อบสมุนไพร ล้างพิษที่สุขศาลา ๙. สนับสนุนการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ๑๐. จัดให้มีการอบสมุนไพร ที่สุขศาลา ในกลุ่มผู้ไม่ปลอดภัย ๑๑. มีการติดตาม ตรวจเลือด หลังการอบสมุนไพร ๔ ครั้ง ๓ เดือน และ ๖ เดือน ๑๒. มุมมองรากฐาน ๑. ชุมชนมีฐานข้อมูลสุขภาพกลุ่มเสี่ยง เป็นปัจจุบัน ๒. มีข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนในชุมชน ๓. มีบุคลากรเพียงพอ มีทักษะ มีความรู้ ความชำนาญ และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ๔. ชุมชนมีเครือข่ายการปลูกใช้สมุนไพร และ ผักพื้นบ้าน ในการดูแลสุขภาพ มีการแลกเปลี่ยนพืชผัก ๕. ผู้นำชุมชน อสม.และแกนนำสุขภาพมีขวัญและกำลังใจที่เอื้อต่อการทำงาน เอาใจใส่ในหน้าที่ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
การดำเนินงานพัฒนานวัตกรรม ตามโครงการนี้ เป็นนวัตกรรมเชิงพัฒนากระบวนการ ซึ่งเน้นความเข้มแข็งของชุมชน ในการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา และใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ด้านการแพทย์แผนไทย ที่มีในท้องถิ่น เข้ามาบูรณาการเข้าด้วยกัน ความสำเร็จ ของโครงการเชิงประจักษ์ ที่วัดได้ ต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง “นวัตกรรม ชุมชนร่วมใจ สมุนไพรล้างพิษ ”บ้านหนองแคน หมู่ที่ ๑ ตำบลดอนจาน ได้ทำการวัดผล ในคนกลุ่มน้อย ที่ได้ทำการคัดกรองความเสี่ยง และมีการบำบัด ด้วยการอบสมุนไพร การให้ความรู้ ด้านการดื่มน้ำสมุนไพร การล้างผักให้สะอาด การปฏิบัติตัวเมื่อ สัมผัสสารเคมี ซึ่งพบว่า ส่วนในกลุ่มเสี่ยง ที่มีความเสี่ยงเบื้องต้น น้อยกว่าไม่ปลอดภัย มีเพียงการให้ความรู้ เมื่อออกรณรงค์ การดำเนินงาน ในพื้นที่ มีการแจกเอกสารแผ่นพับ ความรู้เรื่องความปลอดภัยจากสารเคมี ยังไม่มีการติตามผล การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เต็มรูปแบบ จะพัฒนาเต็มรูปแบบ ในปี ๒๕๕๕ (ได้รับงบประมาณ จากกองทุนเทศบาลตำบลดอนจานเต็มพื้นที่)
ผลการประเมินความเสี่ยง ปี ๒๕๖๒
หลัง การให้บริการ อบสมุนไพร ๔ ครั้ง กลุ่ม ไม่ปลอดภัย ๑๒ ราย พบว่า ลดความเสี่ยงจากระดับไม่ปลอดภัยลงเหลือ ๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๓๓ เสี่ยง ๔ ราย ร้อยละ ๓๓.๓๓ ปลอดภัย ๔ ราย ร้อยละ ๓๓.๓๓ ปกติ ไม่มี
ระยะเวลา ๓ เดือน ไม่ปลอดภัย ๔ ราย ร้อยละ ๓๓.๓๓ เสี่ยง ๓ ราย ร้อยละ ๒๕ ปลอดภัย ๕ ราย ร้อยละ ๔๑.๖๖ ปกติ ไม่มี
ระยะเวลา ๖ เดือน ไม่ปลอดภัย ๑ ราย ร้อยละ ๘.๓๓ เสี่ยง ๒ ราย ร้อยละ ๑๖.๖๖ ปลอดภัย ๖ ราย ร้อยละ ๕๐ ปกติ ๓ ราย ร้อยละ ๒๕
