|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยนอกได้รับบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐาน |
ผู้แต่ง : |
กัมปนาท คำหงศ์สา |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
: การแพทย์แผนไทยเป็นการแพทย์แผนเดิมที่ได้รับการสนับสนุนให้เป็นทางเลือกในการรักษาโรคและฟื้นฟูสภาพความเจ็บป่วยแก่ประชาชน โดยอาจมีการใช้ผสมผสานกับการแพทย์แผนปัจจุบัน รูปแบบการให้บริการนั้น ผู้ป่วยสามารถรับบริการแพทย์แผนไทยได้โดยการส่งต่อจากแพทย์แผนปัจจุบัน หรือการรับบริการด้วยตนเอง โดยมีเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยเป็นผู้ให้บริการ อย่างไรก็ตามการบริการแพทย์แผนไทยยังไม่บรรลุเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้ เนื่องจากประชาชนยังมีความสับสนเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ส่วนใหญ่ยังเข้าใจการแพทย์แผนไทยเป็นการนวด เมื่อสอบถามความต้องการใช้บริการการแพทย์แผนไทยจึงจำกัดเฉพาะการนวดเป็นหลัก ทำให้ไม่มีโอกาสเข้ามารับบริการโรคต่างๆ ของการแพทย์แผนไทย
ในปี 2559-2561 สรุปผลผู้มารับบริการด้านการแพทย์แผนไทย ไม่ผ่าน เกณฑ์ผู้ป่วยนอกได้รับบริการแพทย์แผนไทยที่ได้มาตรฐานตามตัวชี้วัดของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
จากการทบทวนแล้ว พบว่า สาเหตุที่ทำให้ร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการแพทย์แผนไทยไม่ผ่านเกณฑ์ คือ 1. เนื่องจากผู้ป่วยนอกที่มารับบริการในโรงพยาบาลห้วยผึ้งในแต่ละวันมีจำนวนมาก แพทย์แผนไทยเป็นหน่วยงานหนึ่งในหลายๆหน่วยงานที่ให้บริการผู้ป่วยนอก จึงเป็นไปได้ยากที่ผู้ป่วยนอกจะมารับบริการนวดรักษา ประคบสมุนไพร อบสมุนไพร ใช้ยาสมุนไพร และดูแลหลังคลอดด้วยการทับหม้อเกลือถึง ร้อยละ 20 ของผู้ป่วยนอกทั้งหมด
2. ผู้ป่วยนอกบางราย มีข้อจำกัดในการรับบริการทางการแพทย์แผนไทย เช่น ผู้ป่วยโรคไตมีข้อจำกัดในการใช้ยาสมุนไพร หญิงตั้งครรภ์มีข้อจำกัดในการนวดและอบสมุนไพร เป็นต้น
3. มีข้อจำกัดในการบันทึกข้อมูลให้บริการตามเกณฑ์ของ สปสช. คือ เจ้าหน้าที่ 1 คนให้บริการนวดรักษาอาการได้ไม่เกิน 5 คน โรงพยาบาลห้วยผึ้งมีเจ้าหน้าที่ด้านแพทย์แผนไทย 3 คน จึงเป็นไปได้ยากที่จะบันทึกข้อมูลการให้บริการนวดถึงร้อยละ 20 ของผู้ป่วยนอกทั้งหมด ส่วนการให้บริการที่สามารถบันทึกเกิน 5 คนได้คือ การจ่ายยาสมุนไพรซึ่งมีข้อจำกัดในผู้ป่วยโรคไต, การอบสมุนไพรซึ่งมีข้อจำกัดในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูง/ต่ำ ที่ความดันไม่ปกติ ณ เวลานั้น
|
|
วัตถุประสงค์ : |
: เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ป่วยนอกให้ได้รับบริการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลห้วยผึ้งที่ได้มาตรฐานตามตัวชี้วัดของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชาชนในเขตอำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
คณะทำงานได้ทบทวนเกณฑ์การให้บริการแพทย์แผนไทยของ สปสช. ในปีงบ 2559-2561 ซึ่งได้แก่ การนวด การประคบ การอบสมุนไพร การจ่ายยาสมุนไพร การดูแลหลังคลอดด้วยการทับหม้อเกลือ และการส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย ที่ผ่านมาคณะทำงานได้บันทึกข้อมูลการให้บริการทั้งหมดยกเว้นการส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย เช่น การให้สุขศึกษาด้านแพทย์แผนไทย การฝึกกายบริหารด้วยท่าฤๅษีดัดตน เป็นต้น ในไตรมาสที่ 4 ของปีงบ 2561 คณะทำงานได้ออกให้บริการเชิงรุกเพิ่มมากขึ้น และได้บันทึกข้อมูลการให้สุขศึกษาด้านการแพทย์แผนไทยในงานคลินิกต่างๆ เพิ่มขึ้น |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
1.การให้บริการที่รวมการส่งเสริมป้องกัน
2.การให้บริการที่ไม่รวมการส่งเสริมป้องกัน
(อ้างอิงตามตัวชี้วัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์)
ตัวชี้วัด
ปี 2559
ปี 2560
ปี 2561
ปี2562
(ข้อมูลถึง 31 มิ.ย. 2562)
ร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐาน
1.รวมการส่งเสริมป้องกัน
2.ไม่รวมส่งเสริมป้องกัน
เป้าหมาย ผลลัพธ์ เป้าหมาย ผลลัพธ์ เป้าหมาย ผลลัพธ์ เป้าหมาย ผลลัพธ์
18
-
13.67
-
18.5
-
15.49
-
20
-
16.62
-
20
20
23.55
14.67
ร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐาน : จากแผนภูมิผู้มารับบริการด้านการแพทย์แผนไทย พบว่า ในปี 2559-2561 สรุปผลผู้มารับบริการด้านการแพทย์แผนไทย ไม่ผ่าน เกณฑ์ผู้ป่วยนอกได้รับบริการแพทย์แผนไทยที่ได้มาตรฐานตามตัวชี้วัดของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ผลร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น จนมาถึงไตรมาสแรกของ ปีงบ 2562 ได้เพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 23.55 ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
แต่ในปีงบ 2562 สปสช.ได้เพิ่มเกณฑ์ผู้ป่วยนอกได้รับบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐานเป็น 2 เกณฑ์ คือ
1.การให้บริการที่รวมการส่งเสริมป้องกัน (ผลลัพธ์ของ รพ.ห้วยผึ้งเป็น ร้อยละ 23.55)
2.การให้บริการที่ไม่รวมการส่งเสริมป้องกัน (ผลลัพธ์ของ รพ.ห้วยผึ้งเป็น ร้อยละ 14.67) ซึ่งหากคิดผลงานเพียงการนวด ประคบ อบสมุนไพร ใช้ยาสมุนไพร และดูแลหลังคลอดด้วยการทับหม้อเกลือ จะเป็นไปได้ยากที่ผลงานจะถึงร้อยละ 20 ด้วยสาเหตุดังกล่าวข้างต้น
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|