จะเห็นได้ว่า การอบสมุนไพรล้างพิษ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง และระยะเวลา มีผลต่อการกำจัดสารพิษ ออกจากร่างกาย ส่วนระยะเวลา ที่สัมผัสสารเคมี มานานเท่าไหร่ มีผลหรือไม่ ยังไม่ได้ทำการประเมิน และเก็บข้อมูล ซึ่งจะดำเนินการต่อไป ในปี งบประมาณ ๒๕๕๕
จากการเก็บข้อมูล ประชาชน ที่ได้รับบริการ ยังขาดความตระหนัก ในการปฏิบัติตัว ในบางส่วน (ร้อยละ ๒๕ ของกลุ่มเป้าหมาย)
ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงานพัฒนานวัตกรรมสุขภาพชุมชน
๑. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองความเสี่ยง เพิ่มขึ้น ในปี ๒๕๖๒ จำนวน ๓๕๘ ราย คิดเป็น ร้อยละ ๖๕.๘
๒. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูลข่าวสาร/ความรู้ด้านการก้องกันอันตรายจากสารเคมี จำนวน ๓๕๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๖๕.๘
๓. ประชาชนกลุ่มที่มีความเสี่ยงระดับกลาง จำนวน ๑๒๕ ราย ได้รับการตรวจเลือด หาสารโคลีนเอสเตอเรส คิดป็นร้อยละ ๓๔.๙๑ ของผู้รับการคัดกรอง
๔. ประชาชน ผู้มีความเสี่ยง ระดับไม่ปลอดภัย ได้รับความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ การรับประทานสมุนไพรล้างพิษ และการอบสมุนไพร โดย อสม.ที่สุขศาลา เพื่อลดระดับความเสี่ยง
๕. เกิดเครือข่ายการปลูก มีการแลกเปลี่ยนสมุนไพร และ พืชผักพื้นบ้าน มีการแลกเปลี่ยนพืชผักพื้นบ้าน โดยเฉพาะสมุนไพร กลุ่มที่ล้างพิษ ต้านมะเร็ง
๖. มีการติดตามผลการดำเนินงานลดระดับความเสี่ยง
a. จนท.ติดตามเจาะเลือด หลังการอบสมุนไพร ที่สุขศาลา หลังการอบสมุนไพร ครบ ๔ ครั้ง และหลังการรับคำแนะนำ ๓ เดือน และ ๖ เดือน
b. อสม.ติดตามเยี่ยม กลุ่มเสี่ยงที่รับการอบสมุนไพร ทุกเดือน
๗. ประชาชนตื่นตัวเรื่องความปลอดภัยต่อสารเคมี
๘. มีความชัดเจน ในบทบาทหน้าที่ ของ อสม.ด้านการดำเนินงานแพทย์แผนไทย ในสุขศาลา
๙. เกิดความร่วมมือ ของเครือข่ายทุกภาคส่วน อปท. ให้การสนับสนุนงบประมาณ ดำเนินการเต็มพื้นที่ ใน ปี ๒๕๖๒
๑๐. เป็นแบบอย่างที่ดี ในการแก้ไขปัญหาระดับชุมชน
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
๑. อปท.สนับสนุนงบประมาณ ในการดูแลสุขภาพของประชาชน อย่างสม่ำเสมอ
๒. มีการพัฒนาต่อยอด นวัตกรรม แบบมีส่วนร่วม
๓. พัฒนารูปแบบ การกระจายข่าวสาร ด้านการระวังภัย จากสารเคมี ที่สม่ำเสมอ และมีช่องทางที่ประชาชนเข้าถึงได้งาน เช่น หอกระจายข่าว โดยเฉพาะสถานีวิทยุชุมชน มีการจัดผังรายการเพื่อเสริมความรู้แบบสม่ำเสมอ
๔. พัฒนาเครือข่าย ขยายสู่โรงเรียน วัด ให้เป็นรูปธรรม
๕. ประสานงานหน่วยงาน อื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น พัฒนาชุมชน เกษตร กศน. บูรณาการงานไปด้วยกัน เป็นต้น
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